วันพฤหัสบดีที่ 8 เมษายน พ.ศ. 2553

ลักษณะพระพุทธรูปสมัยต่างๆ

http://www.amuletsale4u.com/?cid=245312

ลักษณะพระพุทธรูปสมัยต่างๆ

ตั้งแต่มีพระพุทธรูปเกิดขึ้นในคันธารราฐ เมื่อระหว่าง พ.ศ. ๓๖๓-๓๘๓ แล้ว ความนิยมบูชาพระพุทธรูปก็แพร่หลายลงมาทางใต้ จนชาวมคธและมณฑลอื่นละคติเดิมที่ถือว่าไม่ควรสร้างรูปเคารพ พากันเลื่อมใสในการสร้างพระพุทธรูปทั่วไปในประเทศอินเดีย ประเทศทั้งหลายภายนอกอินเดียที่ได้รับพระพุทธศาสนาไว้แต่ครั้งพระเจ้าอโศกก็คงจะได้รับลัทธินิยมการสร้างพระพุทธรูปกันขึ้นทั่วไปตามกาลสมัย แต่แบบอย่างพระพุทธรูปที่คิดขึ้นครั้งแรกและครั้งพระเจ้ากนิษกะนั้น เป็นของทำขึ้นตามความเห็นว่าดีงามของช่างกรีกซึ่งเป็นชาวต่างประเทศ จะทำให้ชาวอินเดีย หรือชาวประเทศอื่นนอกอินเดียเห็นสวยงามไปด้วยทุกอย่างนั้นไม่ได้ เมื่อเป็นเช่นนี้ ก็เป็นธรรมดาอยู่เองที่ต้องมีการแก้ไขเปลี่ยนแปลงกิดขึ้นตามความเห็นของชาวต่างประเทศนั้นๆ เช่นพระพุทธรูปกรีก ทำพระศกเป็นเส้นอย่างผมคนสามัญ ชาวอินเดียเห็นว่าไม่สวยหรือไม่ถูก แก้ไขทำเส้นพระศกเป็นอย่างก้นหอย หรือจีวรซึ่งชาวไทยโยนกทำเป็นจีวรริ้ว ชาวอินเดียแก้เป็นจีวรบางๆไม่มีริ้ว แนบติดกับพระองค์ และที่สุดพระพักตร์ซึ่งพวกกรีกทำอย่างพระพักตร์เทวรูปของเขา ชาวอินเดียก็เปลี่ยนให้เป็นอย่างหน้าคนอินเดียเป็นต้น โดยนัยนี้ ประเทศทั้งหลายที่ได้รับแบบอย่างการสร้างพระพุทธรูปไป ก็คงจะได้แก้ไขเปลี่ยนแปลงไปแห่งละเล็กละน้อย นี่เองเป็นมูลเหตุเกิดแบบอย่างพระพุทธรูปฝีมือช่างในประเทศต่างๆขึ้น จะกล่าวแต่ฝีมือช่างในประเทศสยามสืบต่อไป

 

สมัยทวารวดี

(ระหว่าง พ.ศ. ๑๐๐๐ - ๑๒๐๐)

ประเทศสยามเป็นส่วนหนึ่งของสุวรรณภูมิประเทศ ซึ่งปรากฎในศิลาจารึกของพระเจ้าอโศกว่า พระโสณะและพระอุตตรเถระ ศาสนทูตของพระเจ้าอโศก ได้เป็นผู้นำพระพุทธศาสนามาเผยแผ่ ข้อนี้มีโบราณวัตถุที่พบในจังหวัดนครปฐมเป็นเครื่องประกอบอยู่หลายสิ่ง เช่น พระสถูปรูปทรงบาตร์คว่ำ และเสมาธรรมจักรกับกวางหมอบ ซึ่งเป็นของทำแทนพระพุทธรูปในสมัยยังไม่มีคตินิยมสร้างองค์พระพุทธรูปขึ้นเคารพบูชา คติที่สร้างสิ่งอื่นแทนรูปเคารพอันเป็นคติในอินเดียครั้งพระเจ้าอโศกนั้น ได้มามีแพร่หลายขึ้นที่จังหวัดนครปฐม เพราะฉะนั้นจึงน่าเชื่อเป็นอย่างยิ่งว่า ชาวจังหวัดนครปฐมจะได้รับลัทธิพระพุทธศาสนามาแต่ครั้งพระเจ้าอโศกมหาราชเป็นแน่ เมื่อเชื่อว่าศาสนทูตครั้งพระเจ้าอโศกจะมาถึงสุวรรณภูมิจริงแล้ว ก็ควรจะเชื่อด้วยว่าศาสนทูตครั้งพระเจ้ากนิษกะ ก็ได้มาถึงสุวรรณภูมิเหมือนกัน ข้อนี้ก็เพราะมีโบราณวัตถุที่พบในจังหวัดนครปฐมเป็นหลักฐานยืนยันอยู่ เช่น สถูปมหายานจารึกคาถา เย ธมฺมา ฯ ด้วยตัวอักษรและภาษาสันสกฤตกับทั้งพระพิมพ์มหายานอีกมากหลาย แต่แบบอย่างพระพุทธรูปที่พบในจังหวัดนครปฐมนั้น มีลักษณะคล้ายกับพระพุทธรูปอินเดียครั้งราชวงศ์คุปตะ (พ.ศ. ๘๖๐ ถึง พ.ศ. ๑๑๕๐) ก็คงจะเป็นเพราะมีผู้นำแบบอย่างพระพุทธรูปสมัยนั้นเข้ามาในประเทศนี้ ชาวประเทศนี้เห็นสวยงามก็นิยมทำตามอย่างกันขึ้น

          ที่ทางโบราณคดี เรียกพระพุทธรูปแบบนี้ว่า สมัยทวารวดี นั้น ก็เพราะเมื่อราว พ.ศ. ๑๑๕๐ มีจดหมายเหตุจีนกล่าวถึงอาณาจักรใหญ่อันหนึ่งซึ่งตั้งอยู่ในระหว่างเมืองศรีเกษตร์(พม่า) และเมืองอีศานปุร(เขมร) ว่าชื่อ ทวารวดี ตรงกับชื่ออาณาจักรอันหนึ่งในประเทศสยามส่วนข้างใต้ในสมัยนั้น คือท้องที่ซึ่งเคยกำหนดเป็นมณฑลกรุงเทพฯ มณฑลอยุธยา มณฑลนครชัยศรี มณฑลราชบุรี มณฑลนครสวรรค์ มณฑลพิษณุโลก และมณฑลปราจิณ  ราชธานีเห็นจะอยู่ที่นครปฐมบัดนี้  เพราะฉะนั้น เมื่อพระเจ้าอู่ทองทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีของประเทศสยาม จึงขนานนามว่า " กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา " ซึ่งให้หมายความว่า " ศรีอยุธยาเป็นเมืองหลวงของอาณาจักรทวารวดี " ดังนี้  อย่างไรก็ดี  ในบัดนี้นักปราชญ์ทางโบราณคดีทั้งไทยและต่างประเทศ ได้เรียกพระพุทธรูปแบบนี้ว่าเป็นของสมัยทวารวดีกันทั่วไปแล้ว

          พระพุทธรูปแบบนี้พบมากในมณฑลนครชัยศรี มณฑลราชบุรี มณฑลอยุธยา และมณฑลปราจิณ แต่ยังมีอีกแห่งหนึ่งซึ่งได้พบมากเหมือนกัน คือที่ตำบลวังปลัด อำเภอพุทไธสง จังหวัดบุรีรัมย์ มณฑลนครราชสีมา ที่ในลำน้ำมูล ตรงนั้นได้พบพระพุทธรูปแบบสมัยทวารวดีมาก คล้ายกับว่าเป็นบ้านที่หล่อทีเดียว เป็นเค้าเงื่อนน่าจะสันนิษฐานว่า กรุงทวารวดีแผ่อาณาจักรออกไปถึงนครราชสีมาด้วย

ลักษณะพระพุทธรูปสมัยทวารวดี

          พระพุทธรูปสมัยนี้ ทำด้วยศิลาดินเผาและโลหะ แต่จะทำด้วยวัตถุอย่างใดก็ตาม ลักษณะคงละม้ายคล้ายคลึงกันทั้งนั้น คือเกตุมาลาเป็นต่อมสั้น ขมวดพระเกตุโตและป้าน ไม่มีไรพระศก พระนลาตคดเคี้ยว หลังพระเนตรนูนจนเกือบได้ระดับกับพระนลาต พระโขนงยาวเหยียด พระพักตร์แบนกว้าง พระโอษฐ์แบะ พระหนุป้าน จีวรบางแนบติดกับพระองค์ สังฆาฏิมีทั้งอย่างสั้นเพียงพระถัน และยาวเลยลงมาจนจรดพระนาภี พระหัตถ์และพระบาทใหญ่ บัวรองฐานกลีบใหญ่ กลางกลีบมักเป็นสัน มีกลีบเล็กแซม มีทั้งบัวคว่ำบัวหงาย และบัวหงายอย่างเดียว เกสรหยาบ พระยืนโลหะมักมีประภามณฑล และพระนั่งมักมีเรือนแก้วด้วย มี ๒ ยุค คือ

(twaravadi) 2009513_83088.jpg

ยุคแรก พระพักตร์ยาวและกลมกว่ายุคหลังเล็กน้อย เหมือนพระพักตร์พระพุทธรูปอินเดียครั้งราชวงศ์คุปตะทีเดียว

         ยุคหลัง พระพักตร์แบนและกว้างกว่ายุคแรก สันนิษฐานว่ายุคแรกจะเป็นฝีมือช่างชั้นครูบาอาจารย์ ซึ่งแม่นยำในลักษณะของพระพุทธรูปอินเดียทำเอง ต่อมาชาวพื้นเมืองทำไม่ได้ดีเท่านั้น หรือไม่นิยมแบบนั้น พระพักตร์จึงกลายไปเป็นอย่างที่ ๒ ซึ่งได้พบเป็นจำนวนมากกว่าอย่างที่ ๑ แต่ส่วนอื่นๆไม่มีเปลี่ยนแปลงอะไรมากนัก เห็นเข้าก็มีเค้าให้รู้ได้เสมอว่า เป็นสมัยเดียวกัน

          พระพุทธรูปสมัยนี้ที่ได้พบแล้ว มี ๘ ปางด้วยกัน คือ

       ๑.ปางปฐมเทศนา ปางนี้ทำทั้งขนาดใหญ่และขนาดเล็กด้วยศิลาและโลหะ มีทั้งอย่างนั่งห้อยพระบาท และนั่งขัดสมาธิ

       ๒.ปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ ทำทั้งด้วยศิลาและโลหะ ควรสังเกตไว้อย่างหนึ่งว่า การขัดสมาธิของพระสมัยนี้ผิดกับสมัยอื่นๆ คือขัดหลวมๆ บางทีพอฝ่าเท้าซ้อนกันเท่านั้น และบางรูปแปลกมากๆ คือขัดปลายเท้าเสียบลง จนเห็นก้นเผยอขึ้น

       ๓. ปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร ปางนี้มีน้อยพบแต่ทำด้วยโลหะ

       ๔. ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ ทำทั้งด้วยศิลาและโลหะ

       ๕. ปางมหาปาฏิหาริย์ พบแต่ทำด้วยศิลา

       ๖. ปางประทานอภัย ทำทั้งด้วยศิลาและโลหะ

       ๗. ปางประทานพร พบแต่ทำด้วยศิลา

       ๘. ปางโปรดสัตว์ ( คือพระหัตถ์ขวาจีบนิ้วพระหัตถ์ท่าแสดงธรรม พระหัตถ์ซ้ายหงายฝ่าพระหัตถ์ไปข้างหน้า ในท่าประทานพร )  พบแต่ทำด้วยโลหะ

 

สมัยศรีวิชัย

( ระหว่าง พ.ศ. ๑๒๐๐ - ๑๗๐๐ )

พระพุทธรูปสมัยนี้ เป็นแบบอย่างฝีมือช่างของอาณาจักรศรีวิชัย ซึ่งราชธานีอยู่ในเกาะสุมาตราข้างทิศประจิมของเมืองปาเล็มบังในบัดนี้ แผ่อาณาเขตไปจนเกาะชวาและมาในแหลมมลายูของไทย มีเมืองนครศรีธรรมราชและไชยาเป็นต้น ศิลปวิทยาของช่างกรุงศรีวิชัย จึงได้แพร่หลายมาถึงปักษ์ใต้ของประเทศสยาม ศิลปของกรุงศรีวิชัยนี้เดิมทีเดียวก็ได้รับมาจากชาวอินเดียเหมือนกันกับพวกกรุงทวารวดี แต่จะรับมาเมื่อไรได้แต่สันนิษฐาน เห็นจะเป็นคราวเดียวกับที่พวกอินเดียฝ่ายใต้ไปตั้งเมืองจัมปานคร ซึ่งเรามักเรียกกันว่าเมืองจาม อยู่ริมทะเลในแดนญวนข้างใต้เมืองเว้บัดนี้ เพราะของโบราณยุคนี้เป็นต้นว่า รูปจำหลักหรือลวดลาย หรือแบบอย่างการทำเจดีย์วัตถุทั้งที่ในชวา ในเมืองไทย และที่เมืองจาม แบบอย่างละม้ายคล้ายกันมาก คงจะเป็นสกุลช่างอันเดียวกันเป็นแน่

(webpage) 200969_76753.jpg
(webpage) 200969_76772.jpg
(webpage) 200969_76791.jpg

ลักษณะพระพุทธรูปสมัยศรีวิชัย

          เกตุมาลาเป็นต่อมสั้นคล้ายสมัยทวารวดี แต่ขมวดพระเกศเล็กละเอียดกว่าสมัยทวารวดี โดยมากมีไรพระศก แต่ถ้าไม่มีไรพระศกมักมีอุณาโลมในระหว่างพระโขนง และมีใบโพธิ์ติดที่พระเกตุมาลา พระนลาตเรียบ พระโขนงโก่ง พระพักตร์แบนเหมือนสมัยทวารวดี แต่พระหนุไม่ป้านเหมือนสมัยทวารวดี พระโอษฐ์ไม่แบะ สังฆาฏิยาวลงมาใต้พระถัน บัวรองฐานกลีบใหญ่ มีส่วนกว้างมากกว่าของสมัยทวารวดี กับมีกลีบเล็กแซมตั้งแต่ ๑ ถึง ๓ กลีบ เกสรละเอียด พระหัตถ์และพระบาทมักทำได้ส่วนกับพระองค์ ไม่ใหญ่เหมือนของสมัยทวารวดี ถ้าเป็นพระนั่งโดยมากมีเรือนแก้วด้วย แต่ต่างกับของสมัยทวารวดีซึ่งมักทำเป็นเก้าอี้ สมัยนี้มักทำเป็นรูปใบโพธิ์และมียอดเป็นฉัตร ถ้าเป็นพระยืนบางทีไม่มีชายจีวรเลย ที่มี ๒ ข้างและข้างเดียวเหมือนสมัยทวารวดีก็มี

          พระพุทธรูปสมัยนี้มีน้อย มีพระโพธิสัตว์เป็นจำนวนมาก เพราะเป็นคติมหายานซึ่งนับถือพระโพธิสัตว์เป็นสำคัญ มักได้พบทางปักษ์ใต้ มีจังหวัดสุราษฎร์ นครศรีธรรมราช และสงขลา เป็นต้น ทางเหนือเคยได้พบบ้างในจังหวัดมหาสารคาม แต่เป็นของขนาดเล็กซึ่งบางทีอาจเป็นเพราะมีผู้พาเอาไปไว้ภายหลังก็เป็นได้ เท่าที่ได้พบมาแล้วมี ๖ ปางคือ

       ๑. ปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร ทำด้วยโลหะ

       ๒. ปางลีลา ทำด้วยโลหะ

       ๓. ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ ทำด้วยโลหะ

       ๔. ปางโปรดสัตว์ ทำด้วยโลหะ

       ๕. ปางประทานอภัย ทำด้วยโลหะ

       ๖. ปางนาคปรก ทำด้วยโลหะ

          ที่เป็นปางสมาธิ ปางมหาปาฏิหาริย์ และปางเทศนา มีพบแต่ที่ทำเป็นพระพิมพ์

 

สมัยลพบุรี

( ระหว่าง พ.ศ. ๑๕๐๐ - ๑๘๐๐ )

          พระพุทธรูปสมัยนี้เป็นแบบอย่างฝีมือช่างขอมมีทั้งทำตามคติหินยาน ซึ่งมีอยู่เป็นดั้งเดิมแต่ครั้งสมัยทวารวดี และคติมหายานซึ่งได้รับมาแต่สมัยศรีวิชัย และพวกขอมนำเข้ามาแต่ประเทศกัมพูชาอีก ที่เรียกพระพุทธรูปแบบนี้ว่า สมัยลพบุรีนั้น ก็เพราะเมื่อขอมมีอำนาจปกครองประเทศสยามอยู่นั้น ตั้งราชธานีของอุปราชอยู่ที่เมืองลพบุรี นักปราชญ์ทางโบราณคดีจึงได้เอานามราชธานีครั้งนั้นมาเป็นชื่อสกุลช่างขอมในประเทศสยามมาให้จำง่าย มิได้หมายความว่าเป็นของทำเฉพาะแต่ที่ในจังหวัดลพบุรีเท่านั้น

ลักษณะพระพุทธรูปสมัยลพบุรี

(hamsamut) 200956_10977.jpg

พระพุทธรูปสมัยนี้มีพบในตอนกลางของประเทศสยามมากที่สุด แต่ทั้งทางเหนือและทางใต้ก็ได้พบประปรายทั่วไป ลักษณะพระพุทธรูปสมัยนี้ ยังคงทำเกตุมาลาเป็นต่อมเหมือนกับสมัยทวารวดี แต่เปลี่ยนรูปร่างไปหลายอย่าง คือ เป็นอย่างก้นหอยบ้าง อย่างฝาชีครอบบ้าง อย่างมงกุฏเทวรูปบ้าง อย่างเป็นดอกบัวแลเห็นกลีบรอบๆบ้าง มีไรพระศกเส้นใหญ่กว่าของสมัยศรีวิชัย เส้นพระศกทำเป็นอย่างเส้นผมคนบ้าง เป็นขมวดละเอียดบ้าง หยาบบ้าง ศิราภรณ์ทำอย่างทรงเทริดบ้าง กระบังหน้าบ้าง พระพักตร์กว้าง พระโอษฐ์แบะ พระหนุป้าน พระยืนทำเป็นอย่างห่มคลุมทั้งนั้น พระนั่งทำทั้งอย่างห่มคลุมและห่มดอง สังฆาฏิยาวลงไปจนจรดพระนาภี ชายอันตรวาสก(สะบง)ข้างบนเผยอเป็นสัน โดยมากพระกรรณยาวย้อยจนจรดพระอังสะ ที่เป็นขนาดใหญ่ทำเส้นพระศกเป็นอย่างบัวหลังเบี้ยก็มี เป็นอย่างเส้นผมคนและเป็นหนามขนุนก็มี ที่ทรงเครื่องมีฉลองศอกำไลแขน และประคตเป็นลวดลายแบบขอมผิดกับสมัยอื่นๆ บัวรองฐานทำทั้งอย่างบัวหงายบัวคว่ำก็มี บัวหงายอย่างเดียวก็มี และบัวคว่ำอย่างเดียวก็มี แต่บัวขอมสังเกตได้ง่ายกว่าบัวสมัยอื่น ๆ คือ เป็นอย่างชนิดบัวหลังเบี้ยหรือปลายกลีบมีขอบทั้งนั้น

(nakproke) 200956_10672.jpg

ลักษณะพระพุทธรูปสมัยลพบุรีที่ทำในประเทศสยาม และพระพุทธรูปขอมแท้ที่ทำในประเทศกัมพูชา ศาสตราจารย์ยอช เซเดส์ ได้เป็นผู้สังเกตว่าต่างกันเล็กน้อย คือพระพุทธรูปนั่งของกรุงกัมพูชา มีส่วนสูงวัดตั้งแต่ทับเกษตร์ถึงพระเกศ เท่ากับส่วนกว้างวัดตรงหน้าตัก แต่พระพุทธรูปนั่งสมัยลพบุรีโดยมากมีส่วนสูงมากกว่าส่วนกว้าง พระพักตร์พระพุทธรูปสมัยลพบุรีก็ผิดกับพระพักตร์พระพุทธรูปของกัมพูชาอีกเล็กน้อย คือ พระโขนงนูนเป็นสันออกมามาก พระนาสิกโก่งและยาว พระหนุเป็นปมป้าน ไรพระศกหนาและโต เกตุมาลาใหญ่เป็นรูปฝาชีมีลวดลายคล้ายมงกุฏเทวรูป และอธิบายต่อไปว่า เหตุที่พระพุทธรูปสมัยลพบุรีที่ในประเทศสยามต่างกับพระพุทธรูปขอมในกรุงกัมพูชานั้น จะเป็นด้วยพระพุทธรูปสมัยลพบุรีเป็นฝีมือช่างขอมในหัวเมืองฝ่ายตะวันตก ไม่ชำนาญในการทำพระพุทธรูปหรือมีตำราทำพระพุทธรูปผิดกับช่างในกรุงกัมพูชา หรืออีกนัยหนึ่งว่าอาจเป็นฝีมือช่างชาวพื้นเมืองทำตามแบบขอม เปลี่ยนแปลงตามความนิยมของตน พระพุทธรูปสมัยลพบุรีในประเทศสยามกับพระพุทธรูปของในกรุงกัมพูชาจึงต่างกันไปบ้างเล็กน้อย แต่ความจริงพระพุทธรูปสมัยลพบุรีและพระพุทธรูปฝีมือช่างขอมในกรุงกัมพูชานั้นเป็นของสังเกตได้ยากที่สุดว่าแตกต่างกันอย่างไร ถ้าเอาพระพุทธรูปฝีมือขอมมาองค์หนึ่ง โดยไม่ให้รู้ว่าได้พบที่ไหนแล้ว ให้ทายว่าเป็นของทำในประเทศสยามหรือในประเทศกัมพูชาแล้ว ก็ยากที่จะทายได้ถูกต้อง

(lopburi) 200961_81478.jpg

พระพุทธรูปสมัยนี้เท่าที่ได้พบแล้ว ทำปางต่างๆ ๗ ปาง คือ

       ๑. ปางเสด็จลงจากดาวดึงส์ ทำด้วยโลหะ

       ๒. ปางประทานอภัย มีทั้งยกพระหัตถ์ข้างเดียว และสองข้าง ทำทั้งด้วยศิลาและโลหะ

       ๓. ปางประทานพร พบแต่ทำด้วยศิลา

       ๔. ปางโปรดสัตว์ พบแต่ทำด้วยโลหะ

       ๕. ปางนาคปรก มีทั้งอย่างเดี่ยวและอย่างรัตนตรัยมหายาน(คือชนิดมีพระพุทธนาคปรก(อาทิพุทธเจ้า)อยู่กลาง พระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวร อยู่ข้างขวา นางปัญญาปารมีตา อยู่ข้างซ้าย ) ทำทั้งด้วยศิลาและโลหะ

(lopburi) 200961_81453.jpg

    ๖. ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ ทำทั้งด้วยศิลาและโลหะ

(lopburi) 200956_11396.jpg

๗. ปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ ทำทั้งด้วยศิลาและโลหะ สมัยนี้ไม่มีขัดสมาธิเพชร

          นอกจากปางต่างๆที่กล่าวนี้ ยังมีอีกชนิดหนึ่ง คือ ทำพระพุทธรูปตั้งแต่ ๓ องค์ถึง ๔ องค์ในฐานอันเดียวกัน ซึ่งอย่าง ๓ องค์คงจะหมายความถึงพระพุทธเจ้ามีกาย ๓ อย่าง คือ สัมโภคกาย ธรรมกาย และนิรมานกาย ตามคติมหายาน อย่าง ๔ องค์ติดกันคงจะหมายถึงพระพุทธเจ้า ๔ องค์ในภัททกัลป์น ที่ได้ตรัสรู้ไปแล้ว แต่ทำพระหัตถ์อย่างปางมารวิชัยทั้งนั้น จึงไม่นับเป็นปางหนึ่งต่างหาก

 

ประวัติศาสตร์และโบราณคดีในอำเภอเวียงเชียงรุ้ง

คลิกเพื่อดูแผนที่ http://file.siam2web.com/amuletsale4u/webpage/2009530_4564.gif

             จังหวัดเชียงรายเป็นชุมชนที่มีตั้งแต่โบราณกาลหลายยุคหลายสมัย ถ้าเรานับย้อนหลังไปเมื่อหลายล้านปีก่อน มีผู้สันนิษฐานว่า พื้นที่ในจังหวัดเชียงรายบางส่วนอาจเป็นทะเลก็ได้ เนื่องจากมีหลักฐานหลายประการบ่งบอกถึงความเก่าแก่ของพื้นที่ อาทิ มีการขุดค้นพบซากสัตว์ทะเลหลายประเภท เช่น หอยชนิดต่างๆที่มีในทะเลและอ่าวไทยในปัจจุบัน   ตลอดจนกระดูก   และฟันสัตว์ใหญ่ ซากต้นไม้ชนิดต่างๆ สิ่งเหล่านี้ปัจจุบันได้มีการรวบรวมไว้ในแหล่งให้ความรู้ด้านโบราณคดีของจังหวัด                

(webpage) 2009610_9555.jpg

ต่อมาในสมัยยุคหินและยุคสัมฤทธิ์ก็ได้มีการค้นพบโบราณวัตถุและโบราณสถานต่างๆ มากมายเป็นเครื่องยืนยันว่า พื้นที่ในจังหวัดเชียงรายนั้นเป็นพื้นที่ที่ควรศึกษาด้านโบราณคดีเป็นอย่างยิ่งในสมัยยุคพุทธกาลไทยเราได้มีอักษรใช้  ชนเผ่าไทยก็ได้ขยายบ้านเมืองสร้างบ้านแปลงเมืองขึ้นในถิ่นต่างๆ  ตามที่แต่ละเผ่าได้เลือกสถานที่และชัยภูมิในการตั้งถิ่นฐาน  ดังนั้นในพื้นที่จังหวัดเชียงรายจึงมีแต่ซากโบราณสถาน โบราณวัตถุ  ตลอดจนสถานที่ที่มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มากมาย ซึ่งทางราชการได้ดำเนินการสำรวจในพื้นที่จังหวัดเชียงราย พบว่ามีโบราณสถาน(เมืองร้าง)เกือบหนึ่งร้อยเมืองและพบในทุกอำเภอ ลักษณะการสร้างเมืองจะมีลักษณะมีการขุดคูดินล้อมรอบเมืองและก่อกำแพงด้วยอิฐ และเพิ่งมีการเลิกสร้างเมืองเมื่อสมัยตอนปลายกรุงธนบุรีและต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องด้วยมีการรวบรวมชนเผ่าไทยเข้าด้วยกัน                                        

               สมัยโบราณนั้น  แต่ละเผ่ามีการปกครองตนเอง และการปกครองบ้านเมืองในสมัยโบราณเมื่อประมาณ  2,000  ปีก่อนนั้น  มักจะมีการปกครองแบบ

               1.   แยกการปกครองชนเผ่าใคร เผ่ามัน

               2.  แต่ละเผ่ามีการปกครองแบบนครรัฐ  แต่ละรัฐยังแบ่งเป็นเมืองเล็กๆ หรือที่เรียกในสมัยหนึ่งพันปีเศษมานี้ว่า "ปั๊นนา"

              " ปั๊นนา" หนึ่ง ๆ ก็จะส่งบุตรหลานหรือผู้ที่ไว้วางใจไปเป็นเจ้าหัวเมืองในสมัยพญาเม็งรายครองเมืองเชียงรายได้แบ่งการปกครองออกเป็น 32 ปั๊นนา (พันนา) รวมเป็น 33 ปั๊นนาทั้งเมืองหลวง คือ เมืองเชียงราย อาทิ

                        1. ปั๊นนาเชียงรายน้อย                                                           

                        2. ปั๊นนาท่าก่ง                                                                        

                        3. ปั๊นนาย่วนน้ำหัวตีนเวียง                                                   

                        4. ปั๊นนาปูเลา

                        5.  ปั๊นนาเอียน

                        6. ปั๊นนาเชียงราก

                        7. ปั๊นนาโทรักษ์

                        8. ปั๊นนาแช่เลียง

                        9. ปั๊นนาแซ่ตาด

                        10. ปั๊นนาแคว้นอ้อย                 

                        11. ปั๊นนาฝายแก้ว

                        12. ปั๊นนาเชียงเคี่ยน

                        13. ปั๊นนาคุ้มเผือย

                        14. ปั๊นนาแชหาน

                        15. ปั๊นนาแชลุง

                        16  ปั๊นนาชะง่า

                        17. ปั๊นนาช่างฆ้อง

                        18. ปั๊นนาเชียงลม

                        19. ปั๊นนาตีนเกี่ยงคำ

                        20. ปั๊นนาหอหน้าไม้

                        21. ปั๊นนาล้อ

                        22. ปั๊นนาสะแหล่ง

                        23. ปั๊นนาแคว้นดง

                        24. ปั๊นนาดอกคำ

                        25. ปั๊นนานาย

                        26. ปั๊นนาแคว้นหงษ์

                        27. ปั๊นนามหาดูปลา

                        28. ปั๊นนาเป้า

                        29. ปั๊นนาแคว้นน้ำหัว

                        30.  ปั๊นนาจันและ

                        31. ปั๊นนาเชียงรุ้งน้อย

                        32. ปั๊นนาลอน้อย

                        33. เชียงรายเมืองหลวง

ปั๊นนาเชียงรุ้งน้อย  หรือ  เวียงเชียงรุ้ง  ปัจจุบัน  มีความสำคัญอย่างไร

ในสมัยพญาเม็งรายนั้น พลเมืองของพระองค์แบ่งออกเป็นเผ่า  ๆ  ดังนี้

           1.  ไทยเผ่าอ้ายลาวของพระบิดา เผ่าอ้ายลาวหรือคนลาว (เหนือ) ปัจจุบันเรียกคนยวนหรือคนเมือง ชนเผ่านี้มีมากและมีความสำคัญต่อการพัฒนาบ้านเมืองอย่างยิ่ง นับว่ามีจำนวนมากกว่าเผ่าอื่น ๆ

          2.  เผ่าบิซู  หรือละวะ หรือคนอ้ายลาวเรียกตามภาษาพูดของตนว่า "ลัวะ" นั่นเอง  คนเผ่านี้มีมากพอๆ กับชนอ้ายลาวและชนเผ่านี้มีบทบาทในการสร้างชุมชนรวมชุมชนอย่างมาก ปรากฏว่ามังรายใช้อ้ายผ้าชนเผ่าบิซูเป็นไส้ศึกช่วยบริหารบ้านเมืองกับพญายีบา นานหลายปี จนในที่สุดทำอุบายให้พลเมืองเกลียดพญายีบาเจ้าเมืองลำพูนจนกองทัพมังราย เข้ายึดเมืองลำพูนได้ในปี พ.ศ. 1824

           3.  ไทเผ่าลื้อ  ไทเผ่านี้เป็นเผ่าที่เป็นมารดาของพญาเม็งราย  กล่าวคือ พญาเม็งรายนั้นเป็นหลานของเจ้าเมืองสิบสองพันนา อันมีเมืองเชียงรุ้ง (เวียงฮุ่ง) ปัจจุบันตั้งอยู่ในประเทศจีน  เจ้าผู้ครองหิรัญนคร(เจ้าลาวเม็ง บิดาของพญาเม็งราย) ได้ไปสู่ขอเอาราชธิดาเจ้าเมืองเชียงรุ้งซึ่งเป็นน้องหญิงของท้าวรุ่งแก่นชาย เจ้าผู้ครองเวียงผาครางเชียงรุ่ง องค์ที่4 ขอนาง "โอ้มิ่งไข่ฟ้า"  หรือสามัญชนทั่วไปเรียก "นางอกแอ่น"  มาเป็นชายาเจ้าลาวเม็ง พอทำพิธีสยุมพรอภิเษกแล้ว ทางเมืองเชียงรายให้เปลี่ยนนามใหม่ว่า   พระนางเทพคำกลาย  หมายถึง  เทวดาแปลงตัวมาเกิด เล่าขานกันว่านางสาวไตลื้อผู้นี้ มีรูปโฉมสวยงามยิ่งนัก แต่งพระองค์แบบไตเชียงรุ่งตลอดเวลา (แต่งแบบลื้อ) อยู่มาไม่นาน เจ้าลาวเม็งและนางเทพคำกลายก็ได้ราชบุตรคือ ขุนราย  (พญาเม็งราย)

          ขุนรายผู้มีบุญ พอถือกำเนิดได้ไม่นานนัก  ความทราบถึงเจ้าฟ้าแก่นชาย  ซึ่งเป็นกษัตริย์เมืองเชียงรุ่งผู้เป็นลุง  ก็พาบริวาร  300  คน  มาเยี่ยมน้องสาว  คือนางอกแอ่น และมาทำพิธีมังคละนารายณ์ให้หลาน โดยใส่ชื่อว่า  ขุนราย พร้อมกับให้ของขวัญแต่น้องเขยคือเจ้าลาวเม็ง โดยยกเมืองพยาก   และเมืองหลวงภูคาให้อีก ทำให้เขตเมืองหิรัญนครกว้างขึ้นมาอีก พญามังรายนั้นเป็นกษัตริย์ที่เข้มแข็ง เจ้าเมืองใหญ่น้อยต่างสวามิภักดี์ ถวายดอกไม้เงินทอง จึงได้นามใหม่เป็น "ขุนเม็งราย"  หรือ  "พญาเม็งราย"

          พระองค์มังรายนั้น มีความผูกพันทางฝ่ายพระราชมารดายิ่งนัก พระองค์เสด็จไปสร้างเมืองที่ไหนๆ มักจะเชิญเสด็จแม่ไปอยู่ด้วย ภาษาที่ใช้ในราชสำนักก็ใช้สองสำเนียง จะเห็นใช้จากบันทึกต่างๆจะมีใช้ภาษาไตลาวและภาษาไตลื้อ โดยเฉาะในกฎหมายมังราย คำบางคำใช้ภาษาไตลื้อเป็นส่วนใหญ่

          สำหรับพลเมืองที่ติดตามพระนางเทพคำกลายนั้น พระองค์ท่านได้สร้างเมืองให้อยู่ต่างหากเสมอเหมือนว่าเมืองๆ นี้คือเมืองเชียงรุ่งเดิมหรือเวียงผาครางเดิมนั้นเอง เมืองๆนี้ปัจจุบันเป็นเมืองร้างอยู่ในหวัดเชียงรายชื่อเมือง "เชียงรุ่งน้อย" เป็นหนึ่งใน 32 พันนาของเมืองเชียงรายยุคพญาเม็งราย  นอกจากนี้ พ.ศ.1848 พระองค์ได้จัดให้คณะสงฆ์ออกไปเผยแพร่พุทธศาสนาในเมืองสิบสองพันนาเพื่อสืบสัมพันธ์ฉันท์ญาติมิตรทางพระราชมารดาดังนั้นเมืองเชียงรุ่งน้อยจึงเต็มไปด้วยชุมชนเผ่าไตลื้อตลอดศิลปวัฒนธรรมความเป็นอยู่เป็นไปตามครรลองชนเผ่านี้ทั้งหมด

เวียงเชียงรุ่งน้อย

          เวียงเชียงรุ่งน้อยหรือพันนา เชียงรุ่งน้อยตั้งอยู่ในเขตหมู่ที่ 10  บ้านห้วยเคียน ตำบลบ้านเหล่า  กิ่งอำเภอเวียงเชียงรุ่ง  ตั้งอยู่ในพิกัด  เส้นรุ่งที่  99  องศา 58 ลิปดา 40 ฟิลิปดาตะวันออก  และเส้นแวงที่  1  องศา 57 ลิปดาเหนือ

เมืองโบราณแห่งนี้มีเขตติดต่อ  ดังนี้

                -  ทิศเหนือ เป็นทุ่งนา ห่างจากแม่น้ำกกประมาณ 2.50 ก.ม.

                -  ทิศใต้ ติดทุ่งนา และร่องน้ำลึกไหลผ่าน

-  ทิศตะวันออกติดลำน้ำสายได้แก่ร่องจิกเป็นคูเมืองด้วย

-  ทิศตะวันตก มีลำน้ำแม่ลาว (เดิม) ไหลผ่านและใช้เป็นคูเมืองไปในตัว ด้านนี้ห่างจาก ลำน้ำกกประมาณ  4 - 5  ก.ม.  และห่างจากหมู่บ้านดงตะเคียนไปทิศตะวันออกประมาณ 2 ก.ม.

ลักษณะเมือง

             เมืองเชียงรุ่งน้อยห่างจากหมู่บ้านพอสมควร ตั้งอยู่ในชัยภูมิที่เหมาะสมมาก กล่าวคือ เป็นเนินสูงจากระดับพื้นราบประมาณ 2 เมตร เป็นรูปหลังเต่ามีเนื้อที่โดยประมาณไม่ต่ำกว่า 500 ไร่  กว้างใหญ่พอ ๆ กับเมืองเวียงวัง (กาหลง) ของอำเภอเวียงป่าเป้า แต่เมืองๆ นี้ตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะกว่าโดยเฉพาะลำน้ำสามารถไหลระบายเข้า-ออกในตัวเมืองได้

เมืองเชียงรุ่งน้อยมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์มาก โดยเฉพาะสมัยพญามังรายได้ทะนุบำรุงเมืองนี้อย่างดีจะเห็นได้จากขุดคูเมืองถึง 3 ชั้น มีกำแพงโดยรอบ ในปี พ.ศ. 2523 ได้มีการสำรวจถึง 2-3 ครั้ง และมีหลายคณะที่เข้าไปตรวจสอบ การสำรวจในสมัยนั้นปรากฏว่าซากกำแพงและป้อมปราการยังเห็นได้ชัด เมืองนี้มีคูรอบเป็นวงแหวนกว้าง  14 ม. ลึกประมาณ 3-4 เมตร ยาวรอบเมืองประมาณ 3 กิโลเมตร คูชั้นกลางห่างจากคูชั้นในบางแห่งถึง 50  เมตร เป็นคูเมืองที่กว้างและลึกมาก คูเมืองชั้น3อยู่รอบนอก ห่างจากร่องลึกประมาณ 60 เมตร คูกว้างประมาณ 12 เมตร คูเมืองเป็นรูปคล้ายกระสอบ

เมืองนี้ชื่ออะไร

           ตามหลักฐานทางโบราณคดี ประวัติศาสตร์ สมัยพญาเม็งราย ชึ่งปฎิสังขรณ์เมืองไชยนารายณ์เมืองมูล ซึ่งเป็นเมืองร้างอยู่ก่อนแล้ว พระองค์ได้มีการบริหารบ้านเมืองให้มีระบบระเบียบให้มากขึ้นกล่าวคือ พระองค์ได้แบ่งการบริหารบ้านเมืองโดยแบ่งการปกครองเป็นปั๊นนาหรือพันนา แต่ละพันนาให้มีเจ้าเมืองปกครองเป็นเมือง ๆ ไป  รวมหัวเมืองหรือพันนาถึง 32 พันนา เมืองพันนาเหล่านี้ขึ้นตรงต่อเมืองหลวงคือ เมืองเชียงรายหมด โดยเฉพาะพันนาเชียงรุ่งน้อย พระองค์สร้างให้พระญาติทางมารดา และบริวารทั้งหลายให้อยู่อย่างมีความสุข เพราะพลเมืองในสมัยของพระองค์นั้นมีชุมชนหลายเผ่าอาทิ

           1. เผ่าไท อ้ายลาวหรือลาว ปัจจุบันเราเรียกไตยวนหรือคนเมือง เผ่านี้เป็นพระญาติทางพระราชบิดา คือ พระเจ้าลาวเม็ง

           2. เผ่าบิซู หรือละ หรือละวะ ปัจจุบันคนเมืองเรียกเพี้ยนตานภาษาพูดของตนว่าชาวลัวะซึ่งผิดจากความเป็นจริงอย่างมาก ชนเผ่านี้มีมากพอๆกับเผ่าลาวหรืออ้ายลาว เป็นเผ่าที่ฉลาด ตัวอย่าง อ้ายฟ้าทหารเอกของเจ้าพญามังรายไปทำกลอุบายให้คนลำพูนของพญาบาแตกแยกเมื่อ พ.ศ. 1824  ทำให้เมืองลำพูนต้องขึ้นกับพญามังรายในกาลต่อมา      

            3.  พวกเผ่าชาวข่าต่าง ๆ  เช่น ข่าก๊อ ข่าหมุ ข่าเมด ผีตองเหลือง แอ่งคะแคว ฯลฯ  พวกนี้เป็นผู้รับใช้เฝ้ารักษาวัตถุที่ดินโบราณสถาน ดูแลเขตบ้านเขตเมือง

            4. เผ่าไตลื้อ เป็นพระคติทางพระมารดานางโอ้มิ่งฟ้า หรือนางเทพคำกลาย ชนเผ่านี้มีมากพอสมควรที่อยู่ในเมืองเชียงรุ่งน้อย ในการที่พระองค์สร้างเมืองนี้ขึ้นก็เพื่อที่จะให้บริวารของพระมารดามีกำลังใจและต้องการที่จะสร้างกำลังทัพให้เข้มแข็ง  ไว้ใจได้เพราะทหารหรือขุนศึกเป็นเผ่าเดียวกับทางพระมารดา เมือง ๆ  นี้จำลองมาจากเมืองหลวงของชนเผ่าลื้อในเขต  12  พันนา ลื้อจึงเรียกว่า เมืองเชียงรุ่งน้อย ดังนั้นพญามังรายจึงสร้างเมืองให้เป็นกรณีพิเศษซึ่งจะเห็นได้จาก

             -  พื้นที่ซึ่ง กว้าง ยาว มีพื้นที่มาก

             -  ขุดคู ประตู หอรบ ครบครัน

             -  ข่างน้ำเข้าเลี้ยงเมืองได้ตลอดปี

             -  ตั้งอยู่ใกล้ลำน้ำใหญ่ 2 สาย คือ น้ำแม่ลาว และ น้ำแม่กก

             -  บริเวณรอบ ๆ เป็นที่ว่าง พื้นที่ราบเหมาะแก่การเกษตร ถูกใจชนเผ่าลื้อที่ขยันงาน

             -   ตรงใจกลางเมือง สร้างหอคำอยู่ที่สูงเด่นชัด อากาศดี

            การคมนาคมสมัยนั้นมาได้ 2 ทาง กล่าวคือ ทางบกและทางน้ำแม่กกต่อน้ำแม่ลาวที่จะไปหายังเมืองหลวง (เชียงราย) เมืองนี้มีความเจริญรุ่งเรืองมาก เป็นเมืองหน้าด่านทางทิศตะวันออกของเมืองเชียงราย มีขนบธรรมเนียมวัฒนธรรมของตน (เผ่าลื้อ) ต่อมาถึงขั้นลูกหลานพญามังราย ในสมัยพระเจ้าติโลกราช ศตวรรษที่  19  เมืองนี้จึงได้รับการเอาใจใส่อีกครั้งหนึ่ง  อันเนื่องมาจากพระองค์ได้รวมพลังหัวเมืองต่าง ๆ ให้เป็นอันหนึ่งอันเดียวกันหรือพูดง่าย ๆ ว่า  "รวมล้านนา"  เข้าไว้ในพระราชอำนาจของพระองค์ เนื่องจากพระเจ้าติโลกราชเป็นกษัตริย์ที่เข้มแข็ง  สามารถรวมล้านนาฝ่ายใต้ อันมีเมืองเชียงไม่เป็นศูนย์กลางใหญ่  และรวบรวมล้านนาฝ่ายเหนืออันมีเมืองเชียงรุ่งสิบสองพันนาเป็นเมืองหลวง    รวมอาณาจักรเข้าด้วยกันทั้งนี้เพราะพระองค์มีทหารเอกอันเป็นพระญาติผู้ใหญ่ ได้แก่  เจ้าหมื่นด้งนคร ทหารหาญท่านนี้เป็นผู้เข้มแข็ง ทำให้การปกครองของพระเจ้าติโลกราชมีประสิทธิภาพอย่างมาก  เจ้าหมื่นด้งได้นำทัพไปปราบล้านนาฝ่ายเหนือถึงแดนสิบสองพันนาลื้อ  แล้วกวาดต้อนผู้คนมาไว้ ณ เมืองเชียงรุ่งน้อยอีกเมืองหนึ่ง ให้ชื่อว่า  เวียงด้ง  ปัจจุบันเป็นหมู่บ้านเวียงแก้ว

ทำไมพันนาต่างๆ จึงล่มสลายลง หัวเมืองต่างๆในเขตล้านนาได้ล่มสลายหาผู้จัดดูแลรักษาไม่ได้ในสมัยศตวรรษที่ 21 กล่าวคือ พ.ศ.2101-2310 หัวเมืองต่าง ๆ ในล้านนาฝ่ายใต้  ฝ่ายเหนือ ถูกกองทัพพม่าตีแตก บ้านเมืองระส่ำระสาย ไม่เพียงแต่ล้านนา แม้อยุธยาก็แตก พลเมืองถูกกวาดต้อนไปอยู่ในที่ต่างๆจนหมด  สมัยนี้เป็นสมัยพระเจ้าเมกุฏิสุทธิวงค์เป็นกษัตริย์ผู้ครองเมืองเชียงใหม่ องค์สุดท้ายและหมดราชวงค์มังราย เมืองเชียงรุ่งน้อยก็พลอยล่มสลายไปด้วย

เมืองโบราณเวียงเชียงรุ้ง

เมืองโบราณแห่งนี้เชื่อว่า มีความเกี่ยวพันกับประวัติศาสตร์ชาติไทย อาณาจักรล้านนาไทยเชื่อมโยงถึงอาณาจักรสุวรรณโคมคำ ถึงอาณาจักรโยนกเชียงแสน เมืองไชยนารายณ์ ไชยปราการ และอื่น ๆ  แม้แต่วรรณคดีเรื่อง จำปาสี่ต้น และมีหลักฐานหลายอย่างบ่งว่า "เวียงฮุ้ง" แห่งนี้มี "ฮุ้ง" กินคน นางปทุมมาหรือนางกองคำ เคยเป็นธิดากษัตริย์เมืองนี้จะได้ศึกษาได้จากวรรณคดี เรื่อง "จำปาสี่ต้น" และเรื่องสี่ยอดกุมาร ซึ่งเป็นละครวิทยุแพร่หลายเป็นที่นิยมทั่วประเทศระยะหนึ่ง ที่ตั้ง อุทยานวัดเวียงเชียงรุ้งตั้งอยู่ในเขตท้องที่บ้านห้วยเคียนหมู่ที่ 10 ต.ทุ่งก่อ กิ่งอำเภอเวียงเชียงรุ้ง  จ.เชียงราย ตั้งอยู่พิกัดที่ 062032  เส้นรุ้งที่ 99 องศา 58 ลิบดา 40 ฟิลิบดาตะวันออกและเส้นแวงที่  19  องศา  57  ลิบดาเหนือ (อยู่แผนที่ทางอากาศลำดับชุด L 708 แผ่นที่ 5071)

ลักษณะภูมิประเทศ ภูมิประเทศบริเวณเมืองโบราณเวียงเชียงรุ้ง หรือเวียงฮุ่งมีลักษณะเป็นเนินสูงตั้งอยู่กลางทุ่งนาในขณะนี้รูปลักษณะเกือบจะเป็นสี่เหลี่ยมผืนผ้าถ้ามองดูจากภาพถ่ายทางอากาศจะคล้ายฟักเขียวมีเนื้อที่ประมาณ 500-600 ไร่ ตรงกลางเหมือนหลังเต่า เมื่อได้ขึ้นไปยืนอยู่บนที่สูงของเมืองนี้ก็จะสามารถมองเห็นได้รอบทิศ มีลักษณะสิ่งที่บอกให้ทราบว่าเป็นเมืองโบราณปรากฏให้เห็นอย่างชัดเจน เช่น ป้อม คู  ประตู  หอรบ  โดยเฉพาะคูเมืองมีถึง3ชั้น ชั้นในกำแพงเมือง (กำแพงดิน) มีครอบเป็นวงแหวนกว้าง 14 ม. ลึก 3 ม. ยาวรอบเมืองประมาณ 2 กิโลเมตร คูชั้นกลางอยู่ห่างออกมาจากชั้นในประมาณ 50 ม. เป็นคูเมืองที่ใหญ่กว้างและลึกคือกว้าง 30  เมตร  ลึก 5-6 เมตร ยาวรอบตัวเมืองประมาณ 5 กิโลเมตร ชาวบ้านเรียกว่าฮ่องลึกหรือร่องลึกประมาณ 60 ม. คูกว้าง 12 เมตร ลึก 2 เมตร ยาวประมาณ 2 กิโลเมตร เรียกว่าฮ่องจิกหรือร่องจิก และที่บนเนินของตัวเมืองก็ยังมีดเมืองอยู่อีกชั้นหนึ่งกว้าง 8 เมตร ลึก 2 เมตร    ลึก  1-2  เมตร   ยาวประมาณ 900 เมตรโค้งเป็นรูปครึ่งวงกลมที่บนบริเวณตัวเมืองมีก้อนอิฐก้อนขนาดใหญ่กองอยู่ในลักษณะเป็นฐานโบสถ์และฐานเจดีย์ปรากฏให้เห็นชัดอยู่ 3แห่งในแต่ละแห่งมีพระพุทธรูปหินทรายตั้งอยู่มีใบเสมาหินขนาดใหญ่    นอกจากนั้นยังพบเครื่องมือเครื่องใช้เช่น โอ่ง  ไห  ด้วย โถ โอชาม  ซึ่งเป็นเครื่องบนดินเผาและเครื่องมือหินเป็นต้น อยู่  เกลื่อนทั่วไปในตัวเมืองเป็นจำนวนมาก ส่วนลักษณะของป้อมและหอรบจะมีอยู่ตามแนวกำแพงดินเป็นระยะใหญ่ เล็กสลับกันไปตรงไหนเป็นประตูเมืองจะมีป้อมใหญ่อยู่สองข้างและบางแห่งจะมีป้อมอีกอันหนึ่งอยูในแนวตรงกลางประตูแต่ถอย  ถัดเข้าไปข้างในเมืองเป็น 3 จุด  เหมือนก้อนเส้าในด้านทางทิศตะวันตกได้ใช้แม่น้ำลาวห่างเป็นคูเมืองส่วนหนึ่ง และมีประตูเมืองลงสู่แม่น้ำด้วยประตูเมืองมีอยู่ทั้ง 4  ทิศ ขึ้นไปยืนอยู่บนเนินกองอิฐขนาดใหญ่อันเป็นฐานเจดีย์ซึ่งเป็นสถานที่สูงกว่าที่อื่นในเมืองนี้แล้วมองไปโดยรอบจะเห็นพื้นที่ทุ่งนา บ้านเรือนของประชาชนไปถึง 3 ตำบล คือ ตำบลทุ่งก่อในทางทิศตะวันออกตำบลเวียงชัยในทางทิศใต้ เห็นตำบลเวียงเหนือในทางทิศตะวันตก และทิศเหนือเพราะเมืองนี้ตั้งอยู่ตรงรอยต่อเขตของ 3 ตำบลดังกล่าวแล้ว เมื่อใช้กล้องส่องทางไกลส่องดูโดยรอบจะมองเห็นกว้างไกลออกไปถึงครึ่งหนึ่งของอาณาจักรล้านนาไทย   คือทางทิศตะวันออกจะเห็น   ทุ่นนาและหมู่บ้านห้วยเคียน บ้านดงป่าสักซึ่งห่างประมาณ 4-5 กิโลเมตร และเห็นดอยพระบาททุ่งก่อ ชึ่งอยู่เป็นฉากหลัก  ถัดออกไปหลายกิโลเมตรเด่นชัดและสวยงามมากเมื่อมองไปทางทิศใต้จะเห็นทุ่งนาและหมู่บ้านร่องบัวทองบ้านเวียงแก้ว   บ้านวังทอง   บ้านวังช้าง  บ้านเมืองชุม ตำบลเวียงชัยซึ่งเห็นเรียงรายออกไป 5-10 ก.ม.และถ้ามองเลยไกลออกไปก็จะเห็นดอยปุยในเขตอำเภอเมืองและดอยหัวง้มในเขตอำเภอพานซึ่งไกลออกไปหลายสิบกิโลเมตรมองไปทางทิศตะวันตกจะเห็นทุ่งนากว้างไกล และหมู่บ้านต่างๆ เช่น บ้านเวียงเดิม บ้านสันสลิด บ้านราษฏร์เจริญ บ้านเวียงเหนือ ตำบลเวียงเหนือ  อำเภอเวียงชัย เห็นไกลออกไปถึงเขตอำเภอเมืองเชียงราย เห็นดอยสะเก็น  ดอยพระบาท สนามบิน พระธาตุดอยเขาควาย   พระธาตุดอยจอมสัก  เห็นดอยตุ๊ปู่ มหาวิทยาลัยราชภัฎเชียงราย เห็นดอยกิ่วทัพยั้งและดอยอื่น ๆ ในอำเภอแม่จัน และเห็นเทือกเขาดอยนางนอน ดอยตุงและบางวันที่มีอากาศแจ่มใสจะเห็นทางขึ้นดอยตุงในเขตอำเภอแม่สายสุดเขตแดนประเทศไทย

         ทัศนียภาพที่มองเห็นไกลโดยรอบความสงบที่ห่างไกลจากถนนใหญ่และหมู่บ้านโดยรอบประมาณ 1,500 เมตร  ประกอบกับเป็นเนินสูงที่ตั้งอยู่กลางทุ่งกว้างทำให้มีลมพัดผ่านตลอดเวลาอากาศจึงไม่ร้อนรู้สึกเย็นพอสบายอยู่ตลอดวันถึงเวลากลางคืนจะเย็นมากขึ้นและเงียบสงัดจึงทำให้ผู้ที่ไปพักอยู่สำนักสงฆ์แห่งนี้รู้สึกจิตใจสงบเยือกเย็นจึงเป็นสถานที่เหมาะสมที่จะบำเพ็ญบุญสร้างบารมีตามแนวทางที่องค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าที่ได้ทรงตรัสชี้แนวทางให้นับเวลาย้อนหลังไปจากนี้ประมาณ 20 ปี (ถอยหลังตั้งแต่ปี 2524 เป็นต้นไป) เวียงฮุ่งหรือเวียงเชียงรุ้งเป็นดงหนาป่าไม้ทึบต้นยางสูงลิบลิ่วมองเห็นได้ที่ไกล ๆนับสิบกิโลเมตร มีสัตว์ป่านานาชนิดนกหลายชนิดตลอดจนนก แร้งตัวโตก็มีเป็นฝูงใหญ่ร้อย ๆ ตัว สถานที่แห่งนี้เป็นที่หวาดกลัวและเกรงขามของคนทั้งหลายในละแวกนั้นถ้าไม่มีกิจธุระสำคัญหรือว่าจำเป็นจริงๆจะไม่มีผู้ใดกล้าย่างกรายหรือพูดล้อเล่นกันในทางที่ไม่สมควรก็จะอันเป็นไปต่างๆนานา  กลับมาถึงบ้านเป็นไข้หัวโกร๋นและตายไปมาก แม้แต่การไปหาและจับปลาในคูเมืองร่องลึกก็จะต้องมีการบนบาลศาลกล่าวให้เป็นกิจจะลักษณะเสียก่อนจึงจะทำได้  เมื่อถึงคืนวันเพ็ญ วันพระบางครั้งก็จะเห็นลำแสงประหลาดคล้ายโคมไฟ  บางครั้งมีลำแสงวิ่งไปมา เหมือนผีพุ่งใต้เดินทางไปมาระหว่างเวียงเชียงรุ้งกับดอยพระบาททุ่งก่อในวันพระบางครั้งจะใด้ยินเสียงสวดมนต์ดังแว่วออกมาอย่างชัดเจนบางทีก็มีเสียงฆ้อง เสียงกลอง เหมือนมีการทำบุญ เมื่อสร้างเป็นสำนักสงฆ์แล้ว ก็มีเกิดขึ้นอยู่อีกและได้มีการบันทึกเหตุการณ์ไว้มากถึง20เรื่อง หลักฐานต่างๆที่นักประวัติศาสตร์และวรรณคดีใช้ประกอบการศึกษาตามที่ทราบกัน นอกจากตำราที่มีผู้เขียนไว้ให้อ่านแล้ว ก็มีโบราณวัตถุต่างๆ เช่น เครื่องมือ เครื่องใช้ หิน อิฐ กระดูก สัมฤทธิ์เหล็ก ทองแดง โลหะอื่นๆ ตลอดจนเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น อันเป็นรูปธรรมทั้งนักศึกษาและผู้เชี่ยวชาญทั้งหลายได้อาศัยจากรูปธรรมเหล่านี้ชึ่งเป็นหลักฐานทางประวัติศาสตร์มาประกอบกับเครื่องมือทางวิทยาศาสตร์สมัยใหม่คำนวณยุคคำนวณสมัยประมาณอายุว่า ยุคหิน ยุคสัมฤทธิ์ ทองแดง เหล็กและอื่นๆ  ตลอดจนเครื่องปั้นดินเผา เป็นต้น

          เมืองโบราณแห่งนี้  ทางกรมศิลปากรได้ทำการสำรวจจัดทำแผนที่เขตโบราณสถานไว้แล้ว นอกจากซากกองอิฐที่เป็นฐานเจดีย์และพระอุโบสถ 2 แห่ง พระพุทธรูปหินทราย 3 องค์ ใบสมาหินทรายขนาดใหญ่3ใบแล้ว ยังมีเครื่องมือเครื่องใช้ของคนโบราณหลายยุคทั้งที่เป็นหินดินเผา เหล็ก และเป็นสัมฤทธิ์ โดยเฉพาะโครงกระดูกสัตว์โบราณอันเป็นสิ่งแสดงว่าเมืองนี้มีอายุยาวนาน สร้างขึ้นใหม่อีกหลายครั้ง ยังมีหลายสิ่งบ่งบอกให้ทราบว่าในยุคก่อนเมืองนี้เคยเจริญรุ่งเรืองและเสื่อมไปหลายยุคหลายสมัย มาถึงยุคนี้ก็กำลังจะทำการฟื้นฟูพัฒนาขึ้นมาอีกครั้ง จะเห็นได้ว่ามีหลายคนที่อยู่ไกลแสนไกลต่างจังหวัดต่างประเทศก็มีสิ่งดลใจให้ดั้งด้นมานมัสการเยี่ยมชมเมืองโบราณนี้นับว่าเป็นเรื่องประหลาดมาก

          เนื่องจากเมืองโบราณเมืองเชียงรุ้งมีประวัติ  ความเป็นมาอันยาวนาน  ผ่านมาหลายยุคหลายสมัยจึงไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าถูกสร้างขึ้นสมัยใด แต่มีนักประวัติศาสตร์ล้านนาไทยหลายท่านว่าอาจจะมีการสร้างขึ้นในสมัยพ่อขุนเม็งรายมหาราชเจ้าผู้ครองนครในอดีต โดยเหตุที่มีสภาพภูมิประเทศเป็นเนินสูงและตั้งอยู่กลางทุ่งกว้าง มีความสงบเงียบ จึงเป็นสถานที่เหมาะที่จะบำเพ็ญธรรม ทำสมาธิภาวนา หาความสงบสันติ จึงได้เริ่มมีพระสงฆ์เดินทางเข้าไปพำนักในบริเวณเมืองโบราณนี้และได้มีการก่อสร้างที่พักสงฆ์ขึ้น โอกาสนี้ได้มีราษฎรที่มีศรัทธาเลื่อมใสเข้าไปร่วมทำบุญและพัฒนา เช่น ปลูกสร้างสวนป่า เพื่อให้พ้นจากสภาพแห้งแล้ง และใช้จัดตั้งสำนักสงบวิปัสสนากรรมฐานสันติธรรมเวียงเชียงรุ้ง แม้ว่าจะไม่มีพระสงฆ์อยู่ประจำอีกเป็นเวลานานก็ตาม แต่เวียงเชียงรุ้งก็ยังปรากฏหลักฐานทางศาสนาอยู่เป็นอันมากหลงเหลืออยู่ ดังนั้น เพื่อเป็นการอนุรักษ์โบราณสถานแห่งนี้ให้คงอยู่จึงได้มีการขอทำเรื่องยกฐานะเวียงเชียงรุ้งจากวัดร้างให้เป็นวัดที่มีพระสงค์อีกครั้งหนึ่ง ซึ่งต่อมาคณะสงค์จังหวัดเชียงรายได้ออกหนังสอรับรองสภาพวัดใช้โดยมีชื่อว่า "วัดเวียงเชียงรุ้ง"  เมื่อ  1 กันยายน พ.ศ.2531 และกระทรวงศึกษาธิการได้ประกาศยกวัดร้างเป็นวัดมีพระสงค์ไห้มีนามว่า "วัดเวียงเชียงรุ้ง"เมื่อวันที่ 18 มิถุนายน พ.ศ.2535 ปัจจุบันวัดเวียงเชียงรุ้ง ได้รับการขึ้นทะเบียนสถานจากกรมกลปากรแล้วนับว่าเป็นสิ่งที่มีคุณค่ายิ่งแห่งหนึ่งและได้รับให้เป็นโครงการ "วนอุทยานประวัติศาสตร์เวียงเชียงรุ้ง"  เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสเฉลิมพระชนม์พรรษาครบ 5 รอบอีกด้วย

               จากการที่เชียงใหม่ถูกพม่ายึดครองในปี พ.ศ. 2347  พระเจ้ากาวิละได้อพยพผู้คนไปยังลำปาง  ทำให้เชียงใหม่และเชียงรายร้างผู้คน  แต่ประชาชนบางส่วนที่เคยหลบหนีเข้าไปในป่ากลับมาจากตั้งชุมชน ณ หมู่บ้านดงชัยในปัจจุบัน สมัยก่อนนั้นเรียกว่า ดงหนองเขียว ต่อจากนั้นก็มีผู้คนอพยพมาจากถิ่นอื่น เช่น เชียงใหม่ ลำปาง ลำพูน ภาคอีสาน เข้ามาตั้งหมู่บ้านอีกมากมาย   โดยในสมัยก่อนนั้นการคมนาคมไม่สะดวก โดยเฉพาะในฤดูฝนการเดินทางสัญจรไปยังตัวเมืองเชียงราย ถ้าไม่เดินไปก็ต้องไปทางเรือตามลำน้ำกก  จากเดิมตำบลทุ่งก่อขึ้นอยู่กับอำเภอเมืองเชียงราย ต่อมาได้แยกมาสังกัดกิ่งอำเภอเวียงชัย โดยที่มีตำบลทุ่งก่อตำบลเดียว จากการขยายตัวของประชากรและความเจริญของบ้านเมือง ก็มีการแยกตำบลอีก คือ ตำบลป่าซางเมื่อปี พ.ศ.2522 และตำบลดงมหาวัน เมื่อปี พ.ศ.2525 และในวันที่ 1 เมษายน พ.ศ. 2538  กระทรวงมหาดไทยได้ประกาศจัดตั้งกิ่งอำเภอเวียงเชียงรุ้ง  ซึ่งประกอบด้วย 3 ตำบล คือตำบลทุ่งก่อ  ตำบลป่าซาง  ตำบลดงมหาวัน และยกฐานะเป็นอำเภอในปี พ.ศ. 2550

ขอขอบคุณ www.chiangraifocus.com

 

สมัยเชียงแสน

(ระหว่าง พ.ศ. ๑๖๐๐ - ๒๐๘๙)

          พระพุทธรูปสมัยนี้ เป็นของฝีมือช่างไทย ซึ่งได้เข้ามาตั้งภูมิลำเนาอยู่ในประเทศนี้ตั้งแต่โบราณ มีพบทั่วไปในมณฑลพายัพ แต่ที่พบในเมืองเชียงแสนเก่าเป็นชนิดฝีมือช่างดีงามกว่าที่พบในจังหวัดอื่นๆ ทางโบราณคดีจึงใช้คำนี้เป็นชื่อของพระพุทธรูปสมัยนี้ แบ่งออกเป็น ๒ รุ่น คือรุ่นแรกและรุ่นหลัง

(webpage) 2009430_80880.jpg

(chiangsaen) 2009513_84833.jpg

(webpage) 2009430_80899.jpg

          รุ่นแรก เป็นแบบอย่างพระพุทธรูปอินเดีย ครั้งราชวงศ์ปาละซึ่งเจริญในอินเดียระหว่าง พ.ศ. ๑๒๗๓ ถึง พ.ศ.๑๗๔๐ ครั้งนั้นมหาพุทธวิทยาลัยที่เมืองนาลันทะเจริญรุ่งเรือง เป็นสำนักที่นักปราชญ์ต่างประเทศไปมาอยู่เนืองๆ ฝีมือช่างอินเดียครั้งราชวงศ์ปาละจึงได้แพร่หลายไปในนานาประเทศฝ่ายตะวันออก มีประเทศพม่าและชะวาเป็นต้น

(chiangsaen) 2009513_85679.jpg

          ช่างทำพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนรุ่นแรกนี้ ก็คงจะได้แบบอย่างมาจากอินเดียด้วยเหมือนกัน แต่จะได้รับมาตรงจากอินเดีย หรือได้รับต่ิอมาจากประเทศพม่าหรือชะวา ข้อนี้ยังไม่มีหลักฐานแน่นอน แต่อย่างไรก็ดี พระพุทธรูปสมัยนี้ มีลักษณะคล้ายคลึงกับพระพุทธรูปอินเดีย ครั้งราชวงศ์ปาละทุกอย่าง คือพระองค์อวบอ้วน เกตุมาลาเป็นต่อมกลม นั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์มารวิชัย พระอุระนูน ชายสังฆาฏิสั้นอยู่เหนือราวพระถัน พระพักตร์กลมสั้น พระโขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระโอษฐ์เล็ก พระหนุเป็นปม เส้นพระศกใหญ่เป็นต่อมกลมหรือเป็นก้นหอย ไม่มีไรพระศก ฐานมีบัวรอง มีทั้งบัวหงายบัวคว่ำ มีกลีบแซมและมีเกสร         

          มีพระพุทธรูปอีกสกุลหนึ่ง เรียกว่าพระพุทธรูปเมืองนครศรีธรรมราช มีลักษณะเหมือนกับพระพุทธรูปสมัยเชียงแสนรุ่นแรกเกือบทุกอย่าง คือพระเกตุมาลาเป็นต่อม พระอุระนูน ชายสังฆาฏิสั้น เส้นพระศกใหญ่ นั่งขัดสมาธิเพชร พระหัตถ์ในท่ามารวิชัย ไม่มีไรพระศก ต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้น คือ วงพระพักตร์แบนและกว้างกว่า พระโอษฐ์กว้างกว่า ปลายสังฆาฏิใหญ่และมีหลายแฉก ฐานไม่มีบัวรองหรือมีบัวก็เป็นชนิดใหม่ไม่เหมือนกับบัวเชียงแสน ข้อที่พระพุทธรูปเมืองนครศรีธรรมราชเหมือนกับพระพุทธรูปรุ่นแรกนั้น ก็เพราะได้รับแบบอย่างการสร้างพระพุทธรูปมาจากครูเดิมอันเดียวกัน คือครั้งราชวงศ์ปาละ แต่ข้อที่แตกต่างกันเล็กน้อยนั้นก็เพราะพระพุทธรูปเชียงแสนรุ่นแรก เป็นฝีมือช่างไทยเหนือทำตามอย่างพระพุทธรูปอินเดียครั้งราชวงศ์ปาละ ส่วนพระพุทธรูปเมืองนครศรีธรรมราชเป็นฝีมือช่างไทยใต้ทำเจือปนด้วยแบบขอม คือที่มีพระพักตร์และพระโอษฐ์กว้างนั้นเป็นลักษณะของพระพุทธรูปขอม ด้วยเมืองนครศรีธรรมราชอยู่ใกล้และมีทางติดต่อกับเมืองลพบุรีมากกว่าเมืองเชียงแสน พระพุทธรูปแบบนี้ที่เป็นพระนั่งมีปางเดียวเท่านั้น คือปางมารวิชัยขัดสมาธิเพชร

(chiangsaen) 2009513_85268.jpg

          พระพุทธรูปเชียงแสนรุ่นหลัง เป็นของไทยชาวลานนาและลานช้าง ทำตามอย่างพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย มีลักษณะต่างไปจากเชียงแสนชั้นแรกมาก คือทำพระเกตุมาลาเป็นเปลว นั่งขัดสมาธิราบ ชายสังฆาฏิยาว เส้นพระศกละเอียด มีไรพระศก ที่แปลกที่สุดนั้นก็คือเกตุมาลาเป็นเปลว พระพุทธรูปตั้งแต่สมัยทวารวดีมาจนถึงสมัยเชียงแสนชั้นแรกทำพระเกตุมาลาสั้นทั้งนั้น เพิ่งจะมีเกตุมาลายาวเกิดขึ้นในสมัยสุโขทัย อันได้รับแบบอย่างมาจากพวกลังกา พระสมัยเชียงแสนชั้นหลังนี้เอาอย่างมาจากสุโขทัยอีกต่อหนึ่ง

          พระพุทธรูปสมัยนี้ มีพระนั่งเป็นส่วนมาก พระยืนมีน้อยและสร้างด้วยโลหะเป็นพื้น ชั้นแรกตั้งแต่ราว พ.ศ. ๑๖๐๐ ถึง พ.ศ. ๑๘๐๐ ชั้นหลังตั้งแต่ พ.ศ. ๑๘๐๐ ถึง พ.ศ. ๒๔๘๙ คือถึงปีที่พระไชยเชษฐากลับจากเชียงใหม่ไปครองกรุงศรีสัตนาคนหุตลานช้าง อันมีเมืองเวียงจันทน์เป็นราชธานี เพราะตั้งแต่นี้ศิลปการทำพระพุทธรูปในลานนาประเทศเสื่อมลง มีแต่พระพุทธรูปฝีมือช่างเลวๆเป็นพื้น อันไม่ควรนับเข้าถึงชั้นศิลป

          พระพุทธรูปสมัยนี้ทั้งรุ่นแรกและรุ่นหลังที่ได้พบแล้ว ทำเป็นปางต่างๆ ๖ ปาง คือ

       ๑. ปางมารวิชัย ขัดสมาธิเพชร (รุ่นแรก) และขัดสมาธิราบ (รุ่นหลัง) ทำด้วยโลหะและปูนปั้น

       ๒. ปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ (รุ่นหลัง) มีน้อย ทำด้วยโลหะ

       ๓. ปางอุ้มบาตร์ (รุ่นหลัง) ทำด้วยโลหะ

       ๔. ปางกดรอยพระพุทธบาท (รุ่นหลัง) ทำด้วยโลหะ

       ๕. ปางไสยา (รุ่นหลัง) ทำด้วยโลหะและปูนปั้น

       ๖. ปางนั่งห้อยพระบาท (รุ่นหลัง) ทำด้วยโลหะ

สมัยสุโขทัย

(ระหว่าง พ.ศ. ๑๘๐๐ - ๑๘๙๓)

(webpage) 2009430_76595.jpg

          พระพุทธรูปสมัยนี้ เป็นฝีมือช่างไทยสมัยเมื่อกรุงสุโขทัยเป็นราชธานี หรือสมัยราชวงศ์พระร่วงครองกรุงสุโขทัย ในสมัยนี้ได้รับพระพุทธศาสนาอย่างลังกาวงศ์เข้ามาประพฤติปฏิบัติในประเทศนี้ เพราะเวลานั้นพระพุทธศาสนาในลังกาทวีปกำลังเจริญรุ่งเรือง พระสงฆ์ลังกาในครั้งนั้นทรงพระธรรมวินัยรอบรู้พุทธวจนะวิเศษกว่าพระสงฆ์ประเทศอื่นๆ เป็นเหตุให้พระสงฆ์ไทย มอญ พม่า และเขมร พากันไปศึกษาพระศาสนาในลังกาทวีปเป็นอันมาก เมื่อพระสงฆ์ไทยกลับมายังได้ชักชวนพระสงฆ์ชาวลังกามาอยู่ในประเทศนี้ด้วย ชั้นแรกมาอยู่ทางเมืองนครศรีธรรมราช แล้วภายหลังขึ้นไปตั้งสำนักอยู่ในกรุงสุโขทัย และต่อไปจนถึงเชียงใหม่ ชาวประเทศนี้จึงได้รับแบบอย่างเจดีย์ลังกามาสร้างกันแพร่หลายตั้งแต่สมัยนั้น รวมทั้งแบบอย่างพระพุทธรูปด้วย ข้อนี้มีหลักฐาน ด้วยพระพุทธรูปโบราณในประเทศนี้ ตั้งแต่ก่อนลังกาวงศ์เข้ามา ไม่มีทำเกตุมาลายาวเป็นเปลวเลย เพิ่งมีขึ้นในสมัยนี้เป็นครั้งแรก พระพุทธรูปที่มีเกตุมาลาเป็นเปลวนั้น เป็นแบบอย่างช่างลังกาเป็นผู้คิดขึ้นก่อน แปลกกว่าแบบอย่างพระพุทธรูปในประเทศอื่น

(sukothai) 2009514_1830.jpg

พระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ทำเป็น ๓ ยุค

       ยุคแรก มักทำวงพระพักตร์กลมตามแบบพระพุทธรูปลังกา เช่นพระอัฏฐารสในวิหารวัดสระเกศบัดนี้ ซึ่งนำมาจากวัดวิหารทอง จังหวัดพิษณุโลก เป็นต้น

       ยุคกลาง เมื่อฝีมือช่างเชี่ยวชาญขึ้น คิดแบบขึ้นใหม่ทำวงพระพักตร์ยาว พระหนุเสี้ยม เช่น พระร่วงที่พระปฐมเจดีย์และพระสุรภีพุทธพิมพ์ในพระอุโบสถวัดปรินายก พระพุทธรูปตามแบบยุคที่ ๒ นี้มีมากกว่ายุคแรก

       ยุคที่ ๓ หรือยุคหลังเห็นจะเป็นในรัชกาลพระมหาธรรมราชาลิไทย ซึ่งในตำนานกล่าวว่าเอาเป็นพระธุระบำรุงกิจในพระพุทธศาสนายิ่งกว่ารัชกาลก่อนๆให้เสาะหาช่างที่ฝีมือดี ทั้งในฝ่ายเหนือและฝ่ายใต้มาประชุมปรึกษากัน ทรงสอบสวนหาหลักฐานพุทธลักษณะในคัมภีร์พระไตรปิฎกประกอบ คิดสร้างพระพุทธรูปเพื่อจะให้วิเศษที่สุดที่จะทำได้ จึงเกิดพระพุทธรูปแบบสุโขทัยขึ้นอีกอย่างหนึ่ง เช่น พระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ ทำวงพระพักตร์รูปไข่ หรือทำนองผลมะตูมคล้ายแบบอินเดียเดิมแต่งามยิ่งนัก และแก้ไขพุทธลักษณะที่แห่งอื่นไปตามตำรา เช่นทำปลายนิ้วพระหัตถ์ยาวเสมอกันทั้ง ๔ นิ้วเป็นต้น พระพุทธรูปแบบนี้ทำกันแพร่หลายขึ้นไปจนข้างเหนือและลงมาข้างใต้ แต่ที่ทำได้งามเหมือนพระพุทธชินราชและพระพุทธชินสีห์ซึ่งเป็นต้นตำรานั้นมีน้อย

ลักษณะพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย

          พระพุทธรูปสมัยนี้ทำเกตุมาลายาว เส้นพระศกขมวดก้นหอย โดยมากไม่มีไรพระศก พระโขนงโก่ง พระนาสิกงุ้ม พระหนุเสี้ยม หัวพระถันโปน สังฆาฏิยาว มักมีปลายเป็น ๒ แฉกย่น ขัดสมาธิราบ ฐานเป็นฐานหน้ากระดานเกลี้ยงเป็นพื้น ตอนกลางแอ่นเข้าไปข้างใน ผิดกับฐานเชียงแสนซึ่งโค้งออกมาข้างนอก ไม่ใคร่ทำบัว ถ้ามีบัวก็เป็นบัวหงายบัวคว่ำชนิดบัวฐานพระพุทธชินราช ทำเป็นปางต่างๆตามพระอิริยาบถ คือ

       ๑. ปางไสยา ทำทั้งด้วยโลหะและปูนปั้น

       ๒. ปางลีลา ทำด้วยศิลา โลหะและปูนปั้น

       ๓. ปางประทานอภัย มีทั้งยกพระหัตถ์ข้างเดียวและสองข้าง ทำด้วยโลหะและปูนปั้น

       ๔. ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ ทำด้วยโลหะและปูนปั้น

       ๕. ปางถวายเนตร ทำด้วยโลหะ

       ๖. ปางสมาธิ ทำด้วยโลหะ ปางนี้มีน้อยทำแต่มารวิชัยเป็นพื้น

สมัยอู่ทอง

( พ.ศ. ๑๗๐๐ - ๒๐๐๐ )

          พระพุทธรูปสมัยนี้ ได้รับอิทธิพลศิลปผสมผสานกันระหว่างศิลปร่วม ๓ รูปแบบ ได้แก่ ศิลปทวารวดี ศิลปขอมหรือลพบุรี และศิลปสุโขทัย ดังนั้น พระพุทธรูปสมัยนี้ จึงจัดออกได้ตามอิทธิพลศิลปเป็น ๓ แบบ คือ

       ๑. อิทธิพลศิลปทวารวดี และขอม ผสมกัน ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๗ - ๑๘

       ๒. อิทธิพลศิลปขอมหรือลพบุรีมากขึ้น ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐ นักโบราณคดีเรียกว่า "อู่ทองหน้าแก่"                 

(webpage) 2009430_78948.jpg

(webpage) 2009430_78979.jpg

        ๓. อิทธิพลศิลปสุโขทัยเข้ามาปะปน ราวพุทธศตวรรษที่ ๑๙ - ๒๐ นักโบราณคดีเรียกว่า "อู่ทองหน้าหนุ่ม"

ลักษณะพระพุทธรูปสมัยอู่ทอง

          พระพุทธรูปสมัยอู่ทองมีลักษณะงดงามและกล้าหาญอย่างนักรบ เข้มแข็งดูน่าเกรงขาม พระวรกายสูงชะลูด พระเศียรมีสัณฐานรูปคล้ายบาตรคว่ำ พระเกศาเป็นหนามขนุนละเอียดกว่าสมัยสุโขทัยมาก มีไรพระศกเป็นกรอบรอบวงพระพักตร์ พระพักตร์แบน พระหนุกว้างเป็นรูปคางคน พระเกตุมาลาเป็นเปลวบ้าง เป็นแบบฝาชีครอบบ้าง พระนลาตกว้าง สังฆาฏิสั้นเหนือพระถันคล้ายสมัยเชียงแสนสิงห์หนึ่งก็มี ส่วนใหญ่สังฆาฏิจะแบนยาวลงมาจรดพระนาภี ปลายสังฆาฏิตัดตรงก็มี เฉียงก็มี เป็นแฉกเขี้ยวตะขาบก็มี มีขอบอันตรวาสก(สะบง)ชัดเจน นั่งขัดสมาธิราบเป็นส่วนใหญ่หรือขัดสมาธิฺเพชรก็มี(มีน้อย) ปางมารวิชัยหรือปางสมาธิ(มีน้อย) ฐานเป็นแบบหน้ากระดาน ๑ - ๒ ชั้นมีสันเกลี้ยงแอ่นเข้าข้างใน และมีทั้งฐานบัวคว่ำบัวหงาย หรือบัวหงายอย่างเดียวอีกด้วย 

สมัยศรีอยุธยา

(ระหว่าง พ.ศ. ๑๘๙๓ - ๒๓๒๕)

          พระพุทธรูปสมัยนี้ เป็นของช่างฝีมือช่างไทยครั้งสมัยพระนครศรีอยุธยาเป็นราชธานี ทำแบบอย่างต่างกันเป็น ๒ ยุค ยุคแรกนิยมทำตามแบบขอม แต่เอาอย่างขอมเฉพาะวงพระพักตร์เท่านั้น ยุคนี้เรียกว่าฝีมือช่างสมัยอู่ทอง นับเวลาตั้งแต่ก่อนสร้างกรุงศรีอยุธยามาจนถึงแผ่นดินพระบรมไตรโลกนารถ (พ.ศ. ๒๐๓๑)

          ลักษณะ เกตุมาลายาว เส้นพระศกละเอียด มีไรพระศกเป็นกรอบรอบวงพระพักตร์ พระหนุป้านเป็นรูปคางคน สังฆาฏิยาว ชายอันตรวาสกข้างบนเป็นสัน ขัดสมาธิราบ ฐานหน้ากระดานเป็นร่องและแอ่นเข้าไปข้างใน ลักษณะเหมือนกันทั้งนั้น ต่างแต่ในชั้นหลังมาทำพระพักตร์ยาวกว่าชั้นก่อนเท่านั้น

          ยุคหลังตั้งแต่แผ่นดินสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๒ (พ.ศ. ๒๐๓๔ จน พ.ศ. ๒๓๒๕) ลักษณะ ทำวงพระพักตร์และเกตุมาลาตามแบบอย่างสมัยสุโขทัยทั้งนั้น ต่างแต่โดยมากมีไรพระศก และสังฆาฏิใหญ่ กับถ้าทรงเครื่อง เกตุมาลาทำเป็นอย่างก้นหอยหลายๆชั้นบ้าง เป็นอย่างมงกุฎเทวรูปแบบสมัยลพบุรีบ้างเท่านั้น ทำเป็นปางต่างๆ ดังนี้คือ

       ๑. ปางไสยา ทำด้วยโลหะและปูนปั้น

       ๒. ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ และสมาธิเพชร(แต่มีน้อย) ทำด้วยศิลา โลหะ และปูนปั้น

       ๓. ปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ ทำด้วยศิลา โลหะ และปูนปั้น

       ๔. ปางประทานอภัย มีทั้งอย่างยกพระหัตถ์ข้างเดียวและสองข้าง ทำด้วยโลหะ

       ๕. ปางปาลิไลยกะ ทำด้วยโลหะและปูนปั้น

       ๖. ปางลีลา ทำด้วยโลหะ

สมัยรัตนโกสินทร์

( ตั้งแต่ พ.ศ. ๒๓๒๕ ลงมา )

          พระพุทธรูปสมัยนี้ แบบอย่างเป็นลักษณะพระพุทธรูปสมัยสุโขทัยและศรีอยุธยาผสมกัน ต่างแต่เกตุมาลาสูงกว่าสมัยสุโขทัยและอยุธยา กับเส้นพระศกละเอียดกว่า ขนาดเล็กชอบทำตามอย่างสมัยเชียงแสน แต่มักจะผสมกันไม่เหมือนลักษณะของพระพุทธรูปเชียงแสนแท้

          ในรัชกาลที่ ๑ มิใคร่จะได้สร้างพระพุทธรูปขึ้นใหม่ เพราะทรงพระราชศรัทธาให้เชิญพระพุทธรูปโบราณ ซึ่งทิ้งทรุดโทรมอยู่ที่เมืองเหนือมาบูรณะปฏิสังขรณ์ตั้ง ๑๒๐๐ องค์เศษ พระพุทธรูปที่เป็นพระประธานอยู่ในวัดสำคัญๆในกรุงเทพฯ จึงเป็นพระเก่าสมัยอื่นซึ่งเชิญมาจากที่อื่นเป็นพื้น มีพระพุทธรูปทรงสร้างในรัชกาลที่ ๑ มีลักษณะงามดีอยู่องค์หนึ่งคือพระคันธารราฐ ซึ่งตั้งในพระราชพิธีแรกนาและขอฝนอยู่จนทุกวันนี้ กับพระประธานในวัดมหาธาตุเป็นพระปั้นในรัชกาลที่ ๑ เป็นแบบอย่างที่นับว่าลักษณะงาม มีพระพุทธรูปซึ่งสร้างขึ้นในรัชกาลที่ ๒ ที่ ๓ ที่ ๔ ที่ ๕ และที่ ๖ อีกหลายองค์ ลักษณะเป็นพระแบบสมัยอยุธยาและสุโขทัยผสมกันดังกล่าวแล้ว

          พระพุทธรูปสมัยนี้ ทำเป็นปางต่างๆ คือ

       ๑. ปางมารวิชัย ขัดสมาธิราบ ทำทั้งด้วยโลหะและปูนปั้น

       ๒. ปางสมาธิ ขัดสมาธิราบ ทำทั้งด้วยศิลาและปูนปั้น

       ๓. ปางประทานอภัย มีทั้งยกพระหัตถ์ข้างเดียวและสองข้าง ทำด้วยโลหะและปูนปั้น

       ๔. ปางไสยา ทำทั้งด้วยโลหะและปูนปั้น

       ๕. ปางขอฝน ทำด้วยโลหะ

          ปางต่างๆที่กล่าวนี้ เป็นพระขนาดใหญ่ทั้งนั้น ขนาดเล็กยังมีปางอื่นๆทำตามพุทธอิริยาบถในเรื่องพุทธประวัติอีกมากมายผสมกับปางเก่าและปางใหม่ที่คิดขึ้นในรัชกาลที่ ๓ ถึง ๔๐ ปาง แต่ลักษณะคงเป็นอย่างเดียวกันทั้งนั้น (อยากทราบว่ามีปางอะไรบ้าง จงดูหนังสือตำนานพุทธเจดีย์สยาม ของสมเด็จพระเจ้าบรมวงศเธอ กรมพระยาดำรงราชานุภาพ พิมพ์เมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๙ นั้นเถิด)

          ในสมัยรัชกาลที่ ๓ นี้เอง พระพุทธศาสนาเจริญรุ่งเรืองถึงขีดสุด พระองค์ทรงเป็นผู้ิเริ่มสร้างพระพุทธรูปทรงเครื่องปางห้ามสมุทรทรงเครื่องใหญ่อย่างกษัตริย์ซึ่งได้รับอิทธิพลศิลปมาจากสมัยอยุธยาตอนปลาย มีการประดับกระจกหรืออัญมณีสีต่างๆลงในศิราภรณ์เป็นประกายแวววับ

(webpage) 200957_66462.jpg

          ในสมัยนี้ยังสร้างพระพุทธรูปแบบจีวรดอก คือทำจีวรให้มีลวดลายดอกดวงเพื่อความงดงามแทนจีวรแบบธรรมดา รวมทั้งมีการลงรักชาดและปิดทองอีกด้วย

          ในสมัยรัชกาลที่ ๔ ทรงโปรดให้ปรับปรุงการสร้างพระพุทธรูปให้มีลักษณะคล้ายมนุษย์สามัญมากขึ้น เช่น ไม่มีพระเกตุมาลา และทำจีวรเป็นริ้วอย่างของจริง

          ในสมัยรัชกาลที่ ๕ โปรดให้แก้ไขพุทธลักษณะให้เหมือนมนุษย์สามัญมากขึ้น แต่ยังคงรักษาพุทธลักษณะที่สำคัญๆไว้ เช่น พระเกตุมาลา พระรัศมีแบบเปลว พระเกศาขมวดเป็นปม ใบพระกรรณยาว คล้ายกับศิลปแบบพระพุทธรูปคันธารราฐ         

          ในสมัยรัชกาลที่ ๙ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงมีพระประสงค์ที่จะเฉลิมฉลอง ๒๕ พุทธศตวรรษ ทรงโปรดให้สร้างพระพุทธรูปในรัชกาลของพระองค์ โดยมอบหมายให้ศาสตราจารย์ศิลป์ พีระศรี เป็นผู้ออกแบบพระพุทธรูปปางลีลาคล้ายสมัยสุโขทัยแต่มีลักษณะของมนุษย์สามัญยิ่งขึ้นประดิษฐานไว้ ณ พุทธมณฑล ตำบลศาลายา อำเภอพุทธมณฑล จังหวัดนครปฐม

วันจันทร์ที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2553

ประวัติศาสตร์ประเทศลาว

ประวัติศาสตร์ประเทศลาว

เราสามารถแบ่งประวัติศาสตร์ประเทศลาวออกง่ายๆ เป็น   3   ช่วง
ยุคตำนานนิทาน
ประวัติศาสตร์ ที่อยู่ตามนิทานตำนาน คำบอกเล่า เริ่มก่อนยุคขุนบรม
ยุครวมชาติก่อตั้งเมือง สมัยขุนบรม ถึง ก่อนเปลี่ยนการปกครอง
ยุคสมัยใหม่ หลังเปลี่ยนการปกครอง
การแบ่งแบบนี้เป็นแบบที่ผมสนใจ ไม่ได้อ้างอิงตำราเล่มไหนทั้งสิ้น

ประวัติศาสตร์ยุคแรกๆ ของลาว เชื่อว่าอยู่ภายใต้การครอบครองของอาณาจักรน่านเจ้ามีตำนานโดยขุนบรม และขุนลอ มีลูกสืบหลานต่อๆ กันมา จนถึงรัชสมัยพระเจ้าฟ้างุ้มผู้รวบรวมอาณาจักรล้านช้างได้เป็นผลสำเร็จในช่วงสมัยพุทธศตวรรษที่ 19 และมีกษัตริย์ปกครองสืบทอดต่อกันมาหลายพระองค์ ที่สำคัญ เช่น

พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช พระองค์มีความสัมพันธไมตรีที่แนบแน่นกับกษัตริย์ไทย โดยเฉพาะในรัชสมัยสมเด็จพระมหาจักรพรรดิ

พระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช รัชสมัยของพระองค์นับเป็นยุคทองของราชอาณาจักรล้านช้าง ภายหลังเมื่อพระองค์สวรรคตแล้ว เชื้อพระวงศ์ลาวต่างก็แก่งแย่งราชสมบัติกัน จนอาณาจักรล้านช้างแตกแยกเป็น 3 ส่วนคือ อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์และอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์ ต่างเป็นอิสระไม่ขึ้นแก่กัน และเพื่อชิงความเป็นใหญ่ต่างก็ขอสวามิภักดิ์ต่อเมืองเพื่อนบ้านเช่นไทย พม่า เพื่อขอกำลังมาสยบอาณาจักรลาวด้วยกัน ใน ในลักษณะนี้ในที่สุดอาณาจักรลาวทั้ง 3 แห่งนี้จะตกเป็นเมืองขึ้นของอาณาจักรสยามในปี พ.ศ. 2321

พ.ศ. 2369 อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์มีพระเจ้าอนุวงศ์เป็นกษัตริย์ ได้รับราชการกับรัชกาลที่สองมีความชอบมาก จึงประทานเมืองจำปาสักให้ราชบุตรเจ้าอนุวงศ์ปกครอง ต่อมารัชกาลที่สองสวรรคต เจ้าอนุวงศ์เห็นว่าเป็นช่วงเปลี่ยนแผ่นดินจึงคิดตั้งตัวเป็นใหญ่ถึงกับคิดจะยึดไทยเป็นเมืองขึ้น และถึงทำไม่ได้ก็จะทำลายกรุงเทพฯและกวาดต้อนไพร่ไทยกลับลาว จึงขอความช่วยเหลือจากหลวงพระบาง แต่ไม่ได้รับคำตอบรับ จึงยกทัพมารวมพลกับลูกชายเจ้าเมืองจำปาสักและบังคับเจ้าเมืองบางคนในภาคอีสานให้มาช่วยโจมตีไทย แต่อุปราชของเจ้าอนุวงศ์ยังคงภักดีต่อไทย จึงลอบส่งข่าวไปบอกให้รัฐบาลไทยทราบ ระหว่างนั้นทัพลาวเดินทางมาตีเมืองโคราชสำเร็จ เจ้าอนุวงศ์จึงให้กวาดต้อนชาวไทยในเมืองไปไว้ที่เวียงจันทน์ แต่ระหว่างที่กองทัพลาวพักไพร่พลและเชลยชาวเมืองนครราชสีมาอยู่ที่ทุ่งสัมฤทธิ์นั้น ท้าวสุรนารีหรือย่าโม ได้นำครัวเรือนชาวนครราชสีมาได้ลุกฮือต่อต้านกองทัพเจ้าอนุวงศ์ พร้อมทั้งพระยาภักดีชุมพล (แล)เจ้าเมืองชัยภูมิและเจ้าเมืองอีสานที่ภักดีต่อไทยได้รวมกำลังกันต่อต้านกองทัพลาวจนแตกพ่ายไป ฝ่ายไทยรู้ข่าวจึงส่งกองทัพนำโดย กรมพระราชวังบวรมหาศักดิพลเสพย์ และ เจ้าพระยาบดินทรเดชา (สิงห์ สิงหเสนี)มาปราบเจ้าอนุวงศ์ พระเจ้าอนุวงศ์ทรงสู้ไม่ได้จึงจำต้องหลบหนีขอสวามิภักดิ์ต่อเวียดนาม ภายหลังจึงกลับมาลาวเพื่อวางแผนชิงความเป็นใหญ่อีกครั้ง แต่รบแพ้ซ้ำแล้วซ้ำอีก ทั้งชาวลาวจำนวนมากรวมทั้งลาวหลวงพระบางก็เข้าด้วยไทย ในที่สุดพระเจ้าอนุวงศ ์จึงทรงพ่ายแพ้ย่อยยับและต้องหลบหนีอีก แต่ถูกเจ้าน้อยเมืองเชียงขวางเจ้าลาวคนหนึ่งจับตัวได้และส่งไปยังกรุงเทพ และถูกคุมขังจนสิ้นพระชนม์ที่กรุงเทพนั้นเอง กษัตริย์อันนัมของเวียดนามทรงพิโรธที่เจ้าน้อยทรยศต่อเจ้าอนุวงศ์ซึ่งสวามิภักดิ์ต่อตนแล้ว จึงส่งกองทัพไปจับเจ้าน้อยเมืองเชียงขวางมาประหาร และรวมเมืองเชียงขวางเป็นส่วนหนึ่งของเวียดนามเรียกว่ามณฑลตรัณณินห์ นำมาสู่สงครามไทย-ญวณซึ่งสืบต่อมาอีกหลายปี ในศึกครั้งนี้รัชกาลที่สามทรงพิโรธที่เจ้าอนุวงศ์กำเริบมาตีไทย จึงสั่งให้ทำลายเมืองเวียงจันเสียเหลือเพียงหอพระแก้ววัดสีสะเกด สร้างความสูญเสียให้ชาว ลาว และให้กวาดต้อนคนเวียงจันทน์มาอยู่ไทย นับแต่นั้นเมืองเวียงจันทน์ก็เป็นเมืองร้างอยู่อีกเนิ่นนาน พระเจ้าอนุวงศ์ ทรงได้ชื่อว่า เป็น มหาวีรบุรุษของชาติลาว ที่ทรงพยายามที่จะทำให้ ลาวได้รับ อิสรภาพ ปัจจุบัน ชาวโลก ต่างให้การยอมรับ และยกย่องพระเจ้าอนุวงศ์ เป็นอย่างมาก

ครั้นถึงพุทธศตวรรษที่ 25 ดินแดนลาวทั้งหมดก็เปลี่ยนไปตกอยู่ภายใต้อิทธิพลของ ประเทศฝรั่งเศส จากการใช่เล่ห์เหลี่ยมของโอกุสต์ ปาวี กงสุลฝรั่งเศส โดยการใช้เรือรบมาปิดอ่าวไทยเพื่อบังคับให้ยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง รวมทั้งดินแดนอื่น ๆ ลาวถูกรวมเข้าเป็นอินโดจีนของฝรั่งเศส เมื่อ พ.ศ. 2436

ในช่วงสงครามโลกครั้งที่ 2 กองทัพญี่ปุ่นได้รุกเข้ามาในลาวและดินแดนอินโดจีนฝรั่งเศสอื่นๆ เมื่อญี่ปุ่นใกล้แพ้สงคราม ขบวนการลาวอิสระซึ่งเคลื่อนไหวทางการเมืองเพื่อกู้เอกราชลาวในเวลานั้นประกาศเอกราชให้ประเทศลาวเป็นประเทศ ราชอาณาจักรลาว หลังญี่ปุ่นแพ้สงคราม ฝรั่งเศสก็กลับเข้ามามีอำนาจในอินโดจีนอีกครั้งหนึ่ง แต่เนื่องจากการที่เวียดมินห์ปลดปล่อยเวียดนามได้ จึงเป็นการสั่นคลอนอำนาจฝรั่งเศสจนยอมให้ลาวประกาศเอกราชบางส่วนในปี พ.ศ. 2492 และได้เอกราชสมบูรณ์ในปี พ.ศ. 2496 ภายหลังฝรั่งเศสรบแพ้เวียดนามที่เดียนเบียนฟู ผู้ที่มีบทบาทในการประกาศเอกราชคือ เจ้าสุวรรณภูมา เจ้าเพชรราช และ เจ้าสุภานุวงศ์ โดยมีเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ ดำรงตำแหน่งเป็นเจ้ามหาชีวิต (พระมหากษัตริย์) จากอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบางเดิม และได้รวมทั้ง 3 อาณาจักรคือ ล้านช้างหลวงพระบาง ล้านช้างเวียงจันทน์ และ ล้านช้างจำปาศักดิ์ เข้าด้วยกันเป็นราชอาณาจักรลาว

พ.ศ. 2502 เจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์เสด็จสวรรคต เจ้าสว่างวัฒนาจึงขึ้นครองราชย์เป็นเจ้ามหาชีวิตแทน เหตุการณ์ในลาวยุ่งยากมาก เจ้าสุภานุวงศ์ 1 ในคณะลาวอิสระประกาศตนว่าเป็นพวกฝ่ายซ้ายนิยมคอมมิวนิสต์ และเป็นหัวหน้าขบวนการปะเทดลาว ได้ออกไปเคลื่อนไหวทางการเมืองในป่า เนื่องจากถูกฝ่ายขวาในลาวคุกคามอย่างหนัก ถึงปี 2504 ร้อยเอกกองแล วีระสาน ทำการรัฐประหาร รัฐบาลเจ้าสุวรรณภูมา แต่ถูกกองทัพฝ่ายขวาและฝ่ายซ้ายรุมจนพ่ายแพ้ กองแลต้องลี้ภัยไปสหรัฐจนถึงปัจจุบัน

เหตุการณ์ทางการเมืองในระยะเวลาไม่นานหลังจากนั้นบังคับให้ลาวต้องตกอยู่ท่ามกลางสงครามอินโดจีนครั้งที่สอง ซึ่งรุนแรงยิ่งกว่าครั้งแรก และเป็นปัจจัยก่อให้เกิดสงครามกลางเมืองและรัฐประหารหลายครั้งด้วยกัน จนถึงปี พ.ศ. 2518 พรรคประชาชนปฏิวัติลาวซึ่งได้รับการสนับสนุนจากสหภาพโซเวียต และคอมมิวนิสต์เวียดนามโดยการนำของ เจ้าสุภานุวงศ์ ก็ล้มล้างรัฐบาลประชาธิปไตยโดยมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุขของเจ้ามหาชีวิตสว่างวัฒนา ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากรัฐบาลฝรั่งเศสและสหรัฐอเมริกาสำเร็จ จึงนำเจ้ามหาชีวิตและมเหสีไปคุมขังในค่ายกักกันจนสิ้นพระชนม์ และสถาปนาประเทศลาวเป็น “สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว” ในวันที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2518

วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553

ใครฆ่าพระเจ้าตาก

247477

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราช (สมเด็จพระรามาธิบดีที่4) กอบกู้ชาติ แต่ทำไมจุดสิ้นสุดของผู้มีคุณูปการของบ้านเมือง ตามที่ประวัติศาสตร์จารึกไว้ น่าสงสารมากล่ะครับ อ่านประวัติศาสตร์แล้วเชื่อตามนั้น จะเป็นยังไงครับ เพื่อนรักคนสนิท หักหลัง แล้วทุบด้วยท่อนจันทน์ แล้วนั่งเมืองแทน ??....

ผมจะเริ่มด้วยบทนำของ "หลวงวิจิตวาทการ" ที่เขียนใน "หนังสือใครฆ่าพระเจ้าตาก" ท่านเขียนว่า

เรื่องต่าง ๆ ที่ประมวลมาเป็น “วิจิตรวรรณกรรม” เล่มนี้ จำเป็นต้องมีคำอธิบายบ้าง เรื่องแรกคือ “ใครฆ่าพระเจ้ากรุงธน” เป็นเรื่องที่ทำให้เกิดความสนใจมากเกินกว่าที่ข้าพเจ้าคาดหมายไว้เมื่อแรก เขียน สำนักงาน”เพลินจิตต์” ได้แจ้งให้ข้าพเจ้าทราบ ในขณะที่เรื่องนี้ลงใน “เพลินจิตต์รายสัปดาห์” ว่ามหาชนได้แสดงความสนใจในเรื่องนี้เป็นอย่างสูง มีจดหมายมากมายหลายฉบับ ถามไปทางสำนักพิมพ์ ว่าเรื่องนี้มีความจริงในประวัติศาสตร์เพียงไร

ยิ่งกว่านั้น เจ้าหน้าที่ทางหอสมุดแห่งชาติเองก็บอกข้าพเจ้าว่า มีผู้ไปสอบถามหลายคน ถึงเรื่องมีผีดุในหอสมุด ว่ามีจริงหรือไม่ และตัวข้าพเจ้าเองก็ถูกถามบ่อย ๆ จากผู้ที่ได้พบปะ ว่าเรื่อง “ใครฆ่าพระเจ้ากรุงธน” นั้น เขียนเล่นหรือเขียนจริง

ข้าพเจ้าไม่รู้จะทำอย่างไร การที่จะตอบว่าเรื่องนี้มีความจริงในประวัติศาสตร์เพียงไรก็ดี หรือที่จะตอบว่า ข้าพเจ้าเขียนเล่นหรือเขียนจริงก็ดี เป็นเรื่องที่**ตอบยาก** แต่อย่างไรก็ตาม การเขียนเรื่องนี้ มีหลังฉากซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าจะไม่เปิดเผย แต่เมื่อบทประพันธ์นี้ กลายเป็นที่สนใจใหญ่หลวงของมหาชน ข้าพเจ้าจำเป็นต้องเผยออก โดยหวังว่า การเผยหลังฉากนี้จะทำความพอใจให้แก่ท่านผู้อ่านได้บ้าง

เมื่อราวปีหนึ่ง ก่อนเขียนเรื่องนี้ ท่านผู้มีเกียรติผู้หนึ่งซึ่งสืบเชื้อสายตรงจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และเป็ผู้ใหญ่มากพอที่จะไม่พูดอะไรเล่น ๆ กับข้าพเจ้า ท่านยืนยันพร้อมด้วยหลักฐาน** คำบอกเล่าที่ท่านได้ยินได้ฟังและจำจำสืบต่อกัน**ว่า

“สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไม่ได้ถูก ประหารที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์ ในวันที่ ๕ เมษายน พศ. ๒๑๒๔ อย่างที่ปรากฏในพงศาวดาร แต่มาสิ้นพระชนม์เมื่อ ๓ ปีภายหลัง และสิ้นพระชนม์ด้วยฆาตกรรม ถูกตีอย่างทารุณในขณะที่ทรงเจริญวิปัสสนากรรมฐานอยู่ในถ้ำ ภายใต้ความคุ้มครองของกาสาวพัสตร์ ส่วนคนที่ถูกประหารที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์นั้น เป็นคนอื่นไม่ใช่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

จาก คำนำ เรื่อง ใครฆ่า พระเจ้ากรุงธนบุรี ของหลวงวิจิตรวาทการ

"กษัตริย์ ผู้เกรียงไกร พระเจ้าตากสินมหาราช เป็นกษัตริย์ที่สร้างกรุงธนบุรีหลังจากที่ไทยต้องเสียกรุงศรีอยุธยาให้กับ พม่า นักประวัติศาสตร์ไทยบางคนกลับไม่เชื่อว่า พระองค์ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ แต่เสด็จหนีลงเรือมาประทับ ณ วัดเขาขุนพนม ทรงดำรงพระองค์อย่างสมณเพศ ทรงสั่งสอนสมถะวิปัสสนา และทรงรับบิณฑบาตจากราษฎรและสวรรคต ณ ที่ประทับวัดเขาขุนพนม"

เป็นข้อความที่จารึกอยู่ ณ ปากถ้ำบนภูเขา วัดเขาขุนพนม

บันไดทางขึ้นไปที่ถ้ำพระเจ้าตากสิน

วันที่ผมไปถึง สภาพรอบๆเขายังเป็นป่าดิบๆอยู่พอสมควร ผมประทับใจที่ยังไม่มีพวกทัวร์มาลงจนเสื่อมสภาพ ต้นตอของเรื่องที่พูดกันและเป็นที่นิยมแพร่หลายมากขึ้น ๆ

สรุปว่าพระเจ้าตากสินทรงยืมเงินจากรัฐบาลจีนจำนวนมาก เพื่อใช้ในการต่อสู้ป้องกันบ้านเมือง จนถึงปลายรัชกาลก็ไม่มีเงินใช้หนี้รัฐบาลจีนซึ่งคุกคามทวงหนี้คืน หาไม่ก็จะเอาไทยเป็นเมืองขึ้น หรืออะไรทำนองนั้น

สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงทรงแก้สถานการณ์นี้โดยการตกลงอย่างลับ ๆ กับ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ซึ่งเป็นพระสหายและลูกน้องคนสนิท โดยพระองค์เองแสร้งกระทำการประหนึ่งวิกลจริตเพื่อให้พระสหายยึดอำนาจจาก พระองค์เสีย

สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกก็ต้องเสียสละชื่อเสียงเกียรติยศใน การหักหลังเพื่อน โดยการยึดอำนาจจากพระเจ้าตากสิน ทั้งทำข่าวให้ระบือไปว่าได้ประหารชีวิตพระเจ้าตากสินเสียแล้ว แต่ความจริงผู้ที่ถูกประหารคือข้าเก่าที่มีรูปร่างหน้าตาละม้ายพระเจ้าตาก สินเท่านั้น

ส่วนตัวพระเจ้าตากสินนั้น ถูกส่งอย่าง "ลับ ๆ" ให้ไปดำเนินพระชนม์ชีพในบั้นปลายที่เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งมีพระราชโอรสของพระองค์ คือเจ้าพระยานคร (น้อย) อยู่ในฐานะเป็นบุตรของเจ้าพระยานครพัดแล้ว

(ภายในถ้ำพระเจ้าตากสิน จะเห็นรูปปั้นในเพศบรรพชิตคล้ายกับที่วัดท่าซุง - ผู้จัดทำเว็บวัดท่าซุง อธิบายภาพ)

ส่วนเมืองนครศรีธรรมราชมีตำนานเล่ากันว่า เมื่อสิ้นรัชกาลแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินได้หลบมาบวชและพำนักอยู่ที่นครศรีธรรมราช ที่ประทับได้แก่ ที่อำเภอลานสกา และที่อำเภอเมือง ปัจจุบันเล่ากันว่า ที่อำเภอลานสกาเป็นที่ซึ่งพระองค์ได้แวะพักระหว่างที่เสด็จมายังเมืองนครฯ ส่วนที่ประทับถาวรก็คือ วัดเขาขุนพนม ในเขตอำเภอเมือง

นอกจากนี้ เรื่องเล่ากันในหมู่สมาชิกตระกูล "ณ นคร" บางกลุ่มในปัจจุบัน บอกว่าหลังจากที่พระเจ้าตากสินทรงผนวชที่วัดเขาขุนพนมระยะหนึ่งแล้ว ก็ได้ประชวรด้วยพระโรคอย่างหนึ่ง จึงจำเป็นต้องทรงลาผนวช แล้วเสด็จไปประทับอยู่ในจวนของเจ้าพระยานคร (น้อย) ในสมัยรัชกาลที่ ๓

มีการอ้างด้วยว่า เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จสวรรคตแล้ว ได้มีใบบอกเข้าไปแจ้งรัฐบาลในกรุงเทพฯ ว่า "ท่านข้างใน" สิ้นแล้ว ส่วนพระบรมศพนั้นก็ได้ไปตั้งทำการพระเมรุที่ชายทะเลแห่งหนึ่งในจังหวัด นครศรีธรรมราช

ทั้งนี้ มีการอ้างถึง "หลักฐาน" เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของเรื่องนี้อีกว่า ที่วัดแจ้งและวัดประดู่ซึ่งมีเก๋งไว้อัฐิของเจ้านคร (หนู) หม่อมทองเหนี่ยวชายา และของเจ้าพระยานคร (น้อย) นั้น มีศิลาจารึกภาษาจีนอยู่ ๓-๔ หลัก หนึ่งในนี้มีผู้อ้างว่า มีข้อความกล่าวถึงว่าเป็นหลุมศพของ "ผู้เป็นใหญ่แซ่เจิ้ง" เนื่องจากพระบิดาของสมเด็จพระเจ้าตากสิน "แซ่เจิ้ง"

สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงทรงใช้ "แซ่เจิ้ง" ด้วย สำเนียงแต้จิ๋วเรียก "แต้" เรื่องนี้เป็นความจริงเพราะมีหลักฐานชั้นต้นยืนยันจำนวนมาก รวมทั้งพระราชสาส์นของพระเจ้าตากสินที่ทรงมีถึงพระเจ้ากรุงจีนก็ใช้ "แซ่เจิ้ง"

เอาเป็นว่าผมเล่าเรื่องที่ได้ยินมาตามสำนวนของผมก็แล้วกัน ผมจะจับความตอนที่พระยาจักรีได้เมืองแล้วพระยาพิชัยดาบหักที่ยกทัพตามลงมา ตั้งแต่ได้ข่าวว่ากรุงธนบุรีถูกทัพกบฎล้อมแต่ก็สายไปแล้วได้พบว่าพระเจ้าตาก ถูกพระยา จักรีสั่งประหารเรียบร้อยก่อนหน้าไปหลายวัน พระยาพิชัยดาบหักโกรธมากไสช้างเข้าเมืองมาร้องเรียกให้พระยาจักรีออกมาคุย กัน

พระยาจักรีตอนนั้นเป็นกษัตริย์แล้วได้ออกมากับน้องชายที่เป็น พระราชวังบวร ได้พบกับสหายเก่าร่วมรบพระยาพิชัยดาบหักร้องท้าทายว่าเอ็งอยากเป็นกษัตริย์ ถึงกับฆ่าท่านใหญ่เลยหรือวะ เอ็งมารบกับข้าดีกว่าข้าก็อยากเป็นด้วยเหมือนกัน พระยาจักรีร้องตอบไปว่าใครบอกว่าข้าฆ่าท่านใหญ่วะเอ็งลงมาจากช้างมาดูดีกว่า ว่าท่านใหญ่มีชีวิตหรือเปล่า

เมื่อพระเจ้าตากได้พบกับพระยาพิชัยที่เป็นทั้งสหายและลูกน้องเก่าก็พูดคุย เล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟัง พูดถึงความจำเป็นในการหลอกเมืองจีนเรื่องบ้าแล้วโดนประหารเพื่อล้างหนี้ มหาศาลในการกู้เงินมาทำนุบำรุงบ้านเมือง พิชัยอยู่กับพระยาจักรีในที่ลับก็พูดกันประสาเพื่อนร่วมรบแก่เก่าก่อนว่า ให้รับราชการร่วมกัน เล่นละครบทนี้ต่อ พระยาพิชัยก็ประกาศว่า ไม่ยอมเป็น ข้าสองเจ้า บ่าวสองนาย

ความจริงก็เพื่อนกันแต่พระยาพิชัยทำใจไม่ได้ พระยาจักรีก็สั่งฆ่าพระยาพิชัย แต่พระยาพิชัยไม่ตายเป็นละครอีกบทของพระยาพิชัย มีนักโทษประหารชีวิตตายแทนพระยาพิชัย ตัวจริงก็เปลี่ยนเป็นชื่ออื่นแล้วไปอยู่ที่อื่นใช้ชีวิตแบบสงบ

ตกคืนนั้นพระเจ้าตากก็นั่งคานหามออกไปจากวังในกลาดึกคืนนั้น นั่งเรือลงไปนครศรีธรรมราชกับลูกชาย เข้าจำพรรษาที่ลานสกานอกเมืองนครฯ ส่วนลูกชายก็ไปนั่งเมืองนครฯ เป็นเจ้าเมือง ท่านไม่ได้ไปเพียงท่านกับลูกชาย มีพระสนมที่ติดตามไปดูแลท่านอีกคนหนึ่ง และทหารเสือพระเจ้าตากเชื้อสายจีนร้อยแซ่ ตั้งแต่สมัยกู้บ้านเมืองจากพม่า ได้ติดตามท่านไปสมทบด้วยอีกประมาณ 500 คน เพื่อรักษาท่านเอาไว้ไม่ให้ใครตามมารบกวนท่านอีก

ทหารเสือพระเจ้าตากเหล่านี้ได้สร้างที่จำพรรษาให้ท่านบนยอดเขาขุนพนม ถาวรวัตถุที่หลงเหลือเห็นในตอนนี้ เป็นศิลปะจีนทั้งถ้วยชามจีนบนฝาผนังและลายพระพุทธบาทแบบจีนในวัด ทั้งมีการอ้างว่าพระยาน้อยเจ้าเมืองนคร คือลูกของท่านกับหม่อมปราง

อีกทั้งเจ้าชุมนุมนครฯเป็นเจ้าชุมนุมเดียวที่พระเจ้าตากไว้ชีวิต เมื่อครั้งรวบรวมประเทศเข้าตีชุมนุมนครฯ อีกทั้งยังถวายลูกสาวเจ้าเมืองนครฯ เข้าดองเป็นสนมภายหลังอีกด้วย

ลักษณะที่ตั้งของ "เขาขุนพนม" ที่อยู่ในชัยภูมิที่เหมาะสมในการป้องกันภัยของพระองค์ ความผูกพันต่อเจ้าชุมนุมเมืองนครทีมีความเกี่ยวดอง ในลักษณะพ่อตากับลูกเขย

ในหลายเหตุผลที่ยกมาเป็นพยานหลักฐาน หรือเป็นสมมุติฐานที่เชื่อได้ หรือยังว่านครศรีธรรมราช และเขาขุนพนมก็คือสถานที่มีความเหมาะสม เป็นฐานที่มั่นในการหลบภัยทางด้านการเมือง ที่ไว้ใจได้มากที่สุดของพระเจ้าตากสิน ถือว่าเป็นหนึ่งในความเชื่อว่าพระเจ้าตากสิน สิ้นพระชนม์ที่เมืองนครฯ ของชาวนครเองที่เล่าขานมาหลายชั่วรุ่นคน

วันนี้ผมเล่าเรื่องพระเจ้าตากอย่างมีความสุขมาก อยากให้เรื่องจริงเป็นอย่างนั้นจริงๆ ผมอยากให้ท่านมีชีวิตรอดใช้ชีวิตในสมณะเพศที่เขาขุนพนม

ผมยังฝันต่อไปอีกว่าอยากจะเป็นหนึ่งในทหารเสือพระเจ้าตาก ที่ย้อนเวลากลับไปใช้ชีวิตสงบๆ ที่เขาขุนพนมหลังศึกกู้บ้านเมืองสิบห้าปีพร้อมกับท่าน เพราะว่าเขาขุนพนมที่ผมไปพบมามันน่าอยู่มาก

ผมจะพาขึ้นเขาขุนพนมแล้วครับ เดินตามผมมาเลยมีบันไดขึ้นประมาณสองร้อยกว่าขั้นไม่เหนื่อยมากจนเกินไป คุณแม่อายุแปดสิบแล้วยังขึ้นสบาย ตลอดสองทางก็เขียวชื้นเป็นป่ากึ่งดิบ มีไม้ดอกไม้ใบให้ดูแก้เหนื่อยตลอดทาง

ในที่สุดก็ขึ้นมาถึงยอดเขาขุนพนมจุดที่พระเจ้าตากท่านมาบวชซ่อนตัว อยู่ ปัจจุบันนี้ทำเป็นลานคอนกรีตบริเวณหน้าถ้ำที่ท่านอยู่จำพรรษา สร้างรูปของท่านในสภาพของพระภิกษุไว้กราบบูชา (โปรดสังเกตรูปปั้นที่วัดขุนพนม กับรูปปั้นที่วัดท่าซุง จะมีส่วนคล้ายคลึงกันมาก - ผู้จัดทำเว็บวัดท่าซุง) จะตอบคำถามนี้ให้ผมที

มองประวัติชนชาวอีสาน

 

ประวัติศาสตร์อีสานโบราณระบุไว้ว่า ในราว พ.ศ.700 ประเทศพนม เป็นประเทศรุ่งเรืองขึ้นมาใหม่ในอินโดจีน ทางทิศตะวันตกของพนมมีประเทศเจนละหรือเขมร ถัดจากประเทศเจนละคือประเทศกิมหลินทางเหนือประเทศกิมหลินคือประเทศบูหลุน พระมหาราชกรุงพนมได้ยกกองทัพเรือไปปราบประเทศในคาบมหาสมุทรมลายาได้กว่า 10 แคว้น ภายหลังให้รัชทายาทนามว่า กิมแซ ไปปราบประเทศกิมหลิน ได้ประมาณปี 733

อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์

ประเทศสุวรรณภูมิและประเทศเล็กๆในสุวรรณภูมิทวีปคาบมหาสมุทรมลายาเป็นอิสระตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกอยู่ได้ 500 ปี ก็เป็นประเทศราชของประเทศพนม พระพุทธศาสนายังคงรุ่งเรืองอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิทวีปตลอดมา เพราะปรากฏตามหนังสือของภิกษุจาริกจีนว่า ดินแดนแถบนี้ยังคงมีพุทธศาสนารุ่งเรืองดีอยู่ ภิกษุอี้จิงจึงเรียกแถบนี้ว่า ดินแดนกิมหลิน ตามชื่อเก่า ในตำนานพระธาตุพนมเล่าว่า"ในราว พ.ศ.8 ศรีโคตรบูรตั้งเมืองหลวงอยู่ใต้ปากเซบ้องไฟ อยู่เหนือสุวรรณเขตประเทศลาว ครั้นต่อมาได้ย้ายเมืองหลวงมาตั้งอยู่เหนือธาตุพนม ในดงไม้รวกจึงมีนามว่า" มรุกขนคร"มีกษัตริย์ครองเมือง 5 องค์ องค์สุดท้ายชื่อ พระยานิรุฏฐราช บ้านเมืองเลยเกิดวิบัติล่มร้างเป็นบึงและป่า ต่อมาในราวพ.ศ. 1800 ปรากฏว่าได้ไปตั้งเมืองขึ้นใหม่อยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง แต่เหนือที่เดิมมาก ได้แก่เมืองเก่าใต้ท่าแขกประเทศลาวในปัจจุบัน"
การที่อาณาจักรศรีโคตรบูรตั้งเมืองหลวงใน พ.ศ. 8 นั้นน่าจะผิดพลาดเนื่องจากเวลาห่างจากปีที่พระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระสมณฑูตออกไปประกาศพระศาสนาในปี พ.ศ.226 ถึง 228หากเป็นพุทธศตวรรษที่ 8 คือ พ.ศ.800ก็น่าจะพอเชื่อถือได้บ้าง แต่มีข้อสนับสนุนตามตำนานว่า การสร้างพระธาตุพนมนั้น พระพุทธเจ้าเสด็จไปประกาศพระศาสนาด้วยพระองค์เอง และในพ.ศ.8 พระมหากัสสปะและท้าวพญาทั้งห้าพระองค์ได้สร้างพระธาตุโดยอัญเชิญพระอุรังคธาตุบรรจุไว้ในพระเจดีย์สูง ประมาณ 8 เมตร สำหรับ ท้าวพญา 5 พระองค์ที่ร่วมสร้างพระธาตุพนมเมื่อพ.ศ.8นั้น คือ พญานันทเสน ครองเมืองศรีโคตรบูร พญาจุลณีพรหมทัต ครองแคว้นจุลณี พญาอินทปัตถ์ ครองอินทปัตนคร พญาคำแดง ครองเมืองหนองหารน้อย และพญาสุวรรณภิงคาร ครองเมืองหนองหารหลวง ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้ครองเมืองในอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์โบราณเมื่อครั้งที่ตั้งเมืองหลวงอยู่ใต้ปากเซบ้องไฟ ฝั่งสุวรรณเขตประเทศลาว
พระธาตุพนม จากตำนานพระธาตุพนมนั้น อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์โบราณได้ตั้งขึ้นก่อนแล้วเมื่อพ.ศ.8 ต่อมาได้มีการย้ายเมืองหลวงมาอยู่เหนือพระธาตุพนมฝั่งอาณาจักรสยาม ดังนั้นเรื่องของอาณาจักรแห่งนี้จึงมีความแตกต่างกัน ดังนี้ ในพุทธศตวรรษที่ 14 - 15 ครั้งสมัยอาณาจักรทวารวดีมีอำนาจอยู่นั้น บริเวณสองฟากแม่น้ำโขงได้มีการตั้งอาณาจักรขึ้นใหม่เรียกว่าอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ หรือ โคตรปุระ แปลว่า เมืองตะวันออก โดยมีพระยาโคตรบอง เป็นผู้ครองนคร ดินแดนแห่งนี้มีเมืองสำคัญคือ เวียงจันท์ หรือเวียงจันทน์ หนองหานหลวงหรือสกลนคร มรุกขนครนครพนม เมืองจันทบุรี ศรีสัตนาคนหต ล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง เชียงใหม่ เชียงแสน เชียงรุ้ง เป็นต้น พ.ศ. 1896 สมัยอยุธยาตอนต้น พระเจ้าฟ้างุ้มทรงสถาปนานครเวียงจันท์ขึ้นเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรลาว พ.ศ. 1991 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ซึ่งเป็นกษัตริย์ครองอาณาจักรล้านนา ภายหลังได้อภิเษกพระธิดาของกษัตริย์ผู้ครองอาณาจักรล้านช้างและได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์อาณาจักรล้านช้าง ร่วมกันสร้างพระเจดีย์ศรีสองรักษ์ เพื่อเป็นสัญญลักษณ์แห่งมิตรภาพ ปัจจุบันอยู่ที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

พระธาตุพนม

อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์นี้ได้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันมา และภายหลังได้เป็นอาณาจักรล้านช้างปัจจุบันคือพระราชอาณาจักรลาว ในสมัยกรุงธนบุรีนั้นอาณาจักรลานช้างได้ตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรสยาม ในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นอาณาจักรสยามต้องเสียดินแดนให้ฝรั่งเศสจึงทำให้อาณาจักรแห่งนี้ตกอยู่ใต้อำนาจฝรั่งเศสต่อมา โบราณสถานสำคัญของอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์นั้นคือ พระธาตุพนมที่จังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นปูชนีย์สถานพุทธศาสนาสำคัญ โดยสร้างทับบนปราสาทขอมสมัยโบราณ มีตำนานพระธาตุพนมว่า พระธาตุนี้ได้สร้างขึ้นในพ.ศ.8 สมัยอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์โบราณฅโดยก่ออุโมงค์เป็นรูปเตามีประตูปิดเปิด4 ด้านสูง 5เมตรสำหรับบรรจุพระอุรังคธาตุโดยมีผ้ากัมพลห่อไว้ภายในอุโมงค์ ต่อมาพ.ศ. 500 พระอรหันต์ทั้ง 5 องค์คือ พระสังขวิชาเถระ พระมหารัตนเถระ พระจุลรัตนเถระ พระมหาสุวรรณปราสาทเถระ และพระจุลสุวรรณปราสาทเถระ พร้อมด้วยพระยาสุมิตธรรมวงศา แห่งเมืองมรุกขนคร ได้ร่วมกันบูรณะพระธาตุพนมสูงประมาณ 24 เมตรและอัญเชิญพระอุรังคธาตุออกมาประดิษฐานบนพานทองคำ อมรฤาษีและโยธิกฤาษีไปเอาอุโมงศิลาบนยอดเขาภูเพ็กมาตั้งไว้ชั้นบนของพระธาตุชั้นที่ 2 ซึ่งอยู่สูง 14 เมตรแล้วพระสุมิตธรรมวงศาได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุฐาปนาไว้บนเจดีย์ศิลานั้น ต่อมาพระโพธิศาล ซึ่งครองเมืองหลวงพระบางเมื่อพ.ศ. 2073 ถึง 2103  นั้นได้ตำนานอุรังคธาตุที่พระธาตุพนมมาจากกัมพูชา จึงเกิดความศรัทธาและได้มาสร้างบริเวณภูกำพร้าขึ้นเป็นวัด อุทิศข้าทาสให้แก่พระธาตุ พระไชยเชษฐาธิราช โอรสของพระโพธิศาล ซึ่งสร้างเมืองเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวง ได้เสด็จมานมัสการพระธาตุพนมเมื่อพ.ศ.2157ต่อมาพ.ศ. 2233 - 2235  เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กแห่งนครเวียงจันทน์ได้นำช่างมาจากเวียงจันทน์มาทำการบูรณะพระธาตุพนมต่อเติมจนสูง 47เมตรโดยพ่อออกพระขนานโคตพร้อมด้วยบุตรภริยาได้นำเอาอูบพระชินธาตุเจ้าที่จันทรปุระเวียงจันทน์มาฐาปนาที่ธาตุปะนมและบรรจุพระพุทธรุปเงินทอง แก้วมรกต อัญมณีมีค่าไว้มากมาย และพ.ศ.2483 - 2484  กรมศิลปากรได้ทำบูรณะพระธาตุให้สูงขึ้นเป็น 57 เมตร หลังจากนั้นก็มีการบูรณปฏิสังขรณ์อยู่เสมอ ครั้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2518 เวลา 19.30 น. เศษ องค์พระธาตุพนมได้ล้มทลายลงมาทั้งองค์ ยอดพระธาตุฟาดมาทางทิศตะวันออก กรมศิลปากรได้บูรณะตามแบบเดิมเสร็จใน พ.ศ. 2522 เดิมในอดีตนั้นพื้นที่ 19 จังหวัดภาคอีสานนั้นอยู่ในราชอาณาศรีโคตรบูรณ์ที่มีอาณาเขตในทั้ง 2 ฝั่งโขงยกเว้นจังหวัดนครราชสีมาบางส่วน การที่ภาคอีสานมีประชากรมากกว่าทุกภาคในประเทศไทยขณะนี้เป็นเพราะประชากรลาวอพยพข้ามแม่น้ำโขงมาโดยตลอดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2250 - 2400 นั่นเอง

1

ในตำนานกล่าวถึงความเป็นมาของชุมชนและบ้านเมืองต่างๆในแคว้นศรีโคตรบูรณ์ โดยเฉพาะเมืองสำคัญ เช่น เมืองหนองหานหลวง เมืองหนองหานน้อย และเมืองเวียงจันทน์ ซึ่งล้วนมีหลักฐานทางโบราณคดี อันได้แก่ ร่องรอยเมือง และโบราณวัตถุสถานที่มีมาแต่สมัยทวารวดี ลพบุรีจนถึงสมัยหลังๆสนับสนุนทั้งสิ้น

ในขณะเดียวกันพงศาวดารล้านช้างก็ระบุว่า ภายหลังจากพระเจ้าฟ้างุ้มหนีจากเมืองหลวงพระบางไปพึ่งทางกัมพูชานั้นกษัตริย์ขอมทรงอุปถัมภ์และพระราชทานพระธิดาให้ต่อมาก็ได้ทรงสนับสนุนให้พระเจ้าฟ้างุ้มยกกองทัพมาตีกลุ่มเมืองโคตรบอง ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงตั้งแต่เขตจังหวัดนครพนมขึ้นไปจนถึงจังหวัดหนองคาย เมืองเวียงจันทน์และเวียงคำรวมอยู่ในกลุ่มนี้ โดยเฉพาะเมืองเวียงคำนั้นในตำนานเรียก เมืองไผ่หนาน เป็นเมืองยากแก้การตี ทำให้พระเจ้าฟ้างุ้มต้องออกอุบายโดยยิงกระสุนทองคำเข้าไป เป็นเหตุให้ผู้คนพากันออกมาเก็บกระสุนทองคำกัน และขาดการเอาใจใส่บ้านเมือง พระเจ้าฟ้างุ้มเลยตีเมืองได้และต่อมาก็เปลี่ยนชื่อเมืองนี้ว่า เมืองเวียงคำ
การที่ตำนานอุรังคธาตุกล่าวถึงแว่นแคว้นที่เรียกว่าศรีโคตรบูรก็ดี และตำนานล้านช้างกล่าวถึงเมืองโคตรบองก็ดี ล้วนลงรอยกันให้เห็นว่ามีแว่นแคว้นหรือรัฐที่เรียกว่า ศรีโคตรบูรณ์หรือโคตรบอง อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนนี้แล้วในพุทธศตวรรษที่๑๘และ๑๙ ยิ่งกว่านั้นเรื่องราวของแคว้นโคตรบองนี้ก็ยังมีปรากฏในตำนานพงศาวดารเหนือที่กล่าวถึงเรื่องราวของบ้านเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาสมัยก่อนการสร้างพระนครศรีอยุธยาด้วย นั้นคือเรื่องราวของพระยาโคตรบองผู้เคยเป็นใหญ่อยู่ในเมืองสำคัญ ซึ่งอาจจะเป็นอโยธยาหรือลพบุรีก็ได้ ต่อมาถูกพระเจ้าสินธพอัมรินทร์ชิงบ้านเมืองได้เลยหนีไปเป็นใหญ่อยู่ในเขตแคว้นล้านช้างคงหมายถึงกลุ่มเมืองศรีโคตรบองและต่อมาก็ได้ถูกลอบปลงพระชนม์ ณ เมืองที่พระองค์ครองอยู่ ตำนานดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างแคว้นโคตรบองกับทางบ้านเมืองในลุ่มน้ำเจ้าพระยาไม่มากก็น้อย
หลักฐานทางโบราณคดีจากการสำรวจบริเวณที่เรียกว่าแอ่งสกลนครในเขตอีสานเหนือที่อยู่ในจังหวัดหนองคาย อุดรธานี สกลนคร และนครพนม พบว่าเป็นบริเวณที่มีการตั้งหลักแหล่งของมนุษย์มาตั้งแต่ก่อนสมัยประวัติศาสตร์ ดังเช่นการค้นพบแหล่งชุมชนในวัฒนธรรมบ้านเชียงที่รู้จักกันแพร่หลายทั่วไปเป็นต้นแต่ว่าหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการเกิดเป็นบ้านเมืองใหญ่โตนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ตอนปลายสมัยทวารวดี คือ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 14 - 15  ลงมาเป็นอย่างสูง ชุมชนโบราณที่มีร่องรอยให้เห็นว่ามีคูน้ำและกำแพงล้อมรอบ แสดงให้เห็นว่ามีคูน้ำและกำแพงล้อมรอบแสดงให้เห็นว่าเป็นเมืองพบว่ามี 4 แห่ง

ดด

ชุมชนสี่แห่งที่พบนี้ได้แก่ บ้านดอนแก้ว ริมหนองหานกุมภวาปี ในเขตอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี เมืองหนองหานน้อยในเขตอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เมืองหนองหานหลวงในเขตอำเภอเมืองจังหวัดสกลนคร และเมืองเวียงจันทน์ในฝั่งตรงข้ามอำเภอท่าบ่อและศรีสงครามจังหวัดหนองคาย แต่ที่เกี่ยวข้องกับตำนานมีเพียง3แห่งคือ เมืองหนองหานน้อย เมืองหนองหาน หลวง และเมืองเวียงจันทน์
นอกจากบรรดาชุมชนเมืองที่มีร่องรอยคูน้ำและกำแพงเมืองล้อมรอบดังกล่าวนี้แล้ว ก็มีแหล่งชุมชนอีกหลายแห่งที่ไม่มีกำแพงและคูน้ำล้อมรอบ แต่ทว่าในตำนานพงศาวดารระบุว่าเป็นเมือง เช่น เมืองเวียงคุก เมืองซายฟองหรือเวียงคำ เป็นต้น

เมื่อพิจารณาศึกษาจากรูปแบบของศิลปกรรม ตำแหน่งที่ตั้งและขนาดของบรรดาชุมชนที่เป็นเมืองในบริเวณลุ่มน้ำโขงในภาคอีสานตอนเหนือนี้ ก็สามารถวิเคราะห์รูปแบบทางวัฒนธรรมและศิลปกรรมได้สองแบบและสองสมัยในระยะเวลาที่ต่อเนื่องกัน แบบแรกเป็นแบบทวารวดี แลเห็นได้จากบรรดาเสมาหินที่พบตามแหล่งศาสนาสถานต่างๆ ส่วนแบบที่สองเป็นแบบลพบุรี หรือเป็นแบบที่ได้รับอิทธิพลและศิลปวัฒนธรรมจากขอม เห็นได้จากการพบรูปแบบของเมืองที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมแบบสม่ำเสมอ ศาสนสถานที่เป็นปราสาท พระพุทธรูปเทวรูปแบบลพบุรี

ทวารวดี ทวารวดี

โบราณสถานและโบราณวัตถุแบบแสดงให้เห็นถึงการแพร่กระจายของศิลปวัฒนธรรมแก้บ้านเมืองในแถบลุ่มแม่น้ำชีผ่านบริเวณหนองหานกุมภวาปีขึ้นมาในอีสานเหนือ ในช่วงเวลาแต่ราวพุทธศตวรรษที่14เป็นต้นมา ที่พระธาตุพนมก่อนที่จะล้มพังลงมานั้น มีภาพสลักรูปคนขี่ม้าในท่าผาดโผนและเคลื่อนไหว เป็นลักษณะที่ไม่เคยพบมาก่อนในศิลปกรรมแบบทวารวดีและลพบุรีในประเทศไทยมาก่อน ในทำนองตรงข้ามเป็นของที่มักพบในศิลปะจีน ญวน และจามปา นับเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงการเกี่ยวข้องกับบ้านเมืองและผู้คนที่อยู่ในเขตญวนและจามปาที่ห่างออกไปทางชายทะเล จึงเป็นไปได้ว่าบรรดาบ้านเมืองที่เกิดขึ้นในสมัยทวารวดีตอนปลายนี้ ไม่ได้อยู่อย่างโดดๆหากมีการติดต่อกับบ้านเมืองอื่นๆที่อยู่ใกล้เคียงแล้ว อย่างน้อยก็จากลุ่มน้ำชี ผ่านขึ้นมายังแม่น้ำโขงแล้วข้ามน้ำโขงไปยังบ้านเมืองต่างๆทางเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ

ด

จากหลักฐานทางโบราณคดีตามที่กล่าวมานี้อาจตีความได้ว่าช่วงเวลาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา เกิดบ้านเมืองที่เป็นรัฐหรือแว่นแคว้นแล้วในบริเวณอีสานเหนือ โดยมีเมืองหนองหานหลวงที่สกลนครเป็นเมืองสำคัญมีการติดต่อกับบ้านเมืองทางลุ่มน้ำชีและกัมพูชาทางใต้ กับบ้านเมืองที่อยู่โพ้นฝั่งแม่น้ำโขงไปยังเขตประเทศญวน
ในพุทธศตวรรษที่ 8 เขตแคว้นดังกล่าวนี้ก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางการเมืองของอาณาจักรกัมพูชา มีการสร้างศาสนสถานที่เป็นศูนย์กลางของชุมชนนี้มาตามเส้นทางคมนาคมไปจนถึงเมืองเวียงคำ รัฐหรือแคว้นนี้จะมีชื่อใดไม่ปรากฏ แต่อาจถูกเรียก " ศรีโคตรบูรณ์ " ตามที่กล่าวในตำนานอุรังธาตุและพงศาวดารล้านช้างก็ได้ แต่พ้นสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่7แล้ว บ้านเมืองเหล่านี้มีความเป็นอิสระและรู้จักกันในนามว่า " ศรีโคตรบูรณ์ หรือโคตรบอง " ได้มีการสถาปนาเมืองเวียงจันทน์ขึ้นเป็นศูนย์กลางทางคมนาคม เศรษฐกิจและการเมือง โดยเฉพาะการเป็นศูนย์กลางทางด้านการค้า และคมนาคมนั้น เมืองเวียงจันทน์คงมีบทบาทมากและเพิ่มขึ้นเมื่อมีการขยายตัวขึ้นไปติดต่อค้าขายกับบ้านเมืองทางเหนือและทางตะวันตก

อาณาจักรล้านช้าง จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 

อาณาจักรล้านช้าง (ภาษาลาว: ລ້ານຊ້າງ) เป็นอาณาจักรของชนชาติลาวซึ่งตั้งอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำโขง มีอาณาเขตอยู่ในบริเวณประเทศลาวทั้งหมด ตลอดจนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โดยมีความเจริญรุ่งเรืองทั้งการเมืองการปกครอง ด้านศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนพระพุทธศาสนา ที่มีพัฒนาการเคียงคู่มาพร้อมกันอาณาจักรอื่นๆใกล้เคียง ทั้งล้านนา สยาม พม่า และเขมร

อาณาจักรแห่งนี้ได้สถาปนาขึ้นอย่างเป็นปึกแผ่นมั่งคงอย่างแท้จริงในปี พ.ศ. 1896 สมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม มีความรุ่งเรืองสลับกับความร่วงโรยต่อมาหลายสมัย ซึ่งยุคที่นับได้ว่าเป็นยุคทองของอาณาจักรล้านช้างคือรัชสมัยของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช(พ.ศ. 2091- พ.ศ. 2114 และรัชสมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช(พ.ศ. 2181- พ.ศ. 2238) หลังจากนั้นอาณาจักรลาวก็เสื่อมอำนาจลงและแตกแยกเป็น 3 ราชอาณาจักร และในปี พ.ศ. 2321 ทั้ง 3 อาณาจักรก็ได้สูญเสียเอกราชแก่ราชอาณาจักรสยามในที่สุด

การสถาปนา

นักประวัติศาสตร์ลาวเชื่อว่า ชาวลาวเดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ระหว่างแม่น้ำฮวงโหกับแม่น้ำแยงซีเกียงแถบมณฑลเสฉวนในประเทศจีนปัจจุบัน ต่อมาได้ถูกจีนรุกรานจึงได้อพยพมาทางตอนใต้ของเสฉวนจนถึงยูนนาน ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหนองแสหรืออาณาจักรน่านเจ้าโดยได้มีความเจริญรุ่งเรืองและดำรงเอกราชมากว่าร้อยปี (ปัจจุบันมีการพิสูจน์ว่าอาณาจักรน่านเจ้าเป็นอาณาจักรของชนชาติต้าหลี่ ไม่ใช่ของชนชาติไท-ลาว) จนถึงสมัยของขุนบรมราชาธิราชพระองค์ได้ทรงสถาปนาเมืองใหม่ที่นาน้อยอ้อยหนู โดยให้ชื่อว่า "เมืองแถน" หรือ "เมืองกาหลง" (มหาสิลา วีระวงส์ เชื่อว่าคือเมืองแถงหรือเดียนเบียนฟูในดินแดนสิบสองจุไท ประเทศเวียดนามปัจจุบัน

ในพงศาวดารล้านช้างกล่าวว่า ขุนบรมได้ทรงแผ่ขยายอาณาจักรออกไป โดยทรงส่งโอรส 7 องค์ไปปกครองเมืองต่างๆ ซึ่งเชื่อว่าอยู่ในภูมิภาคอินโดจีนปัจจุบันดังนี้

  1. ขุนลอ ปกครองเมืองเซ่าหรือเมืองชวา (อ่านว่า เมืองซัวหรือเมืองซวา - ต่อมาเรียกว่าหลวงพระบาง)
  2. ท้าวผาล้าน ปกครองเมืองหอแต (ต้าหอ, สิบสองปันนา)
  3. ท้าวจุลง ปกครองเมืองโกดแท้แผนปม (ปัจจุบันคือเวียดนาม)
  4. ท้าวคำผง ปกครองเมืองเชียงใหม่
  5. ท้าวอิน ปกครองเมืองลานเพียศรีอยุธยา (ละโว้)
  6. ท้าวกม ปกครองเมืองมอน (อินทรปัต, หงสาวดี)
  7. ท้าวเจือง ปกครองเมืองพวน (เชียงขวาง – เชื่อกันว่าคือท้าวเจืองที่ปรากฏในวรรณกรรณเรื่อง “ท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง”)[1]

ขุนลอผู้ทรงสร้างเมืองชวานี้ถือกันว่าทรงเป็นปฐมกษัตริย์ของชาวลาวทั้งปวง ในปี พ.ศ. 1300 โดยประมาณ พระองค์ได้ทรงตั้งให้เมืองชวาเป็นราชธานีของอาณาจักรล้านช้าง พระราชทานนามราชธานีแห่งนี้ใหม่ว่า “เมืองเชียงทอง” พระองค์ได้ทรงขับไล่ชนชาติขอมซึ่งเป็นผู้มีอำนาจอยู่เดิมในบริเวณดังกล่าวสำเร็จ ทำให้อาณาจักรล้านช้างมีความมั่นคงต่อมายาวนาน และมีกษัตริย์ปกครองต่อมาอีกหลายชั่วคน

การรวมชาติลาวและการเสริมสร้างความมั่นคงภายใน

ในปลายพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรล้านช้างก็ได้มีกษัตริย์องค์สำคัญซึ่งชาวลาวยกย่องพระองค์ในฐานะ “พระบิดาของชาติลาว” ได้แก่ พระเจ้าฟ้างุ้ม (พ.ศ. 1896 - พ.ศ. 1916, พระนามเต็มคือ “พระเจ้าฟ้างุ้มแหล่งหล้าธรณี”) เนื่องจากพระองค์มีบทบาทในการรวบรวมแผ่นดินลาวให้เป็นปึกแผ่น ทั้งยังทรงวางรากฐานของพระพุทธศาสนาในลาวและทรงยกย่องให้เป็นศาสนาหลักของอาณาจักร

พระเจ้าฟ้างุ้มเป็นพระราชโอรสของท้าวผีฟ้า และเป็นพระราชนัดดาของพระยาสุวรรณคำผง โดยในรัชสมัยของพระยาคำผง ท้าวผีฟ้า ซึ่งเป็นพระบิดาของพระเจ้าฟ้างุ้มได้ถูกเนรเทศ จึงเสด็จหนีไปพึ่งพระบรมโพธิสมภารของกษัตริย์เขมร ในเวลาต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระยาคำผง อันเป็นช่วงเวลาที่อาณาจักรเขมรเริ่มเสื่อมอำนาจ ในขณะเดียวกันที่อาณาจักรสุโขทัยเข้มแข็งขึ้น ฝ่ายเขมรจึงต้องการคานอำนาจของสุโขทัย จึงได้สนับสนุนให้พระยาฟ้างุ้มซึ่งเสด็จติดตามพระราชบิดาไปประทับที่อาณาจักรเขมรนั้น นำกำลังเข้าแย่งชิงอำนาจจากพระยาฟ้าคำเฮียวซึ่งเป็นพระปิตุลา (อา) ผู้ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระยาคำผง พระยาฟ้างุ้มสามารถเอาชนะพระยาฟ้าคำเฮียวได้ จึงเสด็จขึ้นครองราชย์และสถาปนาอาณาจักรล้านช้างขึ้นอย่างเป็นทางการ

ในรัชสมัยของพระยาฟ้างุ้ม แม้พระองค์จะได้สร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคงให้กับอาณาจักรล้านช้าง แต่อิทธิพลของขุนนางฝ่ายเขมร ได้เข้ามามีบทบาทในอาณาจักรล้านช้างเป็นอย่างมาก จนสร้างเกิดความขัดแย้งขึ้น จนในที่สุดพระองค์จึงถูกบรรดาขุนนางร่วมกันปลดออกจากพระราชสมบัติในปี พ.ศ. 1899 แล้วอัญเชิญพระยาอุ่นเฮือนพระราชโอรสขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระราชบิดา ส่วนพระยาฟ้างุ้มได้เสด็จมาประทับอยู่ ณ เมืองน่านกระทั่งสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 1916

ในรัชสมัยของพระยาอุ่นเฮือน (พ.ศ. 1899 – 1916) และอีกสองรัชสมัยต่อมา คือในรัชสมัยของพระเจ้าสามแสนไทยไตรภูวนาถ(พ.ศ. 1916 – 1959) และพระยาล้านคำแดง(พ.ศ. 1959 – 1971) เป็นช่วงที่อาณาจักรล้านช้างปลอดจากการรุกรานจากภายนอก เนื่องด้วยการเสื่อมอำนาจลงของอาณาจักรเขมรเป็นสำคัญ อีกทั้งฝ่ายสุโขทัยที่เข้มแข็งขึ้นก็มุ่งอยู่กับการปราบปรามอำนาจของเขมรที่เคยมีเหนือดินแดนตน ทางอาณาจักรจามปาซึ่งเพิ่งพ่ายแพ้ต่อจักรวรรดิมองโกลก็ยังไม่เข้มแข็ง การแข่งขันกันสร้างเสริมความมั่นคงของสุโขทัยและล้านนาอันเป็นอาณาจักรที่ได้รับการสถาปนาขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน ทำให้อาณาจักรล้านช้างก็ต้องพยายามเสริมสร้างความมั่นคงของตนด้วย โดยได้มีการจัดทำบัญชีไพร่พลและปฏิรูประบบราชการครั้งใหญ่ ซึ่งด้วยทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ ก็ทำให้อาณาจักรล้านช้างมีความมั่นคงเป็นอย่างมาก

ความอ่อนแอภายใน

 

วัดวิชุนราช สร้างในสมัยพระเจ้าวิชุนราช

หลังพระยาล้านคำแดงเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1971 แล้ว อาณาจักรล้านช้างกลับตกอยู่ในสภาพระส่ำระสาย เพราะอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินอย่างแท้จริงได้ตกอยู่ในมือของพระนางมหาเทวีอามพัน (หรือนางแก้วพิมพา) ซึ่งเป็นพระขนิษฐาของพระยาล้านคำแดง พระองค์ได้ทรงใช้อำนาจที่ทรงมีอยู่แต่งตั้งกษัตริย์ขึ้นปกครองราชอาณาจักรตามอำเภอใจ หากไม่พอใจพระเจ้าแผ่นดินองค์ไหนก็ปลดออกจากตำแหน่งหรือลอบปลงพระชนม์เสีย กษัตริย์ล้านช้างในช่วงนี้จึงไม่มีองค์ใดอยู่ในราชสมบัติได้นานนัก ส่วนมากทรงครองราชย์อยู่ได้ไม่ถึงปี สร้างความปั่นป่วนแก่ราชสำนักและยังความเสียหายต่อการบริหารราชการแผ่นดินเป็นอย่างยิ่ง ในปี พ.ศ. 1981 บรรดาขุนนางทั้งหลายจึงปรีกษากันว่าจะเอาพระนางมหาเทวีไว้ไม่ได้จึงพร้อมในกันจับตัวพระนางสำเร็จโทษ แล้วเชิญพระราชโอรสของพระยาล้านคำแดงขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้าไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้ว อาณาจักรล้านช้างจึงกลับคืนสู่ความสงบอีกครั้ง เป็นการยุติความยุ่งเหยิงซึ่งกินเวลานานถึงสิบกว่าปี

พ.ศ. 2023 จักรวรรดิเวียดนามซึ่งเริ่มมีกำลังกล้าแข็งจึงได้ทียกทัพเข้ามารุกรานและสามารถยึดครองเมืองเชียงทองอันเป็นเมืองหลวงไว้ได้ พระเจ้าไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้วต้องเสด็จหนีไปประทับอยู่ ณ เมืองเชียงคาน แล้วมอบพระราชสมบัติให้กับพระเจ้าสุวรรณบัลลังก์ ซึ่งเป็นพระราชโอรส พระเจ้าสุวรรณบัลลังก์ทรงนำไพร่พลขับไล่ชาวเวียดนามออกไปได้ จากนั้นจึงทรงเวนพระราชสมบัติถวายแก่พระราชบิดา พระเจ้าไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้วจึงเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นครั้งที่สอง กระทั่งเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2022 พระเจ้าสุวรรณบัลลังก์จึงได้เสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระราชบิดาอีกครั้ง จวบจนเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2029 พระยาหล้าแสนไทย พระอนุชาได้เสด็จขึ้นครองราชย์และเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2039 โดยได้มอบพระราชสมบัติให้แก่เจ้าชมพูพระราชโอรส แต่เจ้าชมพูครองราชย์อยู่ได้ห้าปีก็ถูกบรรดาขุนนางร่วมกันก่อกบฏแล้วจับสำเร็จโทษเสีย จากนั้นก็อัญเชิญพระเจ้าวิชุลราช พระราชโอรสของพระเจ้าไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้ว เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2044 พระองค์โดยโปรดให้สร้างวัดวิชุลราชแล้วอัญเชิญพระบางมาประดิษฐาน ดังนั้นเมืองเชียงทองจึงถูกเรียกว่าหลวงพระบางนับแต่นั้นมา

สายสัมพันธ์แห่งอำนาจระหว่างล้านช้างกับล้านนา

 

พระบาง พระคู่บ้านคู่เมืองของอาณาจักรล้านช้าง

ในรัชสมัยของพระเจ้าโพธิสารราช (พ.ศ. 2063 - พ.ศ. 2090) นับได้ว่าเป็นรัชสมัยแห่งความรุ่งเรืองในด้านศิลปะและวรรณกรรมต่างๆ ในด้านพระพุทธศาสนา พระองค์ก็ได้ทรงประกาศห้ามให้มีการบูชาผีต่างๆ และทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาด้วยความเลื่อมใสอย่างยิ่ง โดยมีการรับอิทธิพลด้านพุทธศาสนามาจากอาณาจักรล้านนาซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับล้านช้างในเวลานั้นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการใช้อักษรธรรมล้านนาเป็นเครื่องมือศึกษาพระพุทธศาสนา (อักษรดังกล่าวนี้ได้พัฒนาเป็นอักษรธรรมลาวในเวลาต่อมา)

การที่ล้านช้างมีความสัมพันธ์กับล้านนาอย่างใกล้ชิดก็ด้วยเหตุผลด้านการเมืองเป็นหลัก กล่าวคือ ในขณะนั้นอาณาจักรล้านนาได้อ่อนแลลงจากการทำสงครามกับอาณาจักรอยุธยาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ภัยธรรมชาติ และความล้มเหลวในการรุกรานเมืองเชียงตุง เปิดช่องให้อาณาจักรข้างเคียงอย่างล้านช้าง หงสาวดี และอยุธยาสร้างอิทธิพลแทรกแซงภายในอาณาจักร โดยล้านช้างได้เข้าเกี่ยวดองกับล้านนาผ่านการเสกสมรสของเจ้านายในเครือญาติของทั้งสองฝ่าย

ต่อมาเมื่อพระเมืองเกษเกล้าแห่งล้านนาเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2088 อาณาจักรล้านนาก็เกิดความวุ่นวายจากการสรรหาผู้เหมาะสมที่จะเสด็จขึ้นครองราชย์ เหล่าขุนนางแห่งล้านนาจึงได้อัญเชิญพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช พระราชโอรสของพระเจ้าโพธิสารและเจ้าหญิงเชื้อสายล้านนา ให้เสวยราชสมบัติปกครองอาณาจักรล้านนาในปี พ.ศ. 2089 เพื่ออาศัยอิทธิพลของอาณาจักรล้านช้างคานอำนาจกับอาณาจักรหงสาวดีที่นับวันจะกล้าแข็งขึ้นเรื่อยๆ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2091 พระเจ้าโพธิสารราชทรงตกช้างระหว่างเสด็จประพาสคล้องช้างป่าและเสด็จสวรรคต ท้าววรวงศ์ (พระมหาอุปราชวงวังโส) และท้าวท่าเรือผู้เป็นพระราชโอรสองค์รองต่างพยายามจะขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ ขุนนางล้านช้างจึงเชิญพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเสด็จกลับมานครหลวงพระบางเพื่อรับเถลิงถวัลยราชสมบัติระงับเหตุวุ่นวายที่จะเกิดขึ้น โดยพระองค์ยังได้เชิญพระแก้วมรกตซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของล้านนามาสถิต ณ นครหลวงพระบางด้วย ขุนนางแห่งล้านนาจึงถวายราชสมบัติกษัตริย์ล้านนาให้แก่พระเมกุฏิ เจ้านายล้านนาเชื้อสายเมืองเชียงราย ขึ้นปกครองแทน

ความรุ่งเรืองและภัยคุกคามจากหงสาวดี

 

พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ผู้สถาปนากรุงเวียงจันทร์

รัชกาลพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช นับได้ว่าเป็นสมัยหนึ่งของประวัติศาสตร์ลาวที่มีความรุ่งเรืองมากท่ามกลางวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นรอบด้าน ชาวลาวล้วนนับถือพระองค์ว่าทรงเป็นมหาราชและทรงเป็นวีรกษัตริย์พระองค์สำคัญในประวัติศาสตร์ลาว พระองค์ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ ที่สำคัญไว้หลายประการ โดยเฉพาะด้านพระพุทธศาสนาซึ่งได้รับการทำนุบำรุงอย่างกว้างขวาง ทรงโปรดให้มีการสร้างและบูรณะปูชนียสถานในพระพุทธศาสนาหลายแห่ง เช่น ทรงสร้างหอพระแก้วเพื่อประดิษฐานพระแก้วมรกตอันได้ทรงอัญเชิญมาจากอาณาจักรล้านนา และทรงสร้างพระเจดีย์โลกจุฬามณี (พระธาตุหลวง) ที่นครเวียงจันทน์ ทรงสถาปนาพระธาตุศรีสองรักร่วมกับอาณาจักรอยุธยาที่เมืองด่านซ้าย ทรงปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมที่เมืองนคร (นครพนม) เป็นต้น

ในระยะเวลานี้เองที่อาณาจักรหงสาวดีในรัชสมัยพระเจ้าบุเรงนองมีกำลังที่เข้มแข็งและทรงอิทธิพลอย่างมาก และพยายามจะขยายอาณาจักรมาทางทิศตะวันออก พระองค์จึงโปรดให้มีการย้ายราชธานีจากหลวงพระบางมาอยู่ที่นครเวียงจันทน์เพื่อหลีกเลี่ยงอำนาจของหงสาวดีในปี พ.ศ. 2103 และพระราชทานนามราชธานีแห่งใหม่นี้ว่า "พระนครจันทบุรีศรีสัตนาคนหุตอุตตมราชธานี" ทั้งยังทรงสร้างสัมพันธไมตรีกับสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยาเพื่อเป็นกำลังในการต่อต้านพม่าซึ่งเป็นศัตรูร่วมกัน

ในปี พ.ศ. 2107 ทัพพม่าได้ติดตามจับกุมขุนนางล้านนาเชียงใหม่มาถึงเวียงจันทน์ และสามารถตีกรุงเวียงจันทน์ได้ในขณะที่พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชมิได้ประทับอยู่ในพระนคร พร้อมทั้งกวาดต้อนชาวเมืองและเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงกลับไปยังพม่าเป็นจำนวนมาก รวมถึงพระมหาอุปราชวรวังโส พระราชอนุชาของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช แล้วจึงถอยทัพกลับไป พระองค์ทรงคุมแค้นฝ่ายหงสาวดีอยู่มาก เมื่อฝ่ายอยุธยาขอความช่วยเหลือให้ช่วยรบพม่าในช่วงปี พ.ศ. 2110 – 2112 พระองค์จึงทรงส่งกองทัพไปช่วยเหลืออยุธยาแต่ไม่สำเร็จเนื่องจากถูกฝ่ายพม่าและพระมหาธรรมราชาเมืองพิษณุโลกซ้อนกลจนแตกพ่าย หลังอาณาจักรหงสาวดีพิชิตกรุงศรีอยุธยาได้แล้วพระเจ้าบุเรงนองจึงทรงส่งกองทัพมาปราบปรามล้านช้างแต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากพระเจ้าไชยเชษฐาได้ทรงนำกองทัพและชาวเมืองหลบภัยในป่าและคอยลอบโจมตีกองทัพพม่าอยู่เนืองๆ จนกองทัพพม่าต้องถอนกำลังกลับไป

ลุถึงปี พ.ศ. 2114 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้เสด็จออกปราบกบฏ ณ เมืองรามรักโองการ (เชื่อกันว่าอยู่ในพื้นที่แขวงอัตตะปือในปัจจุบัน) แล้วสูญหายไปในศึกนั้น ในเวลานั้นพระองค์ทรงมีพระราชโอรสพระองค์เดียวคือพระหน่อแก้วกุมาร ซึ่งประสูติจากบาทบริจาริกาผู้เป็นธิดาของพระยาแสนสุรินทร์ลือชัย และเพิ่งประสูติได้ไม่นาน

ความวุ่นวายในการสืบราชสมบัติ

 

วัดเชียงทอง สถาปัตยกรรมล้านช้าง สมัยสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช

หลังการหายสาบสูญพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ในกรุงเวียงจันทน์ก็เกิดสงครามกลางเมืองจากการแก่งแย่งตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระหน่อแก้วกุมารระหว่างเสนาบดีผู้ใหญ่ 2 คน คือ พระยาแสนสุรินทร์ลือชัย อัครมหาเสนาบดีฝ่ายซ้ายผู้มีสถานะเป็นพระอัยกาของพระราชกุมาร กับพระยาจันทสีหราช อัครมหาเสนาบดีฝ่ายขวา ที่สุดแล้วพระยาแสนสุรินทร์ลือชัยเป็นฝ่ายชนะ จึงสถาปนาตนเองเป็นพระสุมังคละอัยโกโพธิสัตว์ราชา เป็นผู้ว่าราชการแผ่นดินแทนพระหน่อแก้วกุมารผู้ทรงพระเยาว์ คนทั่วไปเรียกว่า “พระเจ้าปู่หลาน”

พ.ศ. 2118 ฝ่ายพม่าได้ยกทัพมาตีเมืองเวียงจันทน์ได้ จึงคุมตัวพระยาแสนสุรินทร์ลือชัยกลับหงสาวดี แล้วแต่งตั้งให้พระมหาอุปราชวรวังโส พระอนุชาของสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชซึ่งถูกคุมตัวไปหงสาวดีตั้งแต่ครั้งที่พม่าตีเมืองเวียงจันทน์ครั้งแรก ขึ้นปกครองเมือง

พ.ศ. 2123 ได้เกิดกบฏขึ้นที่เมืองเวียงจันทน์ พระมหาอุปราชสู้ไม่ได้จึงเสด็จหนีแต่ได้สิ้นพระชนม์ระหว่างการเดินทาง เมื่อพม่าได้ยกทัพมาปราบกบฏได้ จึงแต่งตั้งให้พระยาแสนสุรินทร์ลือชัยขึ้นปกครองเมืองอีกครั้ง กระทั่งถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. 2125 จากนั้น พระยานครน้อย บุตรของพระยาแสนสุรินทร์ลือชัยได้ขึ้นปกครองเมืองสืบต่อจากบิดา แต่ไม่ได้รับความนิยมจากชาวเมืองจึงถูกขุนนางร่วมกันปลดออกจากราชสมบัติ นับแต่นั้นเมืองเวียงจันทน์ก็อยู่ในสภาพไร้ผู้ปกครองถึงแปดปี ขุนนางทั้งหลายจึงได้แต่งตั้งให้คณะสงฆ์เดินทางไปเข้าเฝ้าพระเจ้าบุเรงนองเพื่อทูลขอตัวพระหน่อแก้วกุมารมาครองเมือง พระหน่อแก้วจึงได้ขึ้นครองเมืองเวียงจันทน์อีกครั้งในปีพ.ศ. 2134

พ.ศ. 2139 พระหน่อแก้วกุมารสวรรคต ทำให้พระวรวงศาธรรมิกราชซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของพระหน่อแก้วกุมาร ได้รับการอัญเชิญให้ปกครองเมืองเวียงจันทน์

พ.ศ. 2164 พระวรวงศาธรรมิกราชเกิดข้อขัดแย้งกับพระอุปยุวราช พระราชโอรส จนถึงขั้นเข้าต่อสู้กัน พระวรวงศาธรรมิกราชเสด็จสวรรคตในการต่อสู้ พระอุปยุวราชจึงเสด็จขึ้นครองราชย์ แต่ทรงครองราชย์ได้เพียงปีกว่าก็เสด็จสวรรคต ประชาชนก็ได้ร่วมกันอัญเชิญพระยามหานามอันเป็นขุนนางผู้ใหญ่ดำรงตำแหน่งพระยานครขึ้นเป็นกษัตริย์ มีพระนามว่าพระยาบัณฑิตโพธิสาร ทรงครองราชย์ได้สี่ปีก็เสด็จสวรรคต ประชาชนจึงร่วมกันอัญเชิญพระหม่อมแก้ว พระโอรสในพระวรวงศาธรรมิกราช เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2170 เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต พระยาอุปยุวราช พระราชโอรสได้เสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระราชบิดา เมื่อพระอุปยุวราชเสด็จสวรรคต พระโอรสทั้งสองพระองค์ คือ ท้าวต่อนคำ และท้าววิชัย ได้ร่วมกันปกครองบ้านเมือง กระทั่งท้าววิชัยเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2179

ความรุ่งเรืองครั้งสุดท้าย

พระเจ้าสุริยวงศาธรรมมิกราช(พ.ศ. 2181- พ.ศ. 2238) เป็นยุคแห่งความเจริญรุ่งเรืองอีกยุคหนึ่ง เนื่องด้วยพระองค์มีวิธีการปกครองบ้านเมืองหลักแหลมและเป็นธรรม ทำให้ล้านช้างมีความมั่นคงและสงบร่มเย็นกว่าครึ่งศตวรรษ ทั้งความรุ่งเรื่องทางสถาปัตยกรรม อักษรศาสตร์ ศิลปะแขนงต่างๆ ตลอดจนการค้าขายกับต่างชาติ

พระองค์ทรงเป็นผู้ที่มีความยุติธรรม จากรณีที่พระราชโอรสของพระองค์ได้กระทำความผิดลักลอบเป็นชู้กับภริยาของขุนนางผู้หนึ่ง พระองค์ก็ลงโทษตามอาญาถึงขั้นประหารชีวิตโดยมิได้ใส่ใจว่าเป็นพระโอรส ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงอยู่ในสภาพที่ไร้รัชทายาท และเมื่อพระองค์สวรรคตโดยไร้รัชทายาท ประชาชนจึงได้อัญเชิญพระยาเมืองจันซึ่งเป็นขุนนางผู้ใหญ่ให้ขึ้นเป็นกษัตริย์ แต่ก็ครองราชย์อยู่ได้หกปี เจ้านันทราชแห่งเมืองน่านก็ยกทัพเข้ามาชิงเมืองเวียงจันทน์ไว้ได้ เจ้านันทราชจึงได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้างใน พ.ศ. 2238

ยุคแห่งความแตกแยก

กำเนิดล้านช้างสามอาณาจักร

เมื่อสิ้นรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ราชอาณาจักรล้านช้างเกิดภาวะระส่ำระสายอย่างหนัก จากการแก่งแย่งอำนาจของบรรดาเชื้อพระวงศ์ จนทำให้ราชอาณาจักรแตกแยกออกเป็น 3 ราชอาณาจักรเอกราช ได้แก่

 

วัดสีสะเกดหรือวัดแสน สร้างในสมัยพระเจ้าอนุวงศ์แห่งอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์

1. อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์

อาณาจักรนี้คืออาณาจักรที่สืบทอดจากอาณาจักรล้านช้างศรีสัตนาคนหุตเดิม มีอาณาปกครองดินแดนลาวภาคกลางในปัจจุบัน มีพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 เป็นปฐมกษัตริย์ พระไชยเชษฐาองค์นี้ทรงเป็นเชื้อพระวงศ์ที่ลี้ภัยการเมืองไปอยู่ที่จักรวรรดิเวียดนาม ซึ่งมีราชธานีในขณะนั้นอยู่ที่เมืองเว้ คนทั้งหลายจึงขนานพระนามอีกอย่างว่าพระไชยองค์เว้หรือพระไชยองค์เวียด พระองค์ได้นำกำลังจากเวียดนามเข้ายึดกรุงเวียงจันทน์จับเจ้านันทราชสำเร็จโทษ แล้วราชาภิเษกพระองค์เองเป็นกษัตริย์ในปี พ.ศ. 2241 จากนั้นจึงทรงตั้งท้าวลองเป็นเจ้าอุปราชครองเมืองหลวงพระบางแต่ไม่ได้รับการยอมรับจากชาวลาวทั้งมวล เพราะพระองค์มีความใกล้ชิดกับจักรวรรดิเวียดนาม

ในปี พ.ศ. 2250 เจ้ากิ่งกิสราชกับเจ้าองค์คำ พระราชนัดดาของพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ที่หนีไปประทับที่เมืองหงสา (อยู่ในแขวงไซยะบูลีในปัจจุบัน) ได้ยกทัพเข้ามาชิงเมืองหลวงพระบาง จับเจ้าอุปราชท้าวลองสำเร็จโทษ และเตรียมจะยกทัพเข้าตีกรุงเวียงจันทน์ พระไชยองค์เว้จึงทรงมีพระราชสาส์นไปยังสมเด็จพระเพทราชาแห่งกรุงศรีอยุธยาเพื่อขอความช่วยเหลือ ฝ่ายกรุงศรีอยุธยาจึงไกล่เกลี่ยทั้งสองฝ่ายให้ยุติการรบและปกปันเขตแดนต่อกัน ทำให้หลวงพระบางกลายเป็นอาณาจักรเอกราชไม่ขึ้นกับเวียงจันทน์มานับแต่นั้น ในยุคนี้จึงนับได้ว่าเป็นยุคที่ลาวแตกแยกเป็น 2 อาณาจักร คือ อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์และอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง ซึ่งเวียงจันทน์ก็เองไม่ไว้ใจและหาทางทำลายฝ่ายหลวงพระบางอยู่ตลอด

 

ตราแผ่นดินพระราชอาณาจักรลาว เป็นตราประจำราชวงศ์ล้านช้างหรือราชวงศ์ขุนลอ ซึ่งสืบเชื้อสายทางผู้ปกครองอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง

2. อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง

อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบางถือกำเนิดจากความแตกแยกระหว่างเวียงจันทน์และหลวงพระบางในปี พ.ศ. 2250 ดังได้กล่าวมาแล้ว มีอาณาปกครองดินแดนลาวภาคเหนือในปัจจุบัน มีพระเจ้ากิ่งกิสราชเป็นปฐมกษัตริย์ (พ.ศ. 2249 - 2256) และมีเชื้อสายกษัตริย์สืบราชสมบัติต่อมาจนกระทั่งประเทศลาวเป็นเอกราชจากฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2492 และเป็นกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรลาวต่อมาจนถึงปี พ.ศ. 2518 ในยุคแรกอาณาจักรนี้เกิดการแย่งชิงอำนาจภายในของตนเองเป็นระยะ และมีการจะขอกำลังจากรัฐที่ใหญ่กว่าอย่างพม่ามาช่วยเหลือเสมอ แน่นอนว่าฝ่ายหลวงพระบางก็ไม่ไว้ใจและหาทางทำลายฝ่ายเวียงจันทน์เช่นกัน

3. อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์

อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์มีกำเนิดมาจากการอพยพหลบภัยการเมืองของเจ้านางสุมังคละและประชาชนส่วนหนึ่งภายใต้การนำของเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก พระเถระผู้ใหญ่ในรัชสมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช มูลเหตุมาจากพระยาเมืองจันผู้เป็นเสนาบดีได้ชิงราชสมบัติขึ้นครองอาณาจักรหลังพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชเสด็จสวรรคต และคิดจะเอาเจ้านางสุมังคละ พระราชนัดดาของพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช (ซึ่งทรงเป็นหม้ายและกำลังทรงครรภ์) เป็นมเหสี แต่นางไม่ยอม จึงหนีไปขอความช่วยเหลือจากเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กจึงพาญาติโยมของตนประมาณ 3,000 คนและเจ้านางสุมังคละหนีออกจากเวียงจันทน์ทางใต้ไปซ่อนตัวอยู่ที่บ้านงิ้วพันลำโสมสนุก ณ ที่นั้นเจ้านางสุมังคละได้ประสูติพระโอรสนามว่า เจ้าหน่อกษัตริย์

ต่อมานางแพงเจ้าเมืองจำปาสักชาวพื้นเมืองได้อาราธนาเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กมาปกครองบ้านเมือง เจ้าราชครูหลวงปกครองบ้านเมืองได้ระยะหนึ่งก็เกิดปัญหาการปกครองในบางประการซึ่งเอาหลักทางธรรมมาตัดสินและยุติปัญหาไม่ได้ ท่านจึงให้คนไปเชิญเจ้าหน่อกษัตริย์ซึ่งเจริญพระชนม์มากพอที่จะปกครองบ้านเมืองได้แล้ว มาทำพิธีราชาภิเษกเป็นกษัตริย์ปกครองนครจำปาสักในปี พ.ศ. 2257 ทรงพระนามว่า เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร อาณาจักรล้านช้างแห่งที่ 3 คือ อาณาจักรล้านช้างจำปาสัก จึงถือกำเนิดขึ้นในปีนี้ พระองค์ได้ประกาศอาณาเขตแยกออกจากเวียงจันทน์ ปกครองดินแดนลาวภาคใต้ตั้งแต่เขตเมืองนครพนม เมืองคำม่วน ลงไปจนถึงเมืองเชียงแตง เมืองมโนไพรต่อแดนเขมร ส่วนทางด้านตะวันตกอาณาเขตไปไกลจนถึงเมืองท่งหรือเมืองสุวรรณภูมิ เชื้อสายของกษัตริย์แห่งอาณาจักรนี้ได้ปกครองจำปาสักต่อมาทั้งในฐานะกษัตริย์ เจ้าผู้ครองนคร และผู้ว่าราชการเมือง จนกระทั่งแผ่นดินลาวรวมเป็นหนึ่งในปี พ.ศ. 2489 แต่ยังคงมีบทบาททางการเมืองในลาวยุคพระราชอาณาจักรมาตลอดจนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2518

การสูญเสียเอกราชแก่สยาม

เมื่ออาณาจักรล้านช้างแตกเป็น 3 อาณาจักรเอกราช แต่ละอาณาจักรต่างตั้งตนเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกันและไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะกับหลวงพระบางและเวียงจันทน์แล้ว ทั้งสองอาณาจักรนี้ล้วนถือว่าอีกฝ่ายเป็นศัตรูเลยทีเดียว ต่างก็จ้องหาทางทำลายล้างต่อกันด้วยการอาศัยกำลังทหารพม่าที่มีอำนาจในล้านนาอยู่ตลอด

มูลเหตุที่อาณาจักรล้านช้างทั้งสามจะเสียเอกราชให้แก่สยามมาจากความขัดแย้งภายในของอาณาจักรล้านช้าง ระหว่างพระเจ้าศิริบุญสารกษัตริย์เวียงจันทน์กับเจ้าพระวอ เจ้าพระตา สองขุนนางผู้ใหญ่ ทั้งสองคนนี้เป็นพี่น้องกัน (บางแห่งว่าพระวอเป็นพี่ พระตาเป็นน้อง บางแห่งว่ากลับกัน บางแห่งว่าทั้งสองคนเป็นคนเดียวกันก็มี) มีเชื้อสายเจ้าปางคำเมืองเชียงรุ้ง ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากกษัตริย์เวียงจันทน์ให้ตั้งถิ่นฐานที่เมืองหนองบัวลุ่มภูซึ่งเป็นเมืองหน้าด่าน ทั้งสองเคยได้ช่วยเหลือให้พระเจ้าศิริบุญสารได้เสวยราชสมบัติในเวียงจันทน์มาก่อน ต่อมาในปี พ.ศ. 2313 พระเจ้าศิริบุญสารทรงขอตัวลูกสาวของขุนนางทั้งสองทำนองจะเอาไว้เป็นตัวประกัน เจ้าพระวอ เจ้าพระตา ไม่พอใจพระเจ้าศิริบุญสารมาก จึงกลับมาตั้งมั่นเตรียมสู้รบอยู่ที่เมืองหนองบัวลุ่มภู (สาเหตุที่ขัดแย้งกันยังมีต่างออกไปอีกตามหลักฐานแต่ละแห่ง)

พระเจ้าศิริบุญสารทรงส่งกองทัพมาปราบถึงสามครั้ง กองทัพฝ่ายเจ้าพระวอเจ้าพระตาก็ชนะทุกครั้ง แต่เมื่อรบนานไปฝ่ายหนองบัวลุ่มภูเห็นว่าจะแพ้เพราะกำลังรบลดลงแน่นอนจึงได้ขอความช่วยเหลือจากกองทัพพม่า ทว่ากองทัพพม่ากลับให้ความช่วยเหลือแก่ฝ่ายเวียงจันทน์เพราะฝ่ายเวียงจันทน์ส่งคนไปขอความช่วยเหลือตัดหน้าฝ่ายหนองบัวลุ่มภู ในการรบครั้งต่อมาฝ่ายหนองบัวลุ่มภูจึงแพ้ เจ้าพระตาตายในที่รบ เจ้าพระวอจึงนำไพร่พลและเชื้อสายที่รอดตายหนีไปพึ่งพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารแห่งอาณาจักรล้านช้างจำปาสัก โดยไปตั้งมั่นอยู่ที่บ้านเวียงดอนกองซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีของไทยในปัจจุบัน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2319 เจ้าพระวอเกิดความขัดแย้งกับพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารจากเรื่องการสร้างกำแพงเมืองกับการสร้างหอคำ (เรือนหลวง) จึงได้พาไพร่พลมาตั้งมั่นที่บ้านดอนมดแดงและทำหนังสือขอเป็นขอบขัณฑสีมาของกรุงสยามในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งพระองค์ก็ได้รับไว้ ฝ่ายเวียงจันทน์เห็นว่าถ้าส่งกำลังไปปราบเจ้าพระวอแล้วฝ่ายจำปาสักจะไม่ให้ความช่วยเหลือเจ้าพระวอแน่นอนจึงทรงส่งกองทัพมาจับเจ้าพระวอฆ่าที่บ้านดอนมดแดงเสีย ท้าวคำผง ท้าวทิดพรหม และท้าวก่ำ บุตรหลานของเจ้าพระวอและเจ้าพระตาซึ่งตีฝ่าวงล้อมออกมาได้จึงแจ้งเรื่องกราบทูลไปยังกรุงธนบุรีผ่านทางเมืองนครราชสีมา

สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงพระพิโรธมากที่ฝ่ายเวียงจันทน์ส่งกองทัพมาฆ่าผู้ที่อยู่ในขอบขัณฑสีมาของพระองค์ กอปรกับพระองค์เองก็ไม่ทรงไว้ใจฝ่ายเวียงจันทน์ที่มีท่าทีฝักใฝ่อาณาจักรพม่าซึ่งยังคงคุกคามฝ่ายสยามอยู่ตลอด ในปี พ.ศ. 2321 พระองค์จึงทรงส่งกองทัพภายใต้การนำของสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์ขึ้นไปตีอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ โดยไล่ตีมาทางใต้ผ่านทางอาณาจักรล้านช้างจำปาสักก่อน ฝ่ายจำปาสักเห็นว่าจะสู้กองทัพไทยไม่ได้จึงยอมอ่อนน้อมโดยดี จากนั้นจึงยกทัพขึ้นเหนือตีหัวเมืองหน้าด่านของเวียงจันทน์เรื่อยมา จนสามารถหักเอาเมืองเวียงจันทน์ได้สำเร็จ ฝ่ายสยามจึงกวาดต้อนทรัพย์สิน ผู้คน ขุนนาง เชื้อพระวงศ์ และกุมตัวพระเจ้าศิริบุญสารลงมายังกรุงธนบุรี ด้านอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบางซึ่งเป็นอริกับเวียงจันทน์มาตลอดก็ได้ให้ความช่วยเหลือฝ่ายสยามในสงครามครั้งนี้อย่างเต็มที่ แต่พอสิ้นศึกก็ถูกฝ่ายไทยบังคับให้ยอมอ่อนน้อมเป็นเมืองขึ้นด้วยเช่นกัน อาณาจักรล้านช้างทั้งสามแห่งจึงตกเป็นประเทศราชของไทยทั้งหมดในปี พ.ศ. 2321 นี้เอง แม้ต่อมาภายในสยามก็เกิดการเปลี่ยนแปลงราชวงศ์สู่ราชวงศ์จักรีและย้ายราชธานีมายังกรุงรัตนโกสินทร์ในปี พ.ศ. 2325 ก็ตาม แต่ภาวะความเป็นประเทศราชของทั้งสามอาณาจักรก็มิได้เปลี่ยนแปลง

 

อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์

ภายหลังที่สูญเสียเอกราชให้แก่อาณาจักรสยาม พระเจ้าแผ่นดินเสียมจึงให้เจ้านันทเสนโอรสของพระเจ้าศิริบุญสาร เสด็จขึ้นครองราชย์แทน แล้วแต่งตั้งเจ้าอินทวงศ์เป็นอุปราช ส่วนเจ้าอนุวงศ์และเจ้าพรหมวงศ์ให้ลงไปเป็นตัวประกันที่กรุงธนบุรี แต่ต่อมาก็เกิดข้อพิพาทฟ้องร้องกันกับเจ้าอนุรุทธแห่งนครหลวงพระบางหลายครั้ง จนครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2336 เจ้านันทเสนถูกกล่าวหาว่าสมคบกับเจ้าเมืองนครพนมและเวียดนามจะก่อการกบฏ จึงถูกเรียกตัวลงไปสอบสวนที่กรุงเทพฯ พระองค์ต่อสู้คดีอยู่ 2 ปี ก็เสด็จสวรรคต

เจ้าอินทวงศ์พระอนุชาของเจ้านันทเสนได้ครองราชย์สืบต่อ และครองเมืองมาถึงปี พ.ศ. 2346 ก็ถึงแก่พิราลัย ทำให้เจ้าอนุวงศ์ พระราชโอรสองค์ที่ 3 ของพระเจ้าศิริบุญสารได้ขึ้นครองราชสมบัติในนครเวียงจันทน์ พระองค์เป็นผู้มีความสามารถในหลายด้าน โดยได้เคยยกทัพไปช่วยฝ่ายไทยรบกับพม่าจนได้รับชัยชนะหลายครั้ง ตลอดจนได้ทรงจัดแจงสร้างบ้านแปลงเมืองให้เจริญรุ่งเรืองในหลายด้าน ทั้งในทางพระพุทธศานาและทางทหาร ทั้งได้ฟื้นฟูความสัมพันธ์กับหลวงพระบางและจำปาศักดิ์ พระองค์ทรงมีความพยายามที่จะกอบกู้อิสรภาพคืนจากไทยแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จึงถูกจับตัวส่งลงไปที่กรุงเทพฯ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และสด็จสวรรคตในพ.ศ. 2371

เมื่อกองทัพอาณาจักรสยามตีนครเวียงจันทน์ครั้งที่ 2 ในรัชกาลของเจ้าอนุวงศ์นี้ ฝ่ายสยาม (รัชกาลที่ 3) ได้สั่งให้ "ทำลายนครเวียงจันทน์ให้สิ้นซาก" ทั้งกำแพงเมืองและวัดวาอารามต่างๆ ตลอดจนต้นไม้และไร่นาก็ถูกเผาจนหมดสิ้น อีกทั้งให้ล้มเลิกอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์เสีย มิให้มีเมืองและเจ้าครองนครอีกต่อไป นครเวียงจันทน์ที่เคยรุ่งเรืองและอุดมสมบูรณ์มาหลายร้อยปี ก็ถูกทำลายลงจนถึงกาลอวสานกลายเป็นเมืองร้าง ในปี พ.ศ. 2371

อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง

เมื่อสูญเสียเอกราชใน พ.ศ. 2321 ในสมัยเจ้าสุริยวงศ์ พระองค์จึงถูกคุมตัวลงไปที่กรุงธนบุรี ภายหลังจึงถูกส่งคืนมาเป็นเจ้านครหลวงพระบาง และเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2334 บรรดาเสนาอำมาตย์จึงทูลเชิญเจ้าอนุรุทธ พระอนุชาของเจ้าสุริยวงศ์ขึ้นครองราชย์ เมื่อเจ้านันทเสนแห่งเวียงจันทน์ยกทัพมาตีหลวงพระบางได้ เจ้าอนุรุทธจึงถูกส่งลงไปขังที่กรุงเทพฯอยู่ 4 ปี จึงได้เสด็จกลับมาขึ้นครองราชย์ตามเดิม และเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2339 เจ้ามันธาตุราช โอรสของเจ้าอนุรุทธะจึงได้ขึ้นครองเมืองแทนใน พ.ศ. 2360 ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จสวรรคต เจ้ามันธาตุราชจึงได้เสด็จลงไปกรุงเทพฯ เพื่ออุปสมบทต่อหน้าพระบรมศพแล้วจึงเสด็จกลับมาครองครองราชย์ตามเดิม โดยในปี พ.ศ. 2370 เกิดเหตุการณ์กบฏเจ้าอนุวงศ์ เจ้ามันธาตุราชจึงได้ส่งกำลังพลไปช่วยกองทัพไทยตีเวียงจันทน์

เมื่อเจ้ามันธาตุราชสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2379 ทางกรุงเทพฯจึงตั้งให้เจ้าสุกเสริม โอรสของเจ้ามันตุราชขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินหลวงพระบางใน พ.ศ. 2381 และสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. 2393 เจ้านันทราชราชโอรสองค์ที่ 2 ของเจ้ามันธาตุราชได้ครองราชสืบแทนและครองราชย์อยู่ 20 ปี จึงสวรรคตใน พ.ศ. 2414 ทำให้เจ้าอุ่นคำโอรสของเจ้ามันตุราช ได้ครองราชสมบัติสืบต่อ ในรัชสมัยนี้เจ้าอุ่นคำนี้ได้เกิดกบฏฮ่อขึ้นทำให้พระองค์หนีไปอยู่ที่เมืองปากลาย รัฐบาลไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้จึงได้ส่งกองทัพมาปราบ พร้อมทั้งปลดเจ้าอุ่นคำออกจากบัลลังก์ แล้วตั้งเจ้าคำสุกโอรสของเจ้าอุ่นคำขึ้นครองราชย์แทน ในพ.ศ. 2432

เจ้าคำสุกได้ ได้ขึ้นครองราชย์จนถึง พ.ศ. 2436 เกิดกรณีพิพาทสยาม-ฝรั่งเศส รัฐบาลสยามได้ยอมยกดินแดนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงทั้งหมดให้แก่รัฐบาลฝรั่งเศส เจ้าคำสุกจึงเป็นพระเจ้าแผ่นดินหลวงพระบางภายใต้การอารักขาของฝรั่งเศส จนถึง พ.ศ. 2448 จึงสิ้นพระชนม์

 อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์

ภายหลังจากที่จำปาศักดิ์แยกเป็นอิสระจากเวียงจันทน์เมื่อ พ.ศ. 2257 โดยมีเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร ผู้เป็นหลานของพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2321 ในสมัยของเจ้าไชยกุมาร นครจำปาศักดิ์ก็ต้องเสียเอกราชให้แก่ไทย ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2334 ได้เกิดกบฏขึ้นในนครจำปาศักดิ์ทำให้เจ้าไชยกุมารต้องเสด็จหนีแล้วไปสวรรคตในป่า แต่ท้าวฝ่ายหน้าแห่งบ้านสิงห์ท่า (เมืองยโสธร) กับพระปทุมสุรราช (คำผง) เจ้าเมืองอุบล ได้ยกกองกำลังไปปราบกบฏและตีเอาเมืองจำปาศักดิ์คืนมาได้ ทำให้ท้าวฝ่ายหน้าได้รับแต่งตั้งจากไทยให้เป็นเจ้านครจำปาศักดิ์มีนามว่า พระวิไชยราชขัตติยวงศา

เมื่อพระวิไชยราชขัตติยวงศาถึงแก่กรรมใน พ.ศ. 2350 ฝ่ายอาณาจักรสยามจึงได้แต่งตั้งเจ้านู โอรสของเจ้าไชยกุมาร ขึ้นเป็นเจ้าเมืองแทน แต่ก็ถึงแก่พิราลัย หลังรับสุพรรณบัตรเจ้าเมืองได้เพียง 3 วัน ฝ่ายไทยจึงได้แต่งตั้งให้เจ้าหมาน้อย โอรสของอุปราชสุริโย เป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ ต่อมาเกิดกบฏอ้ายสาเกียดโง้งขึ้นในเมือง ทำให้เจ้าหมาน้อยถูกส่งตัวลงไปยังกรุงเทพฯ และได้ถึงแก่กรรมที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2370 เจ้าราชบุตรโย้ โอรสของเจ้าอนุวงศ์ ที่มีความชอบจากการปราบกบฏอ้ายสา จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์กบฏเจ้าอนุวงศ์ขึ้น เจ้าราชบุตรโย้จึงถูกเจ้าฮุยจับตัวส่งให้แก่ทางกรุงเทพฯ เจ้าฮุยจึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ใน พ.ศ. 2371

เมื่อเจ้าฮุยถึงแก่พิราลัยใน พ.ศ. 2384 เจ้านาคผู้เป็นอุปราชจึงได้ครองเมืองสืบแทน จนถึงแก่พิราลัยด้วยอหิวาตกโรคใน พ.ศ. 2396 ทางฝ่ายสยามจึงได้แต่งตั้งเจ้าคำใหญ่ ผู้เป็นโอรสของเจ้าฮุย ขึ้นเป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ มีนามว่า เจ้ายุติธรรมธร (คำใหญ่) จนถึง พ.ศ. 2402 ก็ถึงแก่กรรม เจ้าคำสุกผู้เป็นอนุชาจึงได้เป็นเจ้านครจำปาศักดิ์สืบแทน มีพระนามว่า เจ้ายุติธรรมธร (คำสุก) พระองค์ได้ส่งบุตรชายทั้ง 3 ไปยังกรุงเทพฯจนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ทั้งสามคนได้แก่ เจ้าราชดนัย (หยุย) เจ้าศักดิ์ประสิทธิ์ (เจ้าเบง) และเจ้าศักดิ์ประเสริฐ (เจ้าอุย)

เมื่อเกิดกรณีพิพาทสยาม-ฝรั่งเศส ฝ่ายอาณาจักรสยามได้ยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2446 เมื่อเจ้ายุติธรรมธร (คำสุก) ถึงแก่พิราลัย เจ้าราชดนัย (หยุย) ก็ได้รับแต่งตั้งจากฝรั่งเศสให้เป็นผู้ว่าการนครจำปาศักดิ์ ดังนั้นอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์จึงมีฐานะเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส