วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553

มองประวัติชนชาวอีสาน

 

ประวัติศาสตร์อีสานโบราณระบุไว้ว่า ในราว พ.ศ.700 ประเทศพนม เป็นประเทศรุ่งเรืองขึ้นมาใหม่ในอินโดจีน ทางทิศตะวันตกของพนมมีประเทศเจนละหรือเขมร ถัดจากประเทศเจนละคือประเทศกิมหลินทางเหนือประเทศกิมหลินคือประเทศบูหลุน พระมหาราชกรุงพนมได้ยกกองทัพเรือไปปราบประเทศในคาบมหาสมุทรมลายาได้กว่า 10 แคว้น ภายหลังให้รัชทายาทนามว่า กิมแซ ไปปราบประเทศกิมหลิน ได้ประมาณปี 733

อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์

ประเทศสุวรรณภูมิและประเทศเล็กๆในสุวรรณภูมิทวีปคาบมหาสมุทรมลายาเป็นอิสระตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกอยู่ได้ 500 ปี ก็เป็นประเทศราชของประเทศพนม พระพุทธศาสนายังคงรุ่งเรืองอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิทวีปตลอดมา เพราะปรากฏตามหนังสือของภิกษุจาริกจีนว่า ดินแดนแถบนี้ยังคงมีพุทธศาสนารุ่งเรืองดีอยู่ ภิกษุอี้จิงจึงเรียกแถบนี้ว่า ดินแดนกิมหลิน ตามชื่อเก่า ในตำนานพระธาตุพนมเล่าว่า"ในราว พ.ศ.8 ศรีโคตรบูรตั้งเมืองหลวงอยู่ใต้ปากเซบ้องไฟ อยู่เหนือสุวรรณเขตประเทศลาว ครั้นต่อมาได้ย้ายเมืองหลวงมาตั้งอยู่เหนือธาตุพนม ในดงไม้รวกจึงมีนามว่า" มรุกขนคร"มีกษัตริย์ครองเมือง 5 องค์ องค์สุดท้ายชื่อ พระยานิรุฏฐราช บ้านเมืองเลยเกิดวิบัติล่มร้างเป็นบึงและป่า ต่อมาในราวพ.ศ. 1800 ปรากฏว่าได้ไปตั้งเมืองขึ้นใหม่อยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง แต่เหนือที่เดิมมาก ได้แก่เมืองเก่าใต้ท่าแขกประเทศลาวในปัจจุบัน"
การที่อาณาจักรศรีโคตรบูรตั้งเมืองหลวงใน พ.ศ. 8 นั้นน่าจะผิดพลาดเนื่องจากเวลาห่างจากปีที่พระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระสมณฑูตออกไปประกาศพระศาสนาในปี พ.ศ.226 ถึง 228หากเป็นพุทธศตวรรษที่ 8 คือ พ.ศ.800ก็น่าจะพอเชื่อถือได้บ้าง แต่มีข้อสนับสนุนตามตำนานว่า การสร้างพระธาตุพนมนั้น พระพุทธเจ้าเสด็จไปประกาศพระศาสนาด้วยพระองค์เอง และในพ.ศ.8 พระมหากัสสปะและท้าวพญาทั้งห้าพระองค์ได้สร้างพระธาตุโดยอัญเชิญพระอุรังคธาตุบรรจุไว้ในพระเจดีย์สูง ประมาณ 8 เมตร สำหรับ ท้าวพญา 5 พระองค์ที่ร่วมสร้างพระธาตุพนมเมื่อพ.ศ.8นั้น คือ พญานันทเสน ครองเมืองศรีโคตรบูร พญาจุลณีพรหมทัต ครองแคว้นจุลณี พญาอินทปัตถ์ ครองอินทปัตนคร พญาคำแดง ครองเมืองหนองหารน้อย และพญาสุวรรณภิงคาร ครองเมืองหนองหารหลวง ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้ครองเมืองในอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์โบราณเมื่อครั้งที่ตั้งเมืองหลวงอยู่ใต้ปากเซบ้องไฟ ฝั่งสุวรรณเขตประเทศลาว
พระธาตุพนม จากตำนานพระธาตุพนมนั้น อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์โบราณได้ตั้งขึ้นก่อนแล้วเมื่อพ.ศ.8 ต่อมาได้มีการย้ายเมืองหลวงมาอยู่เหนือพระธาตุพนมฝั่งอาณาจักรสยาม ดังนั้นเรื่องของอาณาจักรแห่งนี้จึงมีความแตกต่างกัน ดังนี้ ในพุทธศตวรรษที่ 14 - 15 ครั้งสมัยอาณาจักรทวารวดีมีอำนาจอยู่นั้น บริเวณสองฟากแม่น้ำโขงได้มีการตั้งอาณาจักรขึ้นใหม่เรียกว่าอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ หรือ โคตรปุระ แปลว่า เมืองตะวันออก โดยมีพระยาโคตรบอง เป็นผู้ครองนคร ดินแดนแห่งนี้มีเมืองสำคัญคือ เวียงจันท์ หรือเวียงจันทน์ หนองหานหลวงหรือสกลนคร มรุกขนครนครพนม เมืองจันทบุรี ศรีสัตนาคนหต ล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง เชียงใหม่ เชียงแสน เชียงรุ้ง เป็นต้น พ.ศ. 1896 สมัยอยุธยาตอนต้น พระเจ้าฟ้างุ้มทรงสถาปนานครเวียงจันท์ขึ้นเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรลาว พ.ศ. 1991 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ซึ่งเป็นกษัตริย์ครองอาณาจักรล้านนา ภายหลังได้อภิเษกพระธิดาของกษัตริย์ผู้ครองอาณาจักรล้านช้างและได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์อาณาจักรล้านช้าง ร่วมกันสร้างพระเจดีย์ศรีสองรักษ์ เพื่อเป็นสัญญลักษณ์แห่งมิตรภาพ ปัจจุบันอยู่ที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

พระธาตุพนม

อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์นี้ได้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันมา และภายหลังได้เป็นอาณาจักรล้านช้างปัจจุบันคือพระราชอาณาจักรลาว ในสมัยกรุงธนบุรีนั้นอาณาจักรลานช้างได้ตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรสยาม ในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นอาณาจักรสยามต้องเสียดินแดนให้ฝรั่งเศสจึงทำให้อาณาจักรแห่งนี้ตกอยู่ใต้อำนาจฝรั่งเศสต่อมา โบราณสถานสำคัญของอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์นั้นคือ พระธาตุพนมที่จังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นปูชนีย์สถานพุทธศาสนาสำคัญ โดยสร้างทับบนปราสาทขอมสมัยโบราณ มีตำนานพระธาตุพนมว่า พระธาตุนี้ได้สร้างขึ้นในพ.ศ.8 สมัยอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์โบราณฅโดยก่ออุโมงค์เป็นรูปเตามีประตูปิดเปิด4 ด้านสูง 5เมตรสำหรับบรรจุพระอุรังคธาตุโดยมีผ้ากัมพลห่อไว้ภายในอุโมงค์ ต่อมาพ.ศ. 500 พระอรหันต์ทั้ง 5 องค์คือ พระสังขวิชาเถระ พระมหารัตนเถระ พระจุลรัตนเถระ พระมหาสุวรรณปราสาทเถระ และพระจุลสุวรรณปราสาทเถระ พร้อมด้วยพระยาสุมิตธรรมวงศา แห่งเมืองมรุกขนคร ได้ร่วมกันบูรณะพระธาตุพนมสูงประมาณ 24 เมตรและอัญเชิญพระอุรังคธาตุออกมาประดิษฐานบนพานทองคำ อมรฤาษีและโยธิกฤาษีไปเอาอุโมงศิลาบนยอดเขาภูเพ็กมาตั้งไว้ชั้นบนของพระธาตุชั้นที่ 2 ซึ่งอยู่สูง 14 เมตรแล้วพระสุมิตธรรมวงศาได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุฐาปนาไว้บนเจดีย์ศิลานั้น ต่อมาพระโพธิศาล ซึ่งครองเมืองหลวงพระบางเมื่อพ.ศ. 2073 ถึง 2103  นั้นได้ตำนานอุรังคธาตุที่พระธาตุพนมมาจากกัมพูชา จึงเกิดความศรัทธาและได้มาสร้างบริเวณภูกำพร้าขึ้นเป็นวัด อุทิศข้าทาสให้แก่พระธาตุ พระไชยเชษฐาธิราช โอรสของพระโพธิศาล ซึ่งสร้างเมืองเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวง ได้เสด็จมานมัสการพระธาตุพนมเมื่อพ.ศ.2157ต่อมาพ.ศ. 2233 - 2235  เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กแห่งนครเวียงจันทน์ได้นำช่างมาจากเวียงจันทน์มาทำการบูรณะพระธาตุพนมต่อเติมจนสูง 47เมตรโดยพ่อออกพระขนานโคตพร้อมด้วยบุตรภริยาได้นำเอาอูบพระชินธาตุเจ้าที่จันทรปุระเวียงจันทน์มาฐาปนาที่ธาตุปะนมและบรรจุพระพุทธรุปเงินทอง แก้วมรกต อัญมณีมีค่าไว้มากมาย และพ.ศ.2483 - 2484  กรมศิลปากรได้ทำบูรณะพระธาตุให้สูงขึ้นเป็น 57 เมตร หลังจากนั้นก็มีการบูรณปฏิสังขรณ์อยู่เสมอ ครั้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2518 เวลา 19.30 น. เศษ องค์พระธาตุพนมได้ล้มทลายลงมาทั้งองค์ ยอดพระธาตุฟาดมาทางทิศตะวันออก กรมศิลปากรได้บูรณะตามแบบเดิมเสร็จใน พ.ศ. 2522 เดิมในอดีตนั้นพื้นที่ 19 จังหวัดภาคอีสานนั้นอยู่ในราชอาณาศรีโคตรบูรณ์ที่มีอาณาเขตในทั้ง 2 ฝั่งโขงยกเว้นจังหวัดนครราชสีมาบางส่วน การที่ภาคอีสานมีประชากรมากกว่าทุกภาคในประเทศไทยขณะนี้เป็นเพราะประชากรลาวอพยพข้ามแม่น้ำโขงมาโดยตลอดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2250 - 2400 นั่นเอง

1

ในตำนานกล่าวถึงความเป็นมาของชุมชนและบ้านเมืองต่างๆในแคว้นศรีโคตรบูรณ์ โดยเฉพาะเมืองสำคัญ เช่น เมืองหนองหานหลวง เมืองหนองหานน้อย และเมืองเวียงจันทน์ ซึ่งล้วนมีหลักฐานทางโบราณคดี อันได้แก่ ร่องรอยเมือง และโบราณวัตถุสถานที่มีมาแต่สมัยทวารวดี ลพบุรีจนถึงสมัยหลังๆสนับสนุนทั้งสิ้น

ในขณะเดียวกันพงศาวดารล้านช้างก็ระบุว่า ภายหลังจากพระเจ้าฟ้างุ้มหนีจากเมืองหลวงพระบางไปพึ่งทางกัมพูชานั้นกษัตริย์ขอมทรงอุปถัมภ์และพระราชทานพระธิดาให้ต่อมาก็ได้ทรงสนับสนุนให้พระเจ้าฟ้างุ้มยกกองทัพมาตีกลุ่มเมืองโคตรบอง ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงตั้งแต่เขตจังหวัดนครพนมขึ้นไปจนถึงจังหวัดหนองคาย เมืองเวียงจันทน์และเวียงคำรวมอยู่ในกลุ่มนี้ โดยเฉพาะเมืองเวียงคำนั้นในตำนานเรียก เมืองไผ่หนาน เป็นเมืองยากแก้การตี ทำให้พระเจ้าฟ้างุ้มต้องออกอุบายโดยยิงกระสุนทองคำเข้าไป เป็นเหตุให้ผู้คนพากันออกมาเก็บกระสุนทองคำกัน และขาดการเอาใจใส่บ้านเมือง พระเจ้าฟ้างุ้มเลยตีเมืองได้และต่อมาก็เปลี่ยนชื่อเมืองนี้ว่า เมืองเวียงคำ
การที่ตำนานอุรังคธาตุกล่าวถึงแว่นแคว้นที่เรียกว่าศรีโคตรบูรก็ดี และตำนานล้านช้างกล่าวถึงเมืองโคตรบองก็ดี ล้วนลงรอยกันให้เห็นว่ามีแว่นแคว้นหรือรัฐที่เรียกว่า ศรีโคตรบูรณ์หรือโคตรบอง อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนนี้แล้วในพุทธศตวรรษที่๑๘และ๑๙ ยิ่งกว่านั้นเรื่องราวของแคว้นโคตรบองนี้ก็ยังมีปรากฏในตำนานพงศาวดารเหนือที่กล่าวถึงเรื่องราวของบ้านเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาสมัยก่อนการสร้างพระนครศรีอยุธยาด้วย นั้นคือเรื่องราวของพระยาโคตรบองผู้เคยเป็นใหญ่อยู่ในเมืองสำคัญ ซึ่งอาจจะเป็นอโยธยาหรือลพบุรีก็ได้ ต่อมาถูกพระเจ้าสินธพอัมรินทร์ชิงบ้านเมืองได้เลยหนีไปเป็นใหญ่อยู่ในเขตแคว้นล้านช้างคงหมายถึงกลุ่มเมืองศรีโคตรบองและต่อมาก็ได้ถูกลอบปลงพระชนม์ ณ เมืองที่พระองค์ครองอยู่ ตำนานดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างแคว้นโคตรบองกับทางบ้านเมืองในลุ่มน้ำเจ้าพระยาไม่มากก็น้อย
หลักฐานทางโบราณคดีจากการสำรวจบริเวณที่เรียกว่าแอ่งสกลนครในเขตอีสานเหนือที่อยู่ในจังหวัดหนองคาย อุดรธานี สกลนคร และนครพนม พบว่าเป็นบริเวณที่มีการตั้งหลักแหล่งของมนุษย์มาตั้งแต่ก่อนสมัยประวัติศาสตร์ ดังเช่นการค้นพบแหล่งชุมชนในวัฒนธรรมบ้านเชียงที่รู้จักกันแพร่หลายทั่วไปเป็นต้นแต่ว่าหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการเกิดเป็นบ้านเมืองใหญ่โตนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ตอนปลายสมัยทวารวดี คือ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 14 - 15  ลงมาเป็นอย่างสูง ชุมชนโบราณที่มีร่องรอยให้เห็นว่ามีคูน้ำและกำแพงล้อมรอบ แสดงให้เห็นว่ามีคูน้ำและกำแพงล้อมรอบแสดงให้เห็นว่าเป็นเมืองพบว่ามี 4 แห่ง

ดด

ชุมชนสี่แห่งที่พบนี้ได้แก่ บ้านดอนแก้ว ริมหนองหานกุมภวาปี ในเขตอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี เมืองหนองหานน้อยในเขตอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เมืองหนองหานหลวงในเขตอำเภอเมืองจังหวัดสกลนคร และเมืองเวียงจันทน์ในฝั่งตรงข้ามอำเภอท่าบ่อและศรีสงครามจังหวัดหนองคาย แต่ที่เกี่ยวข้องกับตำนานมีเพียง3แห่งคือ เมืองหนองหานน้อย เมืองหนองหาน หลวง และเมืองเวียงจันทน์
นอกจากบรรดาชุมชนเมืองที่มีร่องรอยคูน้ำและกำแพงเมืองล้อมรอบดังกล่าวนี้แล้ว ก็มีแหล่งชุมชนอีกหลายแห่งที่ไม่มีกำแพงและคูน้ำล้อมรอบ แต่ทว่าในตำนานพงศาวดารระบุว่าเป็นเมือง เช่น เมืองเวียงคุก เมืองซายฟองหรือเวียงคำ เป็นต้น

เมื่อพิจารณาศึกษาจากรูปแบบของศิลปกรรม ตำแหน่งที่ตั้งและขนาดของบรรดาชุมชนที่เป็นเมืองในบริเวณลุ่มน้ำโขงในภาคอีสานตอนเหนือนี้ ก็สามารถวิเคราะห์รูปแบบทางวัฒนธรรมและศิลปกรรมได้สองแบบและสองสมัยในระยะเวลาที่ต่อเนื่องกัน แบบแรกเป็นแบบทวารวดี แลเห็นได้จากบรรดาเสมาหินที่พบตามแหล่งศาสนาสถานต่างๆ ส่วนแบบที่สองเป็นแบบลพบุรี หรือเป็นแบบที่ได้รับอิทธิพลและศิลปวัฒนธรรมจากขอม เห็นได้จากการพบรูปแบบของเมืองที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมแบบสม่ำเสมอ ศาสนสถานที่เป็นปราสาท พระพุทธรูปเทวรูปแบบลพบุรี

ทวารวดี ทวารวดี

โบราณสถานและโบราณวัตถุแบบแสดงให้เห็นถึงการแพร่กระจายของศิลปวัฒนธรรมแก้บ้านเมืองในแถบลุ่มแม่น้ำชีผ่านบริเวณหนองหานกุมภวาปีขึ้นมาในอีสานเหนือ ในช่วงเวลาแต่ราวพุทธศตวรรษที่14เป็นต้นมา ที่พระธาตุพนมก่อนที่จะล้มพังลงมานั้น มีภาพสลักรูปคนขี่ม้าในท่าผาดโผนและเคลื่อนไหว เป็นลักษณะที่ไม่เคยพบมาก่อนในศิลปกรรมแบบทวารวดีและลพบุรีในประเทศไทยมาก่อน ในทำนองตรงข้ามเป็นของที่มักพบในศิลปะจีน ญวน และจามปา นับเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงการเกี่ยวข้องกับบ้านเมืองและผู้คนที่อยู่ในเขตญวนและจามปาที่ห่างออกไปทางชายทะเล จึงเป็นไปได้ว่าบรรดาบ้านเมืองที่เกิดขึ้นในสมัยทวารวดีตอนปลายนี้ ไม่ได้อยู่อย่างโดดๆหากมีการติดต่อกับบ้านเมืองอื่นๆที่อยู่ใกล้เคียงแล้ว อย่างน้อยก็จากลุ่มน้ำชี ผ่านขึ้นมายังแม่น้ำโขงแล้วข้ามน้ำโขงไปยังบ้านเมืองต่างๆทางเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ

ด

จากหลักฐานทางโบราณคดีตามที่กล่าวมานี้อาจตีความได้ว่าช่วงเวลาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา เกิดบ้านเมืองที่เป็นรัฐหรือแว่นแคว้นแล้วในบริเวณอีสานเหนือ โดยมีเมืองหนองหานหลวงที่สกลนครเป็นเมืองสำคัญมีการติดต่อกับบ้านเมืองทางลุ่มน้ำชีและกัมพูชาทางใต้ กับบ้านเมืองที่อยู่โพ้นฝั่งแม่น้ำโขงไปยังเขตประเทศญวน
ในพุทธศตวรรษที่ 8 เขตแคว้นดังกล่าวนี้ก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางการเมืองของอาณาจักรกัมพูชา มีการสร้างศาสนสถานที่เป็นศูนย์กลางของชุมชนนี้มาตามเส้นทางคมนาคมไปจนถึงเมืองเวียงคำ รัฐหรือแคว้นนี้จะมีชื่อใดไม่ปรากฏ แต่อาจถูกเรียก " ศรีโคตรบูรณ์ " ตามที่กล่าวในตำนานอุรังธาตุและพงศาวดารล้านช้างก็ได้ แต่พ้นสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่7แล้ว บ้านเมืองเหล่านี้มีความเป็นอิสระและรู้จักกันในนามว่า " ศรีโคตรบูรณ์ หรือโคตรบอง " ได้มีการสถาปนาเมืองเวียงจันทน์ขึ้นเป็นศูนย์กลางทางคมนาคม เศรษฐกิจและการเมือง โดยเฉพาะการเป็นศูนย์กลางทางด้านการค้า และคมนาคมนั้น เมืองเวียงจันทน์คงมีบทบาทมากและเพิ่มขึ้นเมื่อมีการขยายตัวขึ้นไปติดต่อค้าขายกับบ้านเมืองทางเหนือและทางตะวันตก

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น