วันอังคารที่ 9 มีนาคม พ.ศ. 2553

ใครฆ่าพระเจ้าตาก

247477

สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราช (สมเด็จพระรามาธิบดีที่4) กอบกู้ชาติ แต่ทำไมจุดสิ้นสุดของผู้มีคุณูปการของบ้านเมือง ตามที่ประวัติศาสตร์จารึกไว้ น่าสงสารมากล่ะครับ อ่านประวัติศาสตร์แล้วเชื่อตามนั้น จะเป็นยังไงครับ เพื่อนรักคนสนิท หักหลัง แล้วทุบด้วยท่อนจันทน์ แล้วนั่งเมืองแทน ??....

ผมจะเริ่มด้วยบทนำของ "หลวงวิจิตวาทการ" ที่เขียนใน "หนังสือใครฆ่าพระเจ้าตาก" ท่านเขียนว่า

เรื่องต่าง ๆ ที่ประมวลมาเป็น “วิจิตรวรรณกรรม” เล่มนี้ จำเป็นต้องมีคำอธิบายบ้าง เรื่องแรกคือ “ใครฆ่าพระเจ้ากรุงธน” เป็นเรื่องที่ทำให้เกิดความสนใจมากเกินกว่าที่ข้าพเจ้าคาดหมายไว้เมื่อแรก เขียน สำนักงาน”เพลินจิตต์” ได้แจ้งให้ข้าพเจ้าทราบ ในขณะที่เรื่องนี้ลงใน “เพลินจิตต์รายสัปดาห์” ว่ามหาชนได้แสดงความสนใจในเรื่องนี้เป็นอย่างสูง มีจดหมายมากมายหลายฉบับ ถามไปทางสำนักพิมพ์ ว่าเรื่องนี้มีความจริงในประวัติศาสตร์เพียงไร

ยิ่งกว่านั้น เจ้าหน้าที่ทางหอสมุดแห่งชาติเองก็บอกข้าพเจ้าว่า มีผู้ไปสอบถามหลายคน ถึงเรื่องมีผีดุในหอสมุด ว่ามีจริงหรือไม่ และตัวข้าพเจ้าเองก็ถูกถามบ่อย ๆ จากผู้ที่ได้พบปะ ว่าเรื่อง “ใครฆ่าพระเจ้ากรุงธน” นั้น เขียนเล่นหรือเขียนจริง

ข้าพเจ้าไม่รู้จะทำอย่างไร การที่จะตอบว่าเรื่องนี้มีความจริงในประวัติศาสตร์เพียงไรก็ดี หรือที่จะตอบว่า ข้าพเจ้าเขียนเล่นหรือเขียนจริงก็ดี เป็นเรื่องที่**ตอบยาก** แต่อย่างไรก็ตาม การเขียนเรื่องนี้ มีหลังฉากซึ่งข้าพเจ้าคิดว่าจะไม่เปิดเผย แต่เมื่อบทประพันธ์นี้ กลายเป็นที่สนใจใหญ่หลวงของมหาชน ข้าพเจ้าจำเป็นต้องเผยออก โดยหวังว่า การเผยหลังฉากนี้จะทำความพอใจให้แก่ท่านผู้อ่านได้บ้าง

เมื่อราวปีหนึ่ง ก่อนเขียนเรื่องนี้ ท่านผู้มีเกียรติผู้หนึ่งซึ่งสืบเชื้อสายตรงจากสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี และเป็ผู้ใหญ่มากพอที่จะไม่พูดอะไรเล่น ๆ กับข้าพเจ้า ท่านยืนยันพร้อมด้วยหลักฐาน** คำบอกเล่าที่ท่านได้ยินได้ฟังและจำจำสืบต่อกัน**ว่า

“สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรีไม่ได้ถูก ประหารที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์ ในวันที่ ๕ เมษายน พศ. ๒๑๒๔ อย่างที่ปรากฏในพงศาวดาร แต่มาสิ้นพระชนม์เมื่อ ๓ ปีภายหลัง และสิ้นพระชนม์ด้วยฆาตกรรม ถูกตีอย่างทารุณในขณะที่ทรงเจริญวิปัสสนากรรมฐานอยู่ในถ้ำ ภายใต้ความคุ้มครองของกาสาวพัสตร์ ส่วนคนที่ถูกประหารที่ป้อมวิชัยประสิทธิ์นั้น เป็นคนอื่นไม่ใช่สมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี

จาก คำนำ เรื่อง ใครฆ่า พระเจ้ากรุงธนบุรี ของหลวงวิจิตรวาทการ

"กษัตริย์ ผู้เกรียงไกร พระเจ้าตากสินมหาราช เป็นกษัตริย์ที่สร้างกรุงธนบุรีหลังจากที่ไทยต้องเสียกรุงศรีอยุธยาให้กับ พม่า นักประวัติศาสตร์ไทยบางคนกลับไม่เชื่อว่า พระองค์ถูกสำเร็จโทษด้วยท่อนจันทน์ แต่เสด็จหนีลงเรือมาประทับ ณ วัดเขาขุนพนม ทรงดำรงพระองค์อย่างสมณเพศ ทรงสั่งสอนสมถะวิปัสสนา และทรงรับบิณฑบาตจากราษฎรและสวรรคต ณ ที่ประทับวัดเขาขุนพนม"

เป็นข้อความที่จารึกอยู่ ณ ปากถ้ำบนภูเขา วัดเขาขุนพนม

บันไดทางขึ้นไปที่ถ้ำพระเจ้าตากสิน

วันที่ผมไปถึง สภาพรอบๆเขายังเป็นป่าดิบๆอยู่พอสมควร ผมประทับใจที่ยังไม่มีพวกทัวร์มาลงจนเสื่อมสภาพ ต้นตอของเรื่องที่พูดกันและเป็นที่นิยมแพร่หลายมากขึ้น ๆ

สรุปว่าพระเจ้าตากสินทรงยืมเงินจากรัฐบาลจีนจำนวนมาก เพื่อใช้ในการต่อสู้ป้องกันบ้านเมือง จนถึงปลายรัชกาลก็ไม่มีเงินใช้หนี้รัฐบาลจีนซึ่งคุกคามทวงหนี้คืน หาไม่ก็จะเอาไทยเป็นเมืองขึ้น หรืออะไรทำนองนั้น

สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงทรงแก้สถานการณ์นี้โดยการตกลงอย่างลับ ๆ กับ สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก ซึ่งเป็นพระสหายและลูกน้องคนสนิท โดยพระองค์เองแสร้งกระทำการประหนึ่งวิกลจริตเพื่อให้พระสหายยึดอำนาจจาก พระองค์เสีย

สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกก็ต้องเสียสละชื่อเสียงเกียรติยศใน การหักหลังเพื่อน โดยการยึดอำนาจจากพระเจ้าตากสิน ทั้งทำข่าวให้ระบือไปว่าได้ประหารชีวิตพระเจ้าตากสินเสียแล้ว แต่ความจริงผู้ที่ถูกประหารคือข้าเก่าที่มีรูปร่างหน้าตาละม้ายพระเจ้าตาก สินเท่านั้น

ส่วนตัวพระเจ้าตากสินนั้น ถูกส่งอย่าง "ลับ ๆ" ให้ไปดำเนินพระชนม์ชีพในบั้นปลายที่เมืองนครศรีธรรมราช ซึ่งมีพระราชโอรสของพระองค์ คือเจ้าพระยานคร (น้อย) อยู่ในฐานะเป็นบุตรของเจ้าพระยานครพัดแล้ว

(ภายในถ้ำพระเจ้าตากสิน จะเห็นรูปปั้นในเพศบรรพชิตคล้ายกับที่วัดท่าซุง - ผู้จัดทำเว็บวัดท่าซุง อธิบายภาพ)

ส่วนเมืองนครศรีธรรมราชมีตำนานเล่ากันว่า เมื่อสิ้นรัชกาลแล้ว สมเด็จพระเจ้าตากสินได้หลบมาบวชและพำนักอยู่ที่นครศรีธรรมราช ที่ประทับได้แก่ ที่อำเภอลานสกา และที่อำเภอเมือง ปัจจุบันเล่ากันว่า ที่อำเภอลานสกาเป็นที่ซึ่งพระองค์ได้แวะพักระหว่างที่เสด็จมายังเมืองนครฯ ส่วนที่ประทับถาวรก็คือ วัดเขาขุนพนม ในเขตอำเภอเมือง

นอกจากนี้ เรื่องเล่ากันในหมู่สมาชิกตระกูล "ณ นคร" บางกลุ่มในปัจจุบัน บอกว่าหลังจากที่พระเจ้าตากสินทรงผนวชที่วัดเขาขุนพนมระยะหนึ่งแล้ว ก็ได้ประชวรด้วยพระโรคอย่างหนึ่ง จึงจำเป็นต้องทรงลาผนวช แล้วเสด็จไปประทับอยู่ในจวนของเจ้าพระยานคร (น้อย) ในสมัยรัชกาลที่ ๓

มีการอ้างด้วยว่า เมื่อพระเจ้ากรุงธนบุรีเสด็จสวรรคตแล้ว ได้มีใบบอกเข้าไปแจ้งรัฐบาลในกรุงเทพฯ ว่า "ท่านข้างใน" สิ้นแล้ว ส่วนพระบรมศพนั้นก็ได้ไปตั้งทำการพระเมรุที่ชายทะเลแห่งหนึ่งในจังหวัด นครศรีธรรมราช

ทั้งนี้ มีการอ้างถึง "หลักฐาน" เพื่อเพิ่มความน่าเชื่อถือของเรื่องนี้อีกว่า ที่วัดแจ้งและวัดประดู่ซึ่งมีเก๋งไว้อัฐิของเจ้านคร (หนู) หม่อมทองเหนี่ยวชายา และของเจ้าพระยานคร (น้อย) นั้น มีศิลาจารึกภาษาจีนอยู่ ๓-๔ หลัก หนึ่งในนี้มีผู้อ้างว่า มีข้อความกล่าวถึงว่าเป็นหลุมศพของ "ผู้เป็นใหญ่แซ่เจิ้ง" เนื่องจากพระบิดาของสมเด็จพระเจ้าตากสิน "แซ่เจิ้ง"

สมเด็จพระเจ้าตากสินจึงทรงใช้ "แซ่เจิ้ง" ด้วย สำเนียงแต้จิ๋วเรียก "แต้" เรื่องนี้เป็นความจริงเพราะมีหลักฐานชั้นต้นยืนยันจำนวนมาก รวมทั้งพระราชสาส์นของพระเจ้าตากสินที่ทรงมีถึงพระเจ้ากรุงจีนก็ใช้ "แซ่เจิ้ง"

เอาเป็นว่าผมเล่าเรื่องที่ได้ยินมาตามสำนวนของผมก็แล้วกัน ผมจะจับความตอนที่พระยาจักรีได้เมืองแล้วพระยาพิชัยดาบหักที่ยกทัพตามลงมา ตั้งแต่ได้ข่าวว่ากรุงธนบุรีถูกทัพกบฎล้อมแต่ก็สายไปแล้วได้พบว่าพระเจ้าตาก ถูกพระยา จักรีสั่งประหารเรียบร้อยก่อนหน้าไปหลายวัน พระยาพิชัยดาบหักโกรธมากไสช้างเข้าเมืองมาร้องเรียกให้พระยาจักรีออกมาคุย กัน

พระยาจักรีตอนนั้นเป็นกษัตริย์แล้วได้ออกมากับน้องชายที่เป็น พระราชวังบวร ได้พบกับสหายเก่าร่วมรบพระยาพิชัยดาบหักร้องท้าทายว่าเอ็งอยากเป็นกษัตริย์ ถึงกับฆ่าท่านใหญ่เลยหรือวะ เอ็งมารบกับข้าดีกว่าข้าก็อยากเป็นด้วยเหมือนกัน พระยาจักรีร้องตอบไปว่าใครบอกว่าข้าฆ่าท่านใหญ่วะเอ็งลงมาจากช้างมาดูดีกว่า ว่าท่านใหญ่มีชีวิตหรือเปล่า

เมื่อพระเจ้าตากได้พบกับพระยาพิชัยที่เป็นทั้งสหายและลูกน้องเก่าก็พูดคุย เล่าเรื่องทั้งหมดให้ฟัง พูดถึงความจำเป็นในการหลอกเมืองจีนเรื่องบ้าแล้วโดนประหารเพื่อล้างหนี้ มหาศาลในการกู้เงินมาทำนุบำรุงบ้านเมือง พิชัยอยู่กับพระยาจักรีในที่ลับก็พูดกันประสาเพื่อนร่วมรบแก่เก่าก่อนว่า ให้รับราชการร่วมกัน เล่นละครบทนี้ต่อ พระยาพิชัยก็ประกาศว่า ไม่ยอมเป็น ข้าสองเจ้า บ่าวสองนาย

ความจริงก็เพื่อนกันแต่พระยาพิชัยทำใจไม่ได้ พระยาจักรีก็สั่งฆ่าพระยาพิชัย แต่พระยาพิชัยไม่ตายเป็นละครอีกบทของพระยาพิชัย มีนักโทษประหารชีวิตตายแทนพระยาพิชัย ตัวจริงก็เปลี่ยนเป็นชื่ออื่นแล้วไปอยู่ที่อื่นใช้ชีวิตแบบสงบ

ตกคืนนั้นพระเจ้าตากก็นั่งคานหามออกไปจากวังในกลาดึกคืนนั้น นั่งเรือลงไปนครศรีธรรมราชกับลูกชาย เข้าจำพรรษาที่ลานสกานอกเมืองนครฯ ส่วนลูกชายก็ไปนั่งเมืองนครฯ เป็นเจ้าเมือง ท่านไม่ได้ไปเพียงท่านกับลูกชาย มีพระสนมที่ติดตามไปดูแลท่านอีกคนหนึ่ง และทหารเสือพระเจ้าตากเชื้อสายจีนร้อยแซ่ ตั้งแต่สมัยกู้บ้านเมืองจากพม่า ได้ติดตามท่านไปสมทบด้วยอีกประมาณ 500 คน เพื่อรักษาท่านเอาไว้ไม่ให้ใครตามมารบกวนท่านอีก

ทหารเสือพระเจ้าตากเหล่านี้ได้สร้างที่จำพรรษาให้ท่านบนยอดเขาขุนพนม ถาวรวัตถุที่หลงเหลือเห็นในตอนนี้ เป็นศิลปะจีนทั้งถ้วยชามจีนบนฝาผนังและลายพระพุทธบาทแบบจีนในวัด ทั้งมีการอ้างว่าพระยาน้อยเจ้าเมืองนคร คือลูกของท่านกับหม่อมปราง

อีกทั้งเจ้าชุมนุมนครฯเป็นเจ้าชุมนุมเดียวที่พระเจ้าตากไว้ชีวิต เมื่อครั้งรวบรวมประเทศเข้าตีชุมนุมนครฯ อีกทั้งยังถวายลูกสาวเจ้าเมืองนครฯ เข้าดองเป็นสนมภายหลังอีกด้วย

ลักษณะที่ตั้งของ "เขาขุนพนม" ที่อยู่ในชัยภูมิที่เหมาะสมในการป้องกันภัยของพระองค์ ความผูกพันต่อเจ้าชุมนุมเมืองนครทีมีความเกี่ยวดอง ในลักษณะพ่อตากับลูกเขย

ในหลายเหตุผลที่ยกมาเป็นพยานหลักฐาน หรือเป็นสมมุติฐานที่เชื่อได้ หรือยังว่านครศรีธรรมราช และเขาขุนพนมก็คือสถานที่มีความเหมาะสม เป็นฐานที่มั่นในการหลบภัยทางด้านการเมือง ที่ไว้ใจได้มากที่สุดของพระเจ้าตากสิน ถือว่าเป็นหนึ่งในความเชื่อว่าพระเจ้าตากสิน สิ้นพระชนม์ที่เมืองนครฯ ของชาวนครเองที่เล่าขานมาหลายชั่วรุ่นคน

วันนี้ผมเล่าเรื่องพระเจ้าตากอย่างมีความสุขมาก อยากให้เรื่องจริงเป็นอย่างนั้นจริงๆ ผมอยากให้ท่านมีชีวิตรอดใช้ชีวิตในสมณะเพศที่เขาขุนพนม

ผมยังฝันต่อไปอีกว่าอยากจะเป็นหนึ่งในทหารเสือพระเจ้าตาก ที่ย้อนเวลากลับไปใช้ชีวิตสงบๆ ที่เขาขุนพนมหลังศึกกู้บ้านเมืองสิบห้าปีพร้อมกับท่าน เพราะว่าเขาขุนพนมที่ผมไปพบมามันน่าอยู่มาก

ผมจะพาขึ้นเขาขุนพนมแล้วครับ เดินตามผมมาเลยมีบันไดขึ้นประมาณสองร้อยกว่าขั้นไม่เหนื่อยมากจนเกินไป คุณแม่อายุแปดสิบแล้วยังขึ้นสบาย ตลอดสองทางก็เขียวชื้นเป็นป่ากึ่งดิบ มีไม้ดอกไม้ใบให้ดูแก้เหนื่อยตลอดทาง

ในที่สุดก็ขึ้นมาถึงยอดเขาขุนพนมจุดที่พระเจ้าตากท่านมาบวชซ่อนตัว อยู่ ปัจจุบันนี้ทำเป็นลานคอนกรีตบริเวณหน้าถ้ำที่ท่านอยู่จำพรรษา สร้างรูปของท่านในสภาพของพระภิกษุไว้กราบบูชา (โปรดสังเกตรูปปั้นที่วัดขุนพนม กับรูปปั้นที่วัดท่าซุง จะมีส่วนคล้ายคลึงกันมาก - ผู้จัดทำเว็บวัดท่าซุง) จะตอบคำถามนี้ให้ผมที

มองประวัติชนชาวอีสาน

 

ประวัติศาสตร์อีสานโบราณระบุไว้ว่า ในราว พ.ศ.700 ประเทศพนม เป็นประเทศรุ่งเรืองขึ้นมาใหม่ในอินโดจีน ทางทิศตะวันตกของพนมมีประเทศเจนละหรือเขมร ถัดจากประเทศเจนละคือประเทศกิมหลินทางเหนือประเทศกิมหลินคือประเทศบูหลุน พระมหาราชกรุงพนมได้ยกกองทัพเรือไปปราบประเทศในคาบมหาสมุทรมลายาได้กว่า 10 แคว้น ภายหลังให้รัชทายาทนามว่า กิมแซ ไปปราบประเทศกิมหลิน ได้ประมาณปี 733

อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์

ประเทศสุวรรณภูมิและประเทศเล็กๆในสุวรรณภูมิทวีปคาบมหาสมุทรมลายาเป็นอิสระตั้งแต่สมัยพระเจ้าอโศกอยู่ได้ 500 ปี ก็เป็นประเทศราชของประเทศพนม พระพุทธศาสนายังคงรุ่งเรืองอยู่ในดินแดนสุวรรณภูมิทวีปตลอดมา เพราะปรากฏตามหนังสือของภิกษุจาริกจีนว่า ดินแดนแถบนี้ยังคงมีพุทธศาสนารุ่งเรืองดีอยู่ ภิกษุอี้จิงจึงเรียกแถบนี้ว่า ดินแดนกิมหลิน ตามชื่อเก่า ในตำนานพระธาตุพนมเล่าว่า"ในราว พ.ศ.8 ศรีโคตรบูรตั้งเมืองหลวงอยู่ใต้ปากเซบ้องไฟ อยู่เหนือสุวรรณเขตประเทศลาว ครั้นต่อมาได้ย้ายเมืองหลวงมาตั้งอยู่เหนือธาตุพนม ในดงไม้รวกจึงมีนามว่า" มรุกขนคร"มีกษัตริย์ครองเมือง 5 องค์ องค์สุดท้ายชื่อ พระยานิรุฏฐราช บ้านเมืองเลยเกิดวิบัติล่มร้างเป็นบึงและป่า ต่อมาในราวพ.ศ. 1800 ปรากฏว่าได้ไปตั้งเมืองขึ้นใหม่อยู่ฝั่งซ้ายแม่น้ำโขง แต่เหนือที่เดิมมาก ได้แก่เมืองเก่าใต้ท่าแขกประเทศลาวในปัจจุบัน"
การที่อาณาจักรศรีโคตรบูรตั้งเมืองหลวงใน พ.ศ. 8 นั้นน่าจะผิดพลาดเนื่องจากเวลาห่างจากปีที่พระเจ้าอโศกมหาราชส่งพระสมณฑูตออกไปประกาศพระศาสนาในปี พ.ศ.226 ถึง 228หากเป็นพุทธศตวรรษที่ 8 คือ พ.ศ.800ก็น่าจะพอเชื่อถือได้บ้าง แต่มีข้อสนับสนุนตามตำนานว่า การสร้างพระธาตุพนมนั้น พระพุทธเจ้าเสด็จไปประกาศพระศาสนาด้วยพระองค์เอง และในพ.ศ.8 พระมหากัสสปะและท้าวพญาทั้งห้าพระองค์ได้สร้างพระธาตุโดยอัญเชิญพระอุรังคธาตุบรรจุไว้ในพระเจดีย์สูง ประมาณ 8 เมตร สำหรับ ท้าวพญา 5 พระองค์ที่ร่วมสร้างพระธาตุพนมเมื่อพ.ศ.8นั้น คือ พญานันทเสน ครองเมืองศรีโคตรบูร พญาจุลณีพรหมทัต ครองแคว้นจุลณี พญาอินทปัตถ์ ครองอินทปัตนคร พญาคำแดง ครองเมืองหนองหารน้อย และพญาสุวรรณภิงคาร ครองเมืองหนองหารหลวง ซึ่งล้วนแต่เป็นผู้ครองเมืองในอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์โบราณเมื่อครั้งที่ตั้งเมืองหลวงอยู่ใต้ปากเซบ้องไฟ ฝั่งสุวรรณเขตประเทศลาว
พระธาตุพนม จากตำนานพระธาตุพนมนั้น อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์โบราณได้ตั้งขึ้นก่อนแล้วเมื่อพ.ศ.8 ต่อมาได้มีการย้ายเมืองหลวงมาอยู่เหนือพระธาตุพนมฝั่งอาณาจักรสยาม ดังนั้นเรื่องของอาณาจักรแห่งนี้จึงมีความแตกต่างกัน ดังนี้ ในพุทธศตวรรษที่ 14 - 15 ครั้งสมัยอาณาจักรทวารวดีมีอำนาจอยู่นั้น บริเวณสองฟากแม่น้ำโขงได้มีการตั้งอาณาจักรขึ้นใหม่เรียกว่าอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์ หรือ โคตรปุระ แปลว่า เมืองตะวันออก โดยมีพระยาโคตรบอง เป็นผู้ครองนคร ดินแดนแห่งนี้มีเมืองสำคัญคือ เวียงจันท์ หรือเวียงจันทน์ หนองหานหลวงหรือสกลนคร มรุกขนครนครพนม เมืองจันทบุรี ศรีสัตนาคนหต ล้านช้างร่มขาวหลวงพระบาง เชียงใหม่ เชียงแสน เชียงรุ้ง เป็นต้น พ.ศ. 1896 สมัยอยุธยาตอนต้น พระเจ้าฟ้างุ้มทรงสถาปนานครเวียงจันท์ขึ้นเป็นเมืองหลวงของราชอาณาจักรลาว พ.ศ. 1991 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ซึ่งเป็นกษัตริย์ครองอาณาจักรล้านนา ภายหลังได้อภิเษกพระธิดาของกษัตริย์ผู้ครองอาณาจักรล้านช้างและได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์อาณาจักรล้านช้าง ร่วมกันสร้างพระเจดีย์ศรีสองรักษ์ เพื่อเป็นสัญญลักษณ์แห่งมิตรภาพ ปัจจุบันอยู่ที่อำเภอด่านซ้าย จังหวัดเลย

พระธาตุพนม

อาณาจักรศรีโคตรบูรณ์นี้ได้เจริญรุ่งเรืองสืบต่อกันมา และภายหลังได้เป็นอาณาจักรล้านช้างปัจจุบันคือพระราชอาณาจักรลาว ในสมัยกรุงธนบุรีนั้นอาณาจักรลานช้างได้ตกเป็นประเทศราชของอาณาจักรสยาม ในสมัยรัชกาลที่ 5 นั้นอาณาจักรสยามต้องเสียดินแดนให้ฝรั่งเศสจึงทำให้อาณาจักรแห่งนี้ตกอยู่ใต้อำนาจฝรั่งเศสต่อมา โบราณสถานสำคัญของอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์นั้นคือ พระธาตุพนมที่จังหวัดนครพนม ซึ่งเป็นปูชนีย์สถานพุทธศาสนาสำคัญ โดยสร้างทับบนปราสาทขอมสมัยโบราณ มีตำนานพระธาตุพนมว่า พระธาตุนี้ได้สร้างขึ้นในพ.ศ.8 สมัยอาณาจักรศรีโคตรบูรณ์โบราณฅโดยก่ออุโมงค์เป็นรูปเตามีประตูปิดเปิด4 ด้านสูง 5เมตรสำหรับบรรจุพระอุรังคธาตุโดยมีผ้ากัมพลห่อไว้ภายในอุโมงค์ ต่อมาพ.ศ. 500 พระอรหันต์ทั้ง 5 องค์คือ พระสังขวิชาเถระ พระมหารัตนเถระ พระจุลรัตนเถระ พระมหาสุวรรณปราสาทเถระ และพระจุลสุวรรณปราสาทเถระ พร้อมด้วยพระยาสุมิตธรรมวงศา แห่งเมืองมรุกขนคร ได้ร่วมกันบูรณะพระธาตุพนมสูงประมาณ 24 เมตรและอัญเชิญพระอุรังคธาตุออกมาประดิษฐานบนพานทองคำ อมรฤาษีและโยธิกฤาษีไปเอาอุโมงศิลาบนยอดเขาภูเพ็กมาตั้งไว้ชั้นบนของพระธาตุชั้นที่ 2 ซึ่งอยู่สูง 14 เมตรแล้วพระสุมิตธรรมวงศาได้อัญเชิญพระอุรังคธาตุฐาปนาไว้บนเจดีย์ศิลานั้น ต่อมาพระโพธิศาล ซึ่งครองเมืองหลวงพระบางเมื่อพ.ศ. 2073 ถึง 2103  นั้นได้ตำนานอุรังคธาตุที่พระธาตุพนมมาจากกัมพูชา จึงเกิดความศรัทธาและได้มาสร้างบริเวณภูกำพร้าขึ้นเป็นวัด อุทิศข้าทาสให้แก่พระธาตุ พระไชยเชษฐาธิราช โอรสของพระโพธิศาล ซึ่งสร้างเมืองเวียงจันทน์เป็นเมืองหลวง ได้เสด็จมานมัสการพระธาตุพนมเมื่อพ.ศ.2157ต่อมาพ.ศ. 2233 - 2235  เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กแห่งนครเวียงจันทน์ได้นำช่างมาจากเวียงจันทน์มาทำการบูรณะพระธาตุพนมต่อเติมจนสูง 47เมตรโดยพ่อออกพระขนานโคตพร้อมด้วยบุตรภริยาได้นำเอาอูบพระชินธาตุเจ้าที่จันทรปุระเวียงจันทน์มาฐาปนาที่ธาตุปะนมและบรรจุพระพุทธรุปเงินทอง แก้วมรกต อัญมณีมีค่าไว้มากมาย และพ.ศ.2483 - 2484  กรมศิลปากรได้ทำบูรณะพระธาตุให้สูงขึ้นเป็น 57 เมตร หลังจากนั้นก็มีการบูรณปฏิสังขรณ์อยู่เสมอ ครั้นเมื่อวันที่ 11 สิงหาคม พ.ศ. 2518 เวลา 19.30 น. เศษ องค์พระธาตุพนมได้ล้มทลายลงมาทั้งองค์ ยอดพระธาตุฟาดมาทางทิศตะวันออก กรมศิลปากรได้บูรณะตามแบบเดิมเสร็จใน พ.ศ. 2522 เดิมในอดีตนั้นพื้นที่ 19 จังหวัดภาคอีสานนั้นอยู่ในราชอาณาศรีโคตรบูรณ์ที่มีอาณาเขตในทั้ง 2 ฝั่งโขงยกเว้นจังหวัดนครราชสีมาบางส่วน การที่ภาคอีสานมีประชากรมากกว่าทุกภาคในประเทศไทยขณะนี้เป็นเพราะประชากรลาวอพยพข้ามแม่น้ำโขงมาโดยตลอดตั้งแต่ปี พ.ศ. 2250 - 2400 นั่นเอง

1

ในตำนานกล่าวถึงความเป็นมาของชุมชนและบ้านเมืองต่างๆในแคว้นศรีโคตรบูรณ์ โดยเฉพาะเมืองสำคัญ เช่น เมืองหนองหานหลวง เมืองหนองหานน้อย และเมืองเวียงจันทน์ ซึ่งล้วนมีหลักฐานทางโบราณคดี อันได้แก่ ร่องรอยเมือง และโบราณวัตถุสถานที่มีมาแต่สมัยทวารวดี ลพบุรีจนถึงสมัยหลังๆสนับสนุนทั้งสิ้น

ในขณะเดียวกันพงศาวดารล้านช้างก็ระบุว่า ภายหลังจากพระเจ้าฟ้างุ้มหนีจากเมืองหลวงพระบางไปพึ่งทางกัมพูชานั้นกษัตริย์ขอมทรงอุปถัมภ์และพระราชทานพระธิดาให้ต่อมาก็ได้ทรงสนับสนุนให้พระเจ้าฟ้างุ้มยกกองทัพมาตีกลุ่มเมืองโคตรบอง ที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำโขงตั้งแต่เขตจังหวัดนครพนมขึ้นไปจนถึงจังหวัดหนองคาย เมืองเวียงจันทน์และเวียงคำรวมอยู่ในกลุ่มนี้ โดยเฉพาะเมืองเวียงคำนั้นในตำนานเรียก เมืองไผ่หนาน เป็นเมืองยากแก้การตี ทำให้พระเจ้าฟ้างุ้มต้องออกอุบายโดยยิงกระสุนทองคำเข้าไป เป็นเหตุให้ผู้คนพากันออกมาเก็บกระสุนทองคำกัน และขาดการเอาใจใส่บ้านเมือง พระเจ้าฟ้างุ้มเลยตีเมืองได้และต่อมาก็เปลี่ยนชื่อเมืองนี้ว่า เมืองเวียงคำ
การที่ตำนานอุรังคธาตุกล่าวถึงแว่นแคว้นที่เรียกว่าศรีโคตรบูรก็ดี และตำนานล้านช้างกล่าวถึงเมืองโคตรบองก็ดี ล้วนลงรอยกันให้เห็นว่ามีแว่นแคว้นหรือรัฐที่เรียกว่า ศรีโคตรบูรณ์หรือโคตรบอง อยู่ในภาคตะวันออกเฉียงเหนือตอนบนนี้แล้วในพุทธศตวรรษที่๑๘และ๑๙ ยิ่งกว่านั้นเรื่องราวของแคว้นโคตรบองนี้ก็ยังมีปรากฏในตำนานพงศาวดารเหนือที่กล่าวถึงเรื่องราวของบ้านเมืองในลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาสมัยก่อนการสร้างพระนครศรีอยุธยาด้วย นั้นคือเรื่องราวของพระยาโคตรบองผู้เคยเป็นใหญ่อยู่ในเมืองสำคัญ ซึ่งอาจจะเป็นอโยธยาหรือลพบุรีก็ได้ ต่อมาถูกพระเจ้าสินธพอัมรินทร์ชิงบ้านเมืองได้เลยหนีไปเป็นใหญ่อยู่ในเขตแคว้นล้านช้างคงหมายถึงกลุ่มเมืองศรีโคตรบองและต่อมาก็ได้ถูกลอบปลงพระชนม์ ณ เมืองที่พระองค์ครองอยู่ ตำนานดังกล่าวนี้แสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ระหว่างแคว้นโคตรบองกับทางบ้านเมืองในลุ่มน้ำเจ้าพระยาไม่มากก็น้อย
หลักฐานทางโบราณคดีจากการสำรวจบริเวณที่เรียกว่าแอ่งสกลนครในเขตอีสานเหนือที่อยู่ในจังหวัดหนองคาย อุดรธานี สกลนคร และนครพนม พบว่าเป็นบริเวณที่มีการตั้งหลักแหล่งของมนุษย์มาตั้งแต่ก่อนสมัยประวัติศาสตร์ ดังเช่นการค้นพบแหล่งชุมชนในวัฒนธรรมบ้านเชียงที่รู้จักกันแพร่หลายทั่วไปเป็นต้นแต่ว่าหลักฐานที่แสดงให้เห็นถึงการเกิดเป็นบ้านเมืองใหญ่โตนั้นเกิดขึ้นตั้งแต่ตอนปลายสมัยทวารวดี คือ ประมาณพุทธศตวรรษที่ 14 - 15  ลงมาเป็นอย่างสูง ชุมชนโบราณที่มีร่องรอยให้เห็นว่ามีคูน้ำและกำแพงล้อมรอบ แสดงให้เห็นว่ามีคูน้ำและกำแพงล้อมรอบแสดงให้เห็นว่าเป็นเมืองพบว่ามี 4 แห่ง

ดด

ชุมชนสี่แห่งที่พบนี้ได้แก่ บ้านดอนแก้ว ริมหนองหานกุมภวาปี ในเขตอำเภอกุมภวาปี จังหวัดอุดรธานี เมืองหนองหานน้อยในเขตอำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี เมืองหนองหานหลวงในเขตอำเภอเมืองจังหวัดสกลนคร และเมืองเวียงจันทน์ในฝั่งตรงข้ามอำเภอท่าบ่อและศรีสงครามจังหวัดหนองคาย แต่ที่เกี่ยวข้องกับตำนานมีเพียง3แห่งคือ เมืองหนองหานน้อย เมืองหนองหาน หลวง และเมืองเวียงจันทน์
นอกจากบรรดาชุมชนเมืองที่มีร่องรอยคูน้ำและกำแพงเมืองล้อมรอบดังกล่าวนี้แล้ว ก็มีแหล่งชุมชนอีกหลายแห่งที่ไม่มีกำแพงและคูน้ำล้อมรอบ แต่ทว่าในตำนานพงศาวดารระบุว่าเป็นเมือง เช่น เมืองเวียงคุก เมืองซายฟองหรือเวียงคำ เป็นต้น

เมื่อพิจารณาศึกษาจากรูปแบบของศิลปกรรม ตำแหน่งที่ตั้งและขนาดของบรรดาชุมชนที่เป็นเมืองในบริเวณลุ่มน้ำโขงในภาคอีสานตอนเหนือนี้ ก็สามารถวิเคราะห์รูปแบบทางวัฒนธรรมและศิลปกรรมได้สองแบบและสองสมัยในระยะเวลาที่ต่อเนื่องกัน แบบแรกเป็นแบบทวารวดี แลเห็นได้จากบรรดาเสมาหินที่พบตามแหล่งศาสนาสถานต่างๆ ส่วนแบบที่สองเป็นแบบลพบุรี หรือเป็นแบบที่ได้รับอิทธิพลและศิลปวัฒนธรรมจากขอม เห็นได้จากการพบรูปแบบของเมืองที่เป็นรูปสี่เหลี่ยมแบบสม่ำเสมอ ศาสนสถานที่เป็นปราสาท พระพุทธรูปเทวรูปแบบลพบุรี

ทวารวดี ทวารวดี

โบราณสถานและโบราณวัตถุแบบแสดงให้เห็นถึงการแพร่กระจายของศิลปวัฒนธรรมแก้บ้านเมืองในแถบลุ่มแม่น้ำชีผ่านบริเวณหนองหานกุมภวาปีขึ้นมาในอีสานเหนือ ในช่วงเวลาแต่ราวพุทธศตวรรษที่14เป็นต้นมา ที่พระธาตุพนมก่อนที่จะล้มพังลงมานั้น มีภาพสลักรูปคนขี่ม้าในท่าผาดโผนและเคลื่อนไหว เป็นลักษณะที่ไม่เคยพบมาก่อนในศิลปกรรมแบบทวารวดีและลพบุรีในประเทศไทยมาก่อน ในทำนองตรงข้ามเป็นของที่มักพบในศิลปะจีน ญวน และจามปา นับเป็นสิ่งที่สะท้อนให้เห็นถึงการเกี่ยวข้องกับบ้านเมืองและผู้คนที่อยู่ในเขตญวนและจามปาที่ห่างออกไปทางชายทะเล จึงเป็นไปได้ว่าบรรดาบ้านเมืองที่เกิดขึ้นในสมัยทวารวดีตอนปลายนี้ ไม่ได้อยู่อย่างโดดๆหากมีการติดต่อกับบ้านเมืองอื่นๆที่อยู่ใกล้เคียงแล้ว อย่างน้อยก็จากลุ่มน้ำชี ผ่านขึ้นมายังแม่น้ำโขงแล้วข้ามน้ำโขงไปยังบ้านเมืองต่างๆทางเหนือและตะวันออกเฉียงเหนือ

ด

จากหลักฐานทางโบราณคดีตามที่กล่าวมานี้อาจตีความได้ว่าช่วงเวลาตั้งแต่พุทธศตวรรษที่ 16 เป็นต้นมา เกิดบ้านเมืองที่เป็นรัฐหรือแว่นแคว้นแล้วในบริเวณอีสานเหนือ โดยมีเมืองหนองหานหลวงที่สกลนครเป็นเมืองสำคัญมีการติดต่อกับบ้านเมืองทางลุ่มน้ำชีและกัมพูชาทางใต้ กับบ้านเมืองที่อยู่โพ้นฝั่งแม่น้ำโขงไปยังเขตประเทศญวน
ในพุทธศตวรรษที่ 8 เขตแคว้นดังกล่าวนี้ก็ตกอยู่ภายใต้อิทธิพลทางการเมืองของอาณาจักรกัมพูชา มีการสร้างศาสนสถานที่เป็นศูนย์กลางของชุมชนนี้มาตามเส้นทางคมนาคมไปจนถึงเมืองเวียงคำ รัฐหรือแคว้นนี้จะมีชื่อใดไม่ปรากฏ แต่อาจถูกเรียก " ศรีโคตรบูรณ์ " ตามที่กล่าวในตำนานอุรังธาตุและพงศาวดารล้านช้างก็ได้ แต่พ้นสมัยพระเจ้าชัยวรมันที่7แล้ว บ้านเมืองเหล่านี้มีความเป็นอิสระและรู้จักกันในนามว่า " ศรีโคตรบูรณ์ หรือโคตรบอง " ได้มีการสถาปนาเมืองเวียงจันทน์ขึ้นเป็นศูนย์กลางทางคมนาคม เศรษฐกิจและการเมือง โดยเฉพาะการเป็นศูนย์กลางทางด้านการค้า และคมนาคมนั้น เมืองเวียงจันทน์คงมีบทบาทมากและเพิ่มขึ้นเมื่อมีการขยายตัวขึ้นไปติดต่อค้าขายกับบ้านเมืองทางเหนือและทางตะวันตก

อาณาจักรล้านช้าง จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

 

อาณาจักรล้านช้าง (ภาษาลาว: ລ້ານຊ້າງ) เป็นอาณาจักรของชนชาติลาวซึ่งตั้งอยู่ในแถบลุ่มแม่น้ำโขง มีอาณาเขตอยู่ในบริเวณประเทศลาวทั้งหมด ตลอดจนภาคตะวันออกเฉียงเหนือของไทย โดยมีความเจริญรุ่งเรืองทั้งการเมืองการปกครอง ด้านศิลปวัฒนธรรม ตลอดจนพระพุทธศาสนา ที่มีพัฒนาการเคียงคู่มาพร้อมกันอาณาจักรอื่นๆใกล้เคียง ทั้งล้านนา สยาม พม่า และเขมร

อาณาจักรแห่งนี้ได้สถาปนาขึ้นอย่างเป็นปึกแผ่นมั่งคงอย่างแท้จริงในปี พ.ศ. 1896 สมัยพระเจ้าฟ้างุ้ม มีความรุ่งเรืองสลับกับความร่วงโรยต่อมาหลายสมัย ซึ่งยุคที่นับได้ว่าเป็นยุคทองของอาณาจักรล้านช้างคือรัชสมัยของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช(พ.ศ. 2091- พ.ศ. 2114 และรัชสมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช(พ.ศ. 2181- พ.ศ. 2238) หลังจากนั้นอาณาจักรลาวก็เสื่อมอำนาจลงและแตกแยกเป็น 3 ราชอาณาจักร และในปี พ.ศ. 2321 ทั้ง 3 อาณาจักรก็ได้สูญเสียเอกราชแก่ราชอาณาจักรสยามในที่สุด

การสถาปนา

นักประวัติศาสตร์ลาวเชื่อว่า ชาวลาวเดิมตั้งถิ่นฐานอยู่ระหว่างแม่น้ำฮวงโหกับแม่น้ำแยงซีเกียงแถบมณฑลเสฉวนในประเทศจีนปัจจุบัน ต่อมาได้ถูกจีนรุกรานจึงได้อพยพมาทางตอนใต้ของเสฉวนจนถึงยูนนาน ซึ่งเรียกอีกอย่างหนึ่งว่าหนองแสหรืออาณาจักรน่านเจ้าโดยได้มีความเจริญรุ่งเรืองและดำรงเอกราชมากว่าร้อยปี (ปัจจุบันมีการพิสูจน์ว่าอาณาจักรน่านเจ้าเป็นอาณาจักรของชนชาติต้าหลี่ ไม่ใช่ของชนชาติไท-ลาว) จนถึงสมัยของขุนบรมราชาธิราชพระองค์ได้ทรงสถาปนาเมืองใหม่ที่นาน้อยอ้อยหนู โดยให้ชื่อว่า "เมืองแถน" หรือ "เมืองกาหลง" (มหาสิลา วีระวงส์ เชื่อว่าคือเมืองแถงหรือเดียนเบียนฟูในดินแดนสิบสองจุไท ประเทศเวียดนามปัจจุบัน

ในพงศาวดารล้านช้างกล่าวว่า ขุนบรมได้ทรงแผ่ขยายอาณาจักรออกไป โดยทรงส่งโอรส 7 องค์ไปปกครองเมืองต่างๆ ซึ่งเชื่อว่าอยู่ในภูมิภาคอินโดจีนปัจจุบันดังนี้

  1. ขุนลอ ปกครองเมืองเซ่าหรือเมืองชวา (อ่านว่า เมืองซัวหรือเมืองซวา - ต่อมาเรียกว่าหลวงพระบาง)
  2. ท้าวผาล้าน ปกครองเมืองหอแต (ต้าหอ, สิบสองปันนา)
  3. ท้าวจุลง ปกครองเมืองโกดแท้แผนปม (ปัจจุบันคือเวียดนาม)
  4. ท้าวคำผง ปกครองเมืองเชียงใหม่
  5. ท้าวอิน ปกครองเมืองลานเพียศรีอยุธยา (ละโว้)
  6. ท้าวกม ปกครองเมืองมอน (อินทรปัต, หงสาวดี)
  7. ท้าวเจือง ปกครองเมืองพวน (เชียงขวาง – เชื่อกันว่าคือท้าวเจืองที่ปรากฏในวรรณกรรณเรื่อง “ท้าวฮุ่ง ท้าวเจือง”)[1]

ขุนลอผู้ทรงสร้างเมืองชวานี้ถือกันว่าทรงเป็นปฐมกษัตริย์ของชาวลาวทั้งปวง ในปี พ.ศ. 1300 โดยประมาณ พระองค์ได้ทรงตั้งให้เมืองชวาเป็นราชธานีของอาณาจักรล้านช้าง พระราชทานนามราชธานีแห่งนี้ใหม่ว่า “เมืองเชียงทอง” พระองค์ได้ทรงขับไล่ชนชาติขอมซึ่งเป็นผู้มีอำนาจอยู่เดิมในบริเวณดังกล่าวสำเร็จ ทำให้อาณาจักรล้านช้างมีความมั่นคงต่อมายาวนาน และมีกษัตริย์ปกครองต่อมาอีกหลายชั่วคน

การรวมชาติลาวและการเสริมสร้างความมั่นคงภายใน

ในปลายพุทธศตวรรษที่ 19 อาณาจักรล้านช้างก็ได้มีกษัตริย์องค์สำคัญซึ่งชาวลาวยกย่องพระองค์ในฐานะ “พระบิดาของชาติลาว” ได้แก่ พระเจ้าฟ้างุ้ม (พ.ศ. 1896 - พ.ศ. 1916, พระนามเต็มคือ “พระเจ้าฟ้างุ้มแหล่งหล้าธรณี”) เนื่องจากพระองค์มีบทบาทในการรวบรวมแผ่นดินลาวให้เป็นปึกแผ่น ทั้งยังทรงวางรากฐานของพระพุทธศาสนาในลาวและทรงยกย่องให้เป็นศาสนาหลักของอาณาจักร

พระเจ้าฟ้างุ้มเป็นพระราชโอรสของท้าวผีฟ้า และเป็นพระราชนัดดาของพระยาสุวรรณคำผง โดยในรัชสมัยของพระยาคำผง ท้าวผีฟ้า ซึ่งเป็นพระบิดาของพระเจ้าฟ้างุ้มได้ถูกเนรเทศ จึงเสด็จหนีไปพึ่งพระบรมโพธิสมภารของกษัตริย์เขมร ในเวลาต่อมาเมื่อสิ้นรัชสมัยของพระยาคำผง อันเป็นช่วงเวลาที่อาณาจักรเขมรเริ่มเสื่อมอำนาจ ในขณะเดียวกันที่อาณาจักรสุโขทัยเข้มแข็งขึ้น ฝ่ายเขมรจึงต้องการคานอำนาจของสุโขทัย จึงได้สนับสนุนให้พระยาฟ้างุ้มซึ่งเสด็จติดตามพระราชบิดาไปประทับที่อาณาจักรเขมรนั้น นำกำลังเข้าแย่งชิงอำนาจจากพระยาฟ้าคำเฮียวซึ่งเป็นพระปิตุลา (อา) ผู้ขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระยาคำผง พระยาฟ้างุ้มสามารถเอาชนะพระยาฟ้าคำเฮียวได้ จึงเสด็จขึ้นครองราชย์และสถาปนาอาณาจักรล้านช้างขึ้นอย่างเป็นทางการ

ในรัชสมัยของพระยาฟ้างุ้ม แม้พระองค์จะได้สร้างความเป็นปึกแผ่นมั่นคงให้กับอาณาจักรล้านช้าง แต่อิทธิพลของขุนนางฝ่ายเขมร ได้เข้ามามีบทบาทในอาณาจักรล้านช้างเป็นอย่างมาก จนสร้างเกิดความขัดแย้งขึ้น จนในที่สุดพระองค์จึงถูกบรรดาขุนนางร่วมกันปลดออกจากพระราชสมบัติในปี พ.ศ. 1899 แล้วอัญเชิญพระยาอุ่นเฮือนพระราชโอรสขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระราชบิดา ส่วนพระยาฟ้างุ้มได้เสด็จมาประทับอยู่ ณ เมืองน่านกระทั่งสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 1916

ในรัชสมัยของพระยาอุ่นเฮือน (พ.ศ. 1899 – 1916) และอีกสองรัชสมัยต่อมา คือในรัชสมัยของพระเจ้าสามแสนไทยไตรภูวนาถ(พ.ศ. 1916 – 1959) และพระยาล้านคำแดง(พ.ศ. 1959 – 1971) เป็นช่วงที่อาณาจักรล้านช้างปลอดจากการรุกรานจากภายนอก เนื่องด้วยการเสื่อมอำนาจลงของอาณาจักรเขมรเป็นสำคัญ อีกทั้งฝ่ายสุโขทัยที่เข้มแข็งขึ้นก็มุ่งอยู่กับการปราบปรามอำนาจของเขมรที่เคยมีเหนือดินแดนตน ทางอาณาจักรจามปาซึ่งเพิ่งพ่ายแพ้ต่อจักรวรรดิมองโกลก็ยังไม่เข้มแข็ง การแข่งขันกันสร้างเสริมความมั่นคงของสุโขทัยและล้านนาอันเป็นอาณาจักรที่ได้รับการสถาปนาขึ้นในช่วงเวลาเดียวกัน ทำให้อาณาจักรล้านช้างก็ต้องพยายามเสริมสร้างความมั่นคงของตนด้วย โดยได้มีการจัดทำบัญชีไพร่พลและปฏิรูประบบราชการครั้งใหญ่ ซึ่งด้วยทรัพยากรอันอุดมสมบูรณ์ ก็ทำให้อาณาจักรล้านช้างมีความมั่นคงเป็นอย่างมาก

ความอ่อนแอภายใน

 

วัดวิชุนราช สร้างในสมัยพระเจ้าวิชุนราช

หลังพระยาล้านคำแดงเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 1971 แล้ว อาณาจักรล้านช้างกลับตกอยู่ในสภาพระส่ำระสาย เพราะอำนาจการบริหารราชการแผ่นดินอย่างแท้จริงได้ตกอยู่ในมือของพระนางมหาเทวีอามพัน (หรือนางแก้วพิมพา) ซึ่งเป็นพระขนิษฐาของพระยาล้านคำแดง พระองค์ได้ทรงใช้อำนาจที่ทรงมีอยู่แต่งตั้งกษัตริย์ขึ้นปกครองราชอาณาจักรตามอำเภอใจ หากไม่พอใจพระเจ้าแผ่นดินองค์ไหนก็ปลดออกจากตำแหน่งหรือลอบปลงพระชนม์เสีย กษัตริย์ล้านช้างในช่วงนี้จึงไม่มีองค์ใดอยู่ในราชสมบัติได้นานนัก ส่วนมากทรงครองราชย์อยู่ได้ไม่ถึงปี สร้างความปั่นป่วนแก่ราชสำนักและยังความเสียหายต่อการบริหารราชการแผ่นดินเป็นอย่างยิ่ง ในปี พ.ศ. 1981 บรรดาขุนนางทั้งหลายจึงปรีกษากันว่าจะเอาพระนางมหาเทวีไว้ไม่ได้จึงพร้อมในกันจับตัวพระนางสำเร็จโทษ แล้วเชิญพระราชโอรสของพระยาล้านคำแดงขึ้นเสวยราชสมบัติเป็นพระเจ้าไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้ว อาณาจักรล้านช้างจึงกลับคืนสู่ความสงบอีกครั้ง เป็นการยุติความยุ่งเหยิงซึ่งกินเวลานานถึงสิบกว่าปี

พ.ศ. 2023 จักรวรรดิเวียดนามซึ่งเริ่มมีกำลังกล้าแข็งจึงได้ทียกทัพเข้ามารุกรานและสามารถยึดครองเมืองเชียงทองอันเป็นเมืองหลวงไว้ได้ พระเจ้าไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้วต้องเสด็จหนีไปประทับอยู่ ณ เมืองเชียงคาน แล้วมอบพระราชสมบัติให้กับพระเจ้าสุวรรณบัลลังก์ ซึ่งเป็นพระราชโอรส พระเจ้าสุวรรณบัลลังก์ทรงนำไพร่พลขับไล่ชาวเวียดนามออกไปได้ จากนั้นจึงทรงเวนพระราชสมบัติถวายแก่พระราชบิดา พระเจ้าไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้วจึงเสด็จขึ้นครองราชย์เป็นครั้งที่สอง กระทั่งเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2022 พระเจ้าสุวรรณบัลลังก์จึงได้เสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระราชบิดาอีกครั้ง จวบจนเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2029 พระยาหล้าแสนไทย พระอนุชาได้เสด็จขึ้นครองราชย์และเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2039 โดยได้มอบพระราชสมบัติให้แก่เจ้าชมพูพระราชโอรส แต่เจ้าชมพูครองราชย์อยู่ได้ห้าปีก็ถูกบรรดาขุนนางร่วมกันก่อกบฏแล้วจับสำเร็จโทษเสีย จากนั้นก็อัญเชิญพระเจ้าวิชุลราช พระราชโอรสของพระเจ้าไชยจักรพรรดิแผ่นแผ้ว เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2044 พระองค์โดยโปรดให้สร้างวัดวิชุลราชแล้วอัญเชิญพระบางมาประดิษฐาน ดังนั้นเมืองเชียงทองจึงถูกเรียกว่าหลวงพระบางนับแต่นั้นมา

สายสัมพันธ์แห่งอำนาจระหว่างล้านช้างกับล้านนา

 

พระบาง พระคู่บ้านคู่เมืองของอาณาจักรล้านช้าง

ในรัชสมัยของพระเจ้าโพธิสารราช (พ.ศ. 2063 - พ.ศ. 2090) นับได้ว่าเป็นรัชสมัยแห่งความรุ่งเรืองในด้านศิลปะและวรรณกรรมต่างๆ ในด้านพระพุทธศาสนา พระองค์ก็ได้ทรงประกาศห้ามให้มีการบูชาผีต่างๆ และทรงทำนุบำรุงพระพุทธศาสนาด้วยความเลื่อมใสอย่างยิ่ง โดยมีการรับอิทธิพลด้านพุทธศาสนามาจากอาณาจักรล้านนาซึ่งมีความสัมพันธ์ที่ใกล้ชิดกับล้านช้างในเวลานั้นอย่างยิ่ง โดยเฉพาะการใช้อักษรธรรมล้านนาเป็นเครื่องมือศึกษาพระพุทธศาสนา (อักษรดังกล่าวนี้ได้พัฒนาเป็นอักษรธรรมลาวในเวลาต่อมา)

การที่ล้านช้างมีความสัมพันธ์กับล้านนาอย่างใกล้ชิดก็ด้วยเหตุผลด้านการเมืองเป็นหลัก กล่าวคือ ในขณะนั้นอาณาจักรล้านนาได้อ่อนแลลงจากการทำสงครามกับอาณาจักรอยุธยาอย่างต่อเนื่องและยาวนาน ภัยธรรมชาติ และความล้มเหลวในการรุกรานเมืองเชียงตุง เปิดช่องให้อาณาจักรข้างเคียงอย่างล้านช้าง หงสาวดี และอยุธยาสร้างอิทธิพลแทรกแซงภายในอาณาจักร โดยล้านช้างได้เข้าเกี่ยวดองกับล้านนาผ่านการเสกสมรสของเจ้านายในเครือญาติของทั้งสองฝ่าย

ต่อมาเมื่อพระเมืองเกษเกล้าแห่งล้านนาเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2088 อาณาจักรล้านนาก็เกิดความวุ่นวายจากการสรรหาผู้เหมาะสมที่จะเสด็จขึ้นครองราชย์ เหล่าขุนนางแห่งล้านนาจึงได้อัญเชิญพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช พระราชโอรสของพระเจ้าโพธิสารและเจ้าหญิงเชื้อสายล้านนา ให้เสวยราชสมบัติปกครองอาณาจักรล้านนาในปี พ.ศ. 2089 เพื่ออาศัยอิทธิพลของอาณาจักรล้านช้างคานอำนาจกับอาณาจักรหงสาวดีที่นับวันจะกล้าแข็งขึ้นเรื่อยๆ

ต่อมาในปี พ.ศ. 2091 พระเจ้าโพธิสารราชทรงตกช้างระหว่างเสด็จประพาสคล้องช้างป่าและเสด็จสวรรคต ท้าววรวงศ์ (พระมหาอุปราชวงวังโส) และท้าวท่าเรือผู้เป็นพระราชโอรสองค์รองต่างพยายามจะขึ้นครองราชย์สมบัติเป็นกษัตริย์องค์ใหม่ ขุนนางล้านช้างจึงเชิญพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชเสด็จกลับมานครหลวงพระบางเพื่อรับเถลิงถวัลยราชสมบัติระงับเหตุวุ่นวายที่จะเกิดขึ้น โดยพระองค์ยังได้เชิญพระแก้วมรกตซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของล้านนามาสถิต ณ นครหลวงพระบางด้วย ขุนนางแห่งล้านนาจึงถวายราชสมบัติกษัตริย์ล้านนาให้แก่พระเมกุฏิ เจ้านายล้านนาเชื้อสายเมืองเชียงราย ขึ้นปกครองแทน

ความรุ่งเรืองและภัยคุกคามจากหงสาวดี

 

พระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ผู้สถาปนากรุงเวียงจันทร์

รัชกาลพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช นับได้ว่าเป็นสมัยหนึ่งของประวัติศาสตร์ลาวที่มีความรุ่งเรืองมากท่ามกลางวิกฤตการณ์ที่เกิดขึ้นรอบด้าน ชาวลาวล้วนนับถือพระองค์ว่าทรงเป็นมหาราชและทรงเป็นวีรกษัตริย์พระองค์สำคัญในประวัติศาสตร์ลาว พระองค์ได้ทรงประกอบพระราชกรณียกิจต่างๆ ที่สำคัญไว้หลายประการ โดยเฉพาะด้านพระพุทธศาสนาซึ่งได้รับการทำนุบำรุงอย่างกว้างขวาง ทรงโปรดให้มีการสร้างและบูรณะปูชนียสถานในพระพุทธศาสนาหลายแห่ง เช่น ทรงสร้างหอพระแก้วเพื่อประดิษฐานพระแก้วมรกตอันได้ทรงอัญเชิญมาจากอาณาจักรล้านนา และทรงสร้างพระเจดีย์โลกจุฬามณี (พระธาตุหลวง) ที่นครเวียงจันทน์ ทรงสถาปนาพระธาตุศรีสองรักร่วมกับอาณาจักรอยุธยาที่เมืองด่านซ้าย ทรงปฏิสังขรณ์พระธาตุพนมที่เมืองนคร (นครพนม) เป็นต้น

ในระยะเวลานี้เองที่อาณาจักรหงสาวดีในรัชสมัยพระเจ้าบุเรงนองมีกำลังที่เข้มแข็งและทรงอิทธิพลอย่างมาก และพยายามจะขยายอาณาจักรมาทางทิศตะวันออก พระองค์จึงโปรดให้มีการย้ายราชธานีจากหลวงพระบางมาอยู่ที่นครเวียงจันทน์เพื่อหลีกเลี่ยงอำนาจของหงสาวดีในปี พ.ศ. 2103 และพระราชทานนามราชธานีแห่งใหม่นี้ว่า "พระนครจันทบุรีศรีสัตนาคนหุตอุตตมราชธานี" ทั้งยังทรงสร้างสัมพันธไมตรีกับสมเด็จพระมหาจักรพรรดิแห่งกรุงศรีอยุธยาเพื่อเป็นกำลังในการต่อต้านพม่าซึ่งเป็นศัตรูร่วมกัน

ในปี พ.ศ. 2107 ทัพพม่าได้ติดตามจับกุมขุนนางล้านนาเชียงใหม่มาถึงเวียงจันทน์ และสามารถตีกรุงเวียงจันทน์ได้ในขณะที่พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชมิได้ประทับอยู่ในพระนคร พร้อมทั้งกวาดต้อนชาวเมืองและเชื้อพระวงศ์ชั้นสูงกลับไปยังพม่าเป็นจำนวนมาก รวมถึงพระมหาอุปราชวรวังโส พระราชอนุชาของพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช แล้วจึงถอยทัพกลับไป พระองค์ทรงคุมแค้นฝ่ายหงสาวดีอยู่มาก เมื่อฝ่ายอยุธยาขอความช่วยเหลือให้ช่วยรบพม่าในช่วงปี พ.ศ. 2110 – 2112 พระองค์จึงทรงส่งกองทัพไปช่วยเหลืออยุธยาแต่ไม่สำเร็จเนื่องจากถูกฝ่ายพม่าและพระมหาธรรมราชาเมืองพิษณุโลกซ้อนกลจนแตกพ่าย หลังอาณาจักรหงสาวดีพิชิตกรุงศรีอยุธยาได้แล้วพระเจ้าบุเรงนองจึงทรงส่งกองทัพมาปราบปรามล้านช้างแต่ไม่สำเร็จ เนื่องจากพระเจ้าไชยเชษฐาได้ทรงนำกองทัพและชาวเมืองหลบภัยในป่าและคอยลอบโจมตีกองทัพพม่าอยู่เนืองๆ จนกองทัพพม่าต้องถอนกำลังกลับไป

ลุถึงปี พ.ศ. 2114 พระเจ้าไชยเชษฐาธิราชได้เสด็จออกปราบกบฏ ณ เมืองรามรักโองการ (เชื่อกันว่าอยู่ในพื้นที่แขวงอัตตะปือในปัจจุบัน) แล้วสูญหายไปในศึกนั้น ในเวลานั้นพระองค์ทรงมีพระราชโอรสพระองค์เดียวคือพระหน่อแก้วกุมาร ซึ่งประสูติจากบาทบริจาริกาผู้เป็นธิดาของพระยาแสนสุรินทร์ลือชัย และเพิ่งประสูติได้ไม่นาน

ความวุ่นวายในการสืบราชสมบัติ

 

วัดเชียงทอง สถาปัตยกรรมล้านช้าง สมัยสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราช

หลังการหายสาบสูญพระเจ้าไชยเชษฐาธิราช ในกรุงเวียงจันทน์ก็เกิดสงครามกลางเมืองจากการแก่งแย่งตำแหน่งผู้สำเร็จราชการแผ่นดินแทนพระหน่อแก้วกุมารระหว่างเสนาบดีผู้ใหญ่ 2 คน คือ พระยาแสนสุรินทร์ลือชัย อัครมหาเสนาบดีฝ่ายซ้ายผู้มีสถานะเป็นพระอัยกาของพระราชกุมาร กับพระยาจันทสีหราช อัครมหาเสนาบดีฝ่ายขวา ที่สุดแล้วพระยาแสนสุรินทร์ลือชัยเป็นฝ่ายชนะ จึงสถาปนาตนเองเป็นพระสุมังคละอัยโกโพธิสัตว์ราชา เป็นผู้ว่าราชการแผ่นดินแทนพระหน่อแก้วกุมารผู้ทรงพระเยาว์ คนทั่วไปเรียกว่า “พระเจ้าปู่หลาน”

พ.ศ. 2118 ฝ่ายพม่าได้ยกทัพมาตีเมืองเวียงจันทน์ได้ จึงคุมตัวพระยาแสนสุรินทร์ลือชัยกลับหงสาวดี แล้วแต่งตั้งให้พระมหาอุปราชวรวังโส พระอนุชาของสมเด็จพระไชยเชษฐาธิราชซึ่งถูกคุมตัวไปหงสาวดีตั้งแต่ครั้งที่พม่าตีเมืองเวียงจันทน์ครั้งแรก ขึ้นปกครองเมือง

พ.ศ. 2123 ได้เกิดกบฏขึ้นที่เมืองเวียงจันทน์ พระมหาอุปราชสู้ไม่ได้จึงเสด็จหนีแต่ได้สิ้นพระชนม์ระหว่างการเดินทาง เมื่อพม่าได้ยกทัพมาปราบกบฏได้ จึงแต่งตั้งให้พระยาแสนสุรินทร์ลือชัยขึ้นปกครองเมืองอีกครั้ง กระทั่งถึงแก่พิราลัยในปี พ.ศ. 2125 จากนั้น พระยานครน้อย บุตรของพระยาแสนสุรินทร์ลือชัยได้ขึ้นปกครองเมืองสืบต่อจากบิดา แต่ไม่ได้รับความนิยมจากชาวเมืองจึงถูกขุนนางร่วมกันปลดออกจากราชสมบัติ นับแต่นั้นเมืองเวียงจันทน์ก็อยู่ในสภาพไร้ผู้ปกครองถึงแปดปี ขุนนางทั้งหลายจึงได้แต่งตั้งให้คณะสงฆ์เดินทางไปเข้าเฝ้าพระเจ้าบุเรงนองเพื่อทูลขอตัวพระหน่อแก้วกุมารมาครองเมือง พระหน่อแก้วจึงได้ขึ้นครองเมืองเวียงจันทน์อีกครั้งในปีพ.ศ. 2134

พ.ศ. 2139 พระหน่อแก้วกุมารสวรรคต ทำให้พระวรวงศาธรรมิกราชซึ่งเป็นลูกพี่ลูกน้องของพระหน่อแก้วกุมาร ได้รับการอัญเชิญให้ปกครองเมืองเวียงจันทน์

พ.ศ. 2164 พระวรวงศาธรรมิกราชเกิดข้อขัดแย้งกับพระอุปยุวราช พระราชโอรส จนถึงขั้นเข้าต่อสู้กัน พระวรวงศาธรรมิกราชเสด็จสวรรคตในการต่อสู้ พระอุปยุวราชจึงเสด็จขึ้นครองราชย์ แต่ทรงครองราชย์ได้เพียงปีกว่าก็เสด็จสวรรคต ประชาชนก็ได้ร่วมกันอัญเชิญพระยามหานามอันเป็นขุนนางผู้ใหญ่ดำรงตำแหน่งพระยานครขึ้นเป็นกษัตริย์ มีพระนามว่าพระยาบัณฑิตโพธิสาร ทรงครองราชย์ได้สี่ปีก็เสด็จสวรรคต ประชาชนจึงร่วมกันอัญเชิญพระหม่อมแก้ว พระโอรสในพระวรวงศาธรรมิกราช เสด็จขึ้นครองราชย์ในปี พ.ศ. 2170 เมื่อพระองค์เสด็จสวรรคต พระยาอุปยุวราช พระราชโอรสได้เสด็จขึ้นครองราชย์สืบต่อจากพระราชบิดา เมื่อพระอุปยุวราชเสด็จสวรรคต พระโอรสทั้งสองพระองค์ คือ ท้าวต่อนคำ และท้าววิชัย ได้ร่วมกันปกครองบ้านเมือง กระทั่งท้าววิชัยเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2179

ความรุ่งเรืองครั้งสุดท้าย

พระเจ้าสุริยวงศาธรรมมิกราช(พ.ศ. 2181- พ.ศ. 2238) เป็นยุคแห่งความเจริญรุ่งเรืองอีกยุคหนึ่ง เนื่องด้วยพระองค์มีวิธีการปกครองบ้านเมืองหลักแหลมและเป็นธรรม ทำให้ล้านช้างมีความมั่นคงและสงบร่มเย็นกว่าครึ่งศตวรรษ ทั้งความรุ่งเรื่องทางสถาปัตยกรรม อักษรศาสตร์ ศิลปะแขนงต่างๆ ตลอดจนการค้าขายกับต่างชาติ

พระองค์ทรงเป็นผู้ที่มีความยุติธรรม จากรณีที่พระราชโอรสของพระองค์ได้กระทำความผิดลักลอบเป็นชู้กับภริยาของขุนนางผู้หนึ่ง พระองค์ก็ลงโทษตามอาญาถึงขั้นประหารชีวิตโดยมิได้ใส่ใจว่าเป็นพระโอรส ด้วยเหตุนี้พระองค์จึงอยู่ในสภาพที่ไร้รัชทายาท และเมื่อพระองค์สวรรคตโดยไร้รัชทายาท ประชาชนจึงได้อัญเชิญพระยาเมืองจันซึ่งเป็นขุนนางผู้ใหญ่ให้ขึ้นเป็นกษัตริย์ แต่ก็ครองราชย์อยู่ได้หกปี เจ้านันทราชแห่งเมืองน่านก็ยกทัพเข้ามาชิงเมืองเวียงจันทน์ไว้ได้ เจ้านันทราชจึงได้ขึ้นครองราชย์เป็นกษัตริย์แห่งอาณาจักรล้านช้างใน พ.ศ. 2238

ยุคแห่งความแตกแยก

กำเนิดล้านช้างสามอาณาจักร

เมื่อสิ้นรัชสมัยของพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ราชอาณาจักรล้านช้างเกิดภาวะระส่ำระสายอย่างหนัก จากการแก่งแย่งอำนาจของบรรดาเชื้อพระวงศ์ จนทำให้ราชอาณาจักรแตกแยกออกเป็น 3 ราชอาณาจักรเอกราช ได้แก่

 

วัดสีสะเกดหรือวัดแสน สร้างในสมัยพระเจ้าอนุวงศ์แห่งอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์

1. อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์

อาณาจักรนี้คืออาณาจักรที่สืบทอดจากอาณาจักรล้านช้างศรีสัตนาคนหุตเดิม มีอาณาปกครองดินแดนลาวภาคกลางในปัจจุบัน มีพระเจ้าไชยเชษฐาธิราชที่ 2 เป็นปฐมกษัตริย์ พระไชยเชษฐาองค์นี้ทรงเป็นเชื้อพระวงศ์ที่ลี้ภัยการเมืองไปอยู่ที่จักรวรรดิเวียดนาม ซึ่งมีราชธานีในขณะนั้นอยู่ที่เมืองเว้ คนทั้งหลายจึงขนานพระนามอีกอย่างว่าพระไชยองค์เว้หรือพระไชยองค์เวียด พระองค์ได้นำกำลังจากเวียดนามเข้ายึดกรุงเวียงจันทน์จับเจ้านันทราชสำเร็จโทษ แล้วราชาภิเษกพระองค์เองเป็นกษัตริย์ในปี พ.ศ. 2241 จากนั้นจึงทรงตั้งท้าวลองเป็นเจ้าอุปราชครองเมืองหลวงพระบางแต่ไม่ได้รับการยอมรับจากชาวลาวทั้งมวล เพราะพระองค์มีความใกล้ชิดกับจักรวรรดิเวียดนาม

ในปี พ.ศ. 2250 เจ้ากิ่งกิสราชกับเจ้าองค์คำ พระราชนัดดาของพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช ที่หนีไปประทับที่เมืองหงสา (อยู่ในแขวงไซยะบูลีในปัจจุบัน) ได้ยกทัพเข้ามาชิงเมืองหลวงพระบาง จับเจ้าอุปราชท้าวลองสำเร็จโทษ และเตรียมจะยกทัพเข้าตีกรุงเวียงจันทน์ พระไชยองค์เว้จึงทรงมีพระราชสาส์นไปยังสมเด็จพระเพทราชาแห่งกรุงศรีอยุธยาเพื่อขอความช่วยเหลือ ฝ่ายกรุงศรีอยุธยาจึงไกล่เกลี่ยทั้งสองฝ่ายให้ยุติการรบและปกปันเขตแดนต่อกัน ทำให้หลวงพระบางกลายเป็นอาณาจักรเอกราชไม่ขึ้นกับเวียงจันทน์มานับแต่นั้น ในยุคนี้จึงนับได้ว่าเป็นยุคที่ลาวแตกแยกเป็น 2 อาณาจักร คือ อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์และอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง ซึ่งเวียงจันทน์ก็เองไม่ไว้ใจและหาทางทำลายฝ่ายหลวงพระบางอยู่ตลอด

 

ตราแผ่นดินพระราชอาณาจักรลาว เป็นตราประจำราชวงศ์ล้านช้างหรือราชวงศ์ขุนลอ ซึ่งสืบเชื้อสายทางผู้ปกครองอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง

2. อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง

อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบางถือกำเนิดจากความแตกแยกระหว่างเวียงจันทน์และหลวงพระบางในปี พ.ศ. 2250 ดังได้กล่าวมาแล้ว มีอาณาปกครองดินแดนลาวภาคเหนือในปัจจุบัน มีพระเจ้ากิ่งกิสราชเป็นปฐมกษัตริย์ (พ.ศ. 2249 - 2256) และมีเชื้อสายกษัตริย์สืบราชสมบัติต่อมาจนกระทั่งประเทศลาวเป็นเอกราชจากฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2492 และเป็นกษัตริย์แห่งราชอาณาจักรลาวต่อมาจนถึงปี พ.ศ. 2518 ในยุคแรกอาณาจักรนี้เกิดการแย่งชิงอำนาจภายในของตนเองเป็นระยะ และมีการจะขอกำลังจากรัฐที่ใหญ่กว่าอย่างพม่ามาช่วยเหลือเสมอ แน่นอนว่าฝ่ายหลวงพระบางก็ไม่ไว้ใจและหาทางทำลายฝ่ายเวียงจันทน์เช่นกัน

3. อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์

อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์มีกำเนิดมาจากการอพยพหลบภัยการเมืองของเจ้านางสุมังคละและประชาชนส่วนหนึ่งภายใต้การนำของเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก พระเถระผู้ใหญ่ในรัชสมัยพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช มูลเหตุมาจากพระยาเมืองจันผู้เป็นเสนาบดีได้ชิงราชสมบัติขึ้นครองอาณาจักรหลังพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราชเสด็จสวรรคต และคิดจะเอาเจ้านางสุมังคละ พระราชนัดดาของพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช (ซึ่งทรงเป็นหม้ายและกำลังทรงครรภ์) เป็นมเหสี แต่นางไม่ยอม จึงหนีไปขอความช่วยเหลือจากเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็ก เจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กจึงพาญาติโยมของตนประมาณ 3,000 คนและเจ้านางสุมังคละหนีออกจากเวียงจันทน์ทางใต้ไปซ่อนตัวอยู่ที่บ้านงิ้วพันลำโสมสนุก ณ ที่นั้นเจ้านางสุมังคละได้ประสูติพระโอรสนามว่า เจ้าหน่อกษัตริย์

ต่อมานางแพงเจ้าเมืองจำปาสักชาวพื้นเมืองได้อาราธนาเจ้าราชครูหลวงโพนสะเม็กมาปกครองบ้านเมือง เจ้าราชครูหลวงปกครองบ้านเมืองได้ระยะหนึ่งก็เกิดปัญหาการปกครองในบางประการซึ่งเอาหลักทางธรรมมาตัดสินและยุติปัญหาไม่ได้ ท่านจึงให้คนไปเชิญเจ้าหน่อกษัตริย์ซึ่งเจริญพระชนม์มากพอที่จะปกครองบ้านเมืองได้แล้ว มาทำพิธีราชาภิเษกเป็นกษัตริย์ปกครองนครจำปาสักในปี พ.ศ. 2257 ทรงพระนามว่า เจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร อาณาจักรล้านช้างแห่งที่ 3 คือ อาณาจักรล้านช้างจำปาสัก จึงถือกำเนิดขึ้นในปีนี้ พระองค์ได้ประกาศอาณาเขตแยกออกจากเวียงจันทน์ ปกครองดินแดนลาวภาคใต้ตั้งแต่เขตเมืองนครพนม เมืองคำม่วน ลงไปจนถึงเมืองเชียงแตง เมืองมโนไพรต่อแดนเขมร ส่วนทางด้านตะวันตกอาณาเขตไปไกลจนถึงเมืองท่งหรือเมืองสุวรรณภูมิ เชื้อสายของกษัตริย์แห่งอาณาจักรนี้ได้ปกครองจำปาสักต่อมาทั้งในฐานะกษัตริย์ เจ้าผู้ครองนคร และผู้ว่าราชการเมือง จนกระทั่งแผ่นดินลาวรวมเป็นหนึ่งในปี พ.ศ. 2489 แต่ยังคงมีบทบาททางการเมืองในลาวยุคพระราชอาณาจักรมาตลอดจนถึงการเปลี่ยนแปลงการปกครองในปี พ.ศ. 2518

การสูญเสียเอกราชแก่สยาม

เมื่ออาณาจักรล้านช้างแตกเป็น 3 อาณาจักรเอกราช แต่ละอาณาจักรต่างตั้งตนเป็นอิสระไม่ขึ้นต่อกันและไม่ไว้ใจซึ่งกันและกัน โดยเฉพาะกับหลวงพระบางและเวียงจันทน์แล้ว ทั้งสองอาณาจักรนี้ล้วนถือว่าอีกฝ่ายเป็นศัตรูเลยทีเดียว ต่างก็จ้องหาทางทำลายล้างต่อกันด้วยการอาศัยกำลังทหารพม่าที่มีอำนาจในล้านนาอยู่ตลอด

มูลเหตุที่อาณาจักรล้านช้างทั้งสามจะเสียเอกราชให้แก่สยามมาจากความขัดแย้งภายในของอาณาจักรล้านช้าง ระหว่างพระเจ้าศิริบุญสารกษัตริย์เวียงจันทน์กับเจ้าพระวอ เจ้าพระตา สองขุนนางผู้ใหญ่ ทั้งสองคนนี้เป็นพี่น้องกัน (บางแห่งว่าพระวอเป็นพี่ พระตาเป็นน้อง บางแห่งว่ากลับกัน บางแห่งว่าทั้งสองคนเป็นคนเดียวกันก็มี) มีเชื้อสายเจ้าปางคำเมืองเชียงรุ้ง ซึ่งได้รับความช่วยเหลือจากกษัตริย์เวียงจันทน์ให้ตั้งถิ่นฐานที่เมืองหนองบัวลุ่มภูซึ่งเป็นเมืองหน้าด่าน ทั้งสองเคยได้ช่วยเหลือให้พระเจ้าศิริบุญสารได้เสวยราชสมบัติในเวียงจันทน์มาก่อน ต่อมาในปี พ.ศ. 2313 พระเจ้าศิริบุญสารทรงขอตัวลูกสาวของขุนนางทั้งสองทำนองจะเอาไว้เป็นตัวประกัน เจ้าพระวอ เจ้าพระตา ไม่พอใจพระเจ้าศิริบุญสารมาก จึงกลับมาตั้งมั่นเตรียมสู้รบอยู่ที่เมืองหนองบัวลุ่มภู (สาเหตุที่ขัดแย้งกันยังมีต่างออกไปอีกตามหลักฐานแต่ละแห่ง)

พระเจ้าศิริบุญสารทรงส่งกองทัพมาปราบถึงสามครั้ง กองทัพฝ่ายเจ้าพระวอเจ้าพระตาก็ชนะทุกครั้ง แต่เมื่อรบนานไปฝ่ายหนองบัวลุ่มภูเห็นว่าจะแพ้เพราะกำลังรบลดลงแน่นอนจึงได้ขอความช่วยเหลือจากกองทัพพม่า ทว่ากองทัพพม่ากลับให้ความช่วยเหลือแก่ฝ่ายเวียงจันทน์เพราะฝ่ายเวียงจันทน์ส่งคนไปขอความช่วยเหลือตัดหน้าฝ่ายหนองบัวลุ่มภู ในการรบครั้งต่อมาฝ่ายหนองบัวลุ่มภูจึงแพ้ เจ้าพระตาตายในที่รบ เจ้าพระวอจึงนำไพร่พลและเชื้อสายที่รอดตายหนีไปพึ่งพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารแห่งอาณาจักรล้านช้างจำปาสัก โดยไปตั้งมั่นอยู่ที่บ้านเวียงดอนกองซึ่งอยู่ในเขตพื้นที่จังหวัดอุบลราชธานีของไทยในปัจจุบัน

ต่อมาในปี พ.ศ. 2319 เจ้าพระวอเกิดความขัดแย้งกับพระเจ้าองค์หลวงไชยกุมารจากเรื่องการสร้างกำแพงเมืองกับการสร้างหอคำ (เรือนหลวง) จึงได้พาไพร่พลมาตั้งมั่นที่บ้านดอนมดแดงและทำหนังสือขอเป็นขอบขัณฑสีมาของกรุงสยามในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช ซึ่งพระองค์ก็ได้รับไว้ ฝ่ายเวียงจันทน์เห็นว่าถ้าส่งกำลังไปปราบเจ้าพระวอแล้วฝ่ายจำปาสักจะไม่ให้ความช่วยเหลือเจ้าพระวอแน่นอนจึงทรงส่งกองทัพมาจับเจ้าพระวอฆ่าที่บ้านดอนมดแดงเสีย ท้าวคำผง ท้าวทิดพรหม และท้าวก่ำ บุตรหลานของเจ้าพระวอและเจ้าพระตาซึ่งตีฝ่าวงล้อมออกมาได้จึงแจ้งเรื่องกราบทูลไปยังกรุงธนบุรีผ่านทางเมืองนครราชสีมา

สมเด็จพระเจ้าตากสินทรงพระพิโรธมากที่ฝ่ายเวียงจันทน์ส่งกองทัพมาฆ่าผู้ที่อยู่ในขอบขัณฑสีมาของพระองค์ กอปรกับพระองค์เองก็ไม่ทรงไว้ใจฝ่ายเวียงจันทน์ที่มีท่าทีฝักใฝ่อาณาจักรพม่าซึ่งยังคงคุกคามฝ่ายสยามอยู่ตลอด ในปี พ.ศ. 2321 พระองค์จึงทรงส่งกองทัพภายใต้การนำของสมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์ขึ้นไปตีอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์ โดยไล่ตีมาทางใต้ผ่านทางอาณาจักรล้านช้างจำปาสักก่อน ฝ่ายจำปาสักเห็นว่าจะสู้กองทัพไทยไม่ได้จึงยอมอ่อนน้อมโดยดี จากนั้นจึงยกทัพขึ้นเหนือตีหัวเมืองหน้าด่านของเวียงจันทน์เรื่อยมา จนสามารถหักเอาเมืองเวียงจันทน์ได้สำเร็จ ฝ่ายสยามจึงกวาดต้อนทรัพย์สิน ผู้คน ขุนนาง เชื้อพระวงศ์ และกุมตัวพระเจ้าศิริบุญสารลงมายังกรุงธนบุรี ด้านอาณาจักรล้านช้างหลวงพระบางซึ่งเป็นอริกับเวียงจันทน์มาตลอดก็ได้ให้ความช่วยเหลือฝ่ายสยามในสงครามครั้งนี้อย่างเต็มที่ แต่พอสิ้นศึกก็ถูกฝ่ายไทยบังคับให้ยอมอ่อนน้อมเป็นเมืองขึ้นด้วยเช่นกัน อาณาจักรล้านช้างทั้งสามแห่งจึงตกเป็นประเทศราชของไทยทั้งหมดในปี พ.ศ. 2321 นี้เอง แม้ต่อมาภายในสยามก็เกิดการเปลี่ยนแปลงราชวงศ์สู่ราชวงศ์จักรีและย้ายราชธานีมายังกรุงรัตนโกสินทร์ในปี พ.ศ. 2325 ก็ตาม แต่ภาวะความเป็นประเทศราชของทั้งสามอาณาจักรก็มิได้เปลี่ยนแปลง

 

อาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์

ภายหลังที่สูญเสียเอกราชให้แก่อาณาจักรสยาม พระเจ้าแผ่นดินเสียมจึงให้เจ้านันทเสนโอรสของพระเจ้าศิริบุญสาร เสด็จขึ้นครองราชย์แทน แล้วแต่งตั้งเจ้าอินทวงศ์เป็นอุปราช ส่วนเจ้าอนุวงศ์และเจ้าพรหมวงศ์ให้ลงไปเป็นตัวประกันที่กรุงธนบุรี แต่ต่อมาก็เกิดข้อพิพาทฟ้องร้องกันกับเจ้าอนุรุทธแห่งนครหลวงพระบางหลายครั้ง จนครั้งสุดท้ายในปี พ.ศ. 2336 เจ้านันทเสนถูกกล่าวหาว่าสมคบกับเจ้าเมืองนครพนมและเวียดนามจะก่อการกบฏ จึงถูกเรียกตัวลงไปสอบสวนที่กรุงเทพฯ พระองค์ต่อสู้คดีอยู่ 2 ปี ก็เสด็จสวรรคต

เจ้าอินทวงศ์พระอนุชาของเจ้านันทเสนได้ครองราชย์สืบต่อ และครองเมืองมาถึงปี พ.ศ. 2346 ก็ถึงแก่พิราลัย ทำให้เจ้าอนุวงศ์ พระราชโอรสองค์ที่ 3 ของพระเจ้าศิริบุญสารได้ขึ้นครองราชสมบัติในนครเวียงจันทน์ พระองค์เป็นผู้มีความสามารถในหลายด้าน โดยได้เคยยกทัพไปช่วยฝ่ายไทยรบกับพม่าจนได้รับชัยชนะหลายครั้ง ตลอดจนได้ทรงจัดแจงสร้างบ้านแปลงเมืองให้เจริญรุ่งเรืองในหลายด้าน ทั้งในทางพระพุทธศานาและทางทหาร ทั้งได้ฟื้นฟูความสัมพันธ์กับหลวงพระบางและจำปาศักดิ์ พระองค์ทรงมีความพยายามที่จะกอบกู้อิสรภาพคืนจากไทยแต่ไม่ประสบผลสำเร็จ จึงถูกจับตัวส่งลงไปที่กรุงเทพฯ พร้อมด้วยพระบรมวงศานุวงศ์ และสด็จสวรรคตในพ.ศ. 2371

เมื่อกองทัพอาณาจักรสยามตีนครเวียงจันทน์ครั้งที่ 2 ในรัชกาลของเจ้าอนุวงศ์นี้ ฝ่ายสยาม (รัชกาลที่ 3) ได้สั่งให้ "ทำลายนครเวียงจันทน์ให้สิ้นซาก" ทั้งกำแพงเมืองและวัดวาอารามต่างๆ ตลอดจนต้นไม้และไร่นาก็ถูกเผาจนหมดสิ้น อีกทั้งให้ล้มเลิกอาณาจักรล้านช้างเวียงจันทน์เสีย มิให้มีเมืองและเจ้าครองนครอีกต่อไป นครเวียงจันทน์ที่เคยรุ่งเรืองและอุดมสมบูรณ์มาหลายร้อยปี ก็ถูกทำลายลงจนถึงกาลอวสานกลายเป็นเมืองร้าง ในปี พ.ศ. 2371

อาณาจักรล้านช้างหลวงพระบาง

เมื่อสูญเสียเอกราชใน พ.ศ. 2321 ในสมัยเจ้าสุริยวงศ์ พระองค์จึงถูกคุมตัวลงไปที่กรุงธนบุรี ภายหลังจึงถูกส่งคืนมาเป็นเจ้านครหลวงพระบาง และเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ. 2334 บรรดาเสนาอำมาตย์จึงทูลเชิญเจ้าอนุรุทธ พระอนุชาของเจ้าสุริยวงศ์ขึ้นครองราชย์ เมื่อเจ้านันทเสนแห่งเวียงจันทน์ยกทัพมาตีหลวงพระบางได้ เจ้าอนุรุทธจึงถูกส่งลงไปขังที่กรุงเทพฯอยู่ 4 ปี จึงได้เสด็จกลับมาขึ้นครองราชย์ตามเดิม และเสด็จสวรรคตใน พ.ศ. 2339 เจ้ามันธาตุราช โอรสของเจ้าอนุรุทธะจึงได้ขึ้นครองเมืองแทนใน พ.ศ. 2360 ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เสด็จสวรรคต เจ้ามันธาตุราชจึงได้เสด็จลงไปกรุงเทพฯ เพื่ออุปสมบทต่อหน้าพระบรมศพแล้วจึงเสด็จกลับมาครองครองราชย์ตามเดิม โดยในปี พ.ศ. 2370 เกิดเหตุการณ์กบฏเจ้าอนุวงศ์ เจ้ามันธาตุราชจึงได้ส่งกำลังพลไปช่วยกองทัพไทยตีเวียงจันทน์

เมื่อเจ้ามันธาตุราชสิ้นพระชนม์ในปี พ.ศ. 2379 ทางกรุงเทพฯจึงตั้งให้เจ้าสุกเสริม โอรสของเจ้ามันตุราชขึ้นเป็นพระเจ้าแผ่นดินหลวงพระบางใน พ.ศ. 2381 และสิ้นพระชนม์ใน พ.ศ. 2393 เจ้านันทราชราชโอรสองค์ที่ 2 ของเจ้ามันธาตุราชได้ครองราชสืบแทนและครองราชย์อยู่ 20 ปี จึงสวรรคตใน พ.ศ. 2414 ทำให้เจ้าอุ่นคำโอรสของเจ้ามันตุราช ได้ครองราชสมบัติสืบต่อ ในรัชสมัยนี้เจ้าอุ่นคำนี้ได้เกิดกบฏฮ่อขึ้นทำให้พระองค์หนีไปอยู่ที่เมืองปากลาย รัฐบาลไทยในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้จึงได้ส่งกองทัพมาปราบ พร้อมทั้งปลดเจ้าอุ่นคำออกจากบัลลังก์ แล้วตั้งเจ้าคำสุกโอรสของเจ้าอุ่นคำขึ้นครองราชย์แทน ในพ.ศ. 2432

เจ้าคำสุกได้ ได้ขึ้นครองราชย์จนถึง พ.ศ. 2436 เกิดกรณีพิพาทสยาม-ฝรั่งเศส รัฐบาลสยามได้ยอมยกดินแดนทางฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงทั้งหมดให้แก่รัฐบาลฝรั่งเศส เจ้าคำสุกจึงเป็นพระเจ้าแผ่นดินหลวงพระบางภายใต้การอารักขาของฝรั่งเศส จนถึง พ.ศ. 2448 จึงสิ้นพระชนม์

 อาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์

ภายหลังจากที่จำปาศักดิ์แยกเป็นอิสระจากเวียงจันทน์เมื่อ พ.ศ. 2257 โดยมีเจ้าสร้อยศรีสมุทรพุทธางกูร ผู้เป็นหลานของพระเจ้าสุริยวงศาธรรมิกราช เป็นพระเจ้าแผ่นดิน ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2321 ในสมัยของเจ้าไชยกุมาร นครจำปาศักดิ์ก็ต้องเสียเอกราชให้แก่ไทย ต่อมาเมื่อ พ.ศ. 2334 ได้เกิดกบฏขึ้นในนครจำปาศักดิ์ทำให้เจ้าไชยกุมารต้องเสด็จหนีแล้วไปสวรรคตในป่า แต่ท้าวฝ่ายหน้าแห่งบ้านสิงห์ท่า (เมืองยโสธร) กับพระปทุมสุรราช (คำผง) เจ้าเมืองอุบล ได้ยกกองกำลังไปปราบกบฏและตีเอาเมืองจำปาศักดิ์คืนมาได้ ทำให้ท้าวฝ่ายหน้าได้รับแต่งตั้งจากไทยให้เป็นเจ้านครจำปาศักดิ์มีนามว่า พระวิไชยราชขัตติยวงศา

เมื่อพระวิไชยราชขัตติยวงศาถึงแก่กรรมใน พ.ศ. 2350 ฝ่ายอาณาจักรสยามจึงได้แต่งตั้งเจ้านู โอรสของเจ้าไชยกุมาร ขึ้นเป็นเจ้าเมืองแทน แต่ก็ถึงแก่พิราลัย หลังรับสุพรรณบัตรเจ้าเมืองได้เพียง 3 วัน ฝ่ายไทยจึงได้แต่งตั้งให้เจ้าหมาน้อย โอรสของอุปราชสุริโย เป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ ต่อมาเกิดกบฏอ้ายสาเกียดโง้งขึ้นในเมือง ทำให้เจ้าหมาน้อยถูกส่งตัวลงไปยังกรุงเทพฯ และได้ถึงแก่กรรมที่กรุงเทพฯ ในปี พ.ศ. 2370 เจ้าราชบุตรโย้ โอรสของเจ้าอนุวงศ์ ที่มีความชอบจากการปราบกบฏอ้ายสา จึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ แต่เมื่อเกิดเหตุการณ์กบฏเจ้าอนุวงศ์ขึ้น เจ้าราชบุตรโย้จึงถูกเจ้าฮุยจับตัวส่งให้แก่ทางกรุงเทพฯ เจ้าฮุยจึงได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ใน พ.ศ. 2371

เมื่อเจ้าฮุยถึงแก่พิราลัยใน พ.ศ. 2384 เจ้านาคผู้เป็นอุปราชจึงได้ครองเมืองสืบแทน จนถึงแก่พิราลัยด้วยอหิวาตกโรคใน พ.ศ. 2396 ทางฝ่ายสยามจึงได้แต่งตั้งเจ้าคำใหญ่ ผู้เป็นโอรสของเจ้าฮุย ขึ้นเป็นเจ้านครจำปาศักดิ์ มีนามว่า เจ้ายุติธรรมธร (คำใหญ่) จนถึง พ.ศ. 2402 ก็ถึงแก่กรรม เจ้าคำสุกผู้เป็นอนุชาจึงได้เป็นเจ้านครจำปาศักดิ์สืบแทน มีพระนามว่า เจ้ายุติธรรมธร (คำสุก) พระองค์ได้ส่งบุตรชายทั้ง 3 ไปยังกรุงเทพฯจนได้รับพระราชทานบรรดาศักดิ์ทั้งสามคนได้แก่ เจ้าราชดนัย (หยุย) เจ้าศักดิ์ประสิทธิ์ (เจ้าเบง) และเจ้าศักดิ์ประเสริฐ (เจ้าอุย)

เมื่อเกิดกรณีพิพาทสยาม-ฝรั่งเศส ฝ่ายอาณาจักรสยามได้ยกดินแดนฝั่งซ้ายแม่น้ำโขงให้แก่ฝรั่งเศสในปี พ.ศ. 2446 เมื่อเจ้ายุติธรรมธร (คำสุก) ถึงแก่พิราลัย เจ้าราชดนัย (หยุย) ก็ได้รับแต่งตั้งจากฝรั่งเศสให้เป็นผู้ว่าการนครจำปาศักดิ์ ดังนั้นอาณาจักรล้านช้างจำปาศักดิ์จึงมีฐานะเป็นอาณานิคมของฝรั่งเศส

แกะรอยศิลาจารึกลาว"วัดวิชุน" เปิดพรมแดนวิชาการ ไทย-ลาว

 

มีการตีพิมพ์ข่าวการพบศิลาจารึกที่เชื่อว่าเก่าแก่ที่สุดหลักหนึ่ง รศ.ศรีศักร วัลลิโภดม พบจากบทความคอลัมน์มรดกลาว ในนิตยสารท่องเที่ยวเมืองลาว ฉบับที่ 26 เดือนกรกฎาคม-กันยายน ค.ศ.2005 นิตยสารประจำสายการบินลาว ซึ่งบุนมี เทบสีเมือง ผู้เขียนบทความดังกล่าวว่า *ศิลาจารึกดังกล่าวสร้างขึ้นเมื่อ ร.ศ.532 ตรงกับ ค.ศ.1713* จึงนำไปสู่คำถามที่ว่า ศิลาจารึกดังกล่าวสร้างขึ้นใน ร.ศ.532 จริงหรือไม่ เพราะถ้าเป็นเช่นนั้นจริง เท่ากับศิลาจารึกหลักดังกล่าวเก่ากว่าศิลาจารึกพ่อขุนรามคำแหง 113 ปี เพื่อแสวงหาคำตอบดังกล่าว สมาคมไทย-ลาวเพื่อมิตรภาพ และคณะนักวิชาการด้านโบราณคดีไทย ได้เดินทางไปเยือนหลวงพระบางเมื่อต้นเดือนที่ผ่านมา ไปยังวัดวิชุน ซึ่งเป็นที่ประดิษฐานของศิลาจารึกหลักดังกล่าว พร้อมกับร่วมพบปะ แลกเปลี่ยนความคิดเห็นร่วมกันกับคณะกรรมการสมาคมลาว-ไทยเพื่อมิตรภาพ และนักวิชาการลาว ทั้งนี้ วัดวิชุน หรือ วัดวิชุนนะลาด ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ของเมืองหลวงพระบาง ถนนวิชุนราช สร้างขึ้นเมื่อ จ.ศ.874 หรือ ค.ศ.1512 (พ.ศ.2055) โดยพระเจ้าวิชุนราช ซึ่งเป็นกษัตริย์แผ่นดินล้านช้างเมื่อ จ.ศ.863 เพื่อเป็นที่ประดิษฐานของพระบาง ซึ่งอาราธนามาจากเมืองเวียงคำ สิมหลังเก่านั้นสร้างด้วยไม้ทั้งหลัง รูปแบบสถาปัตยกรรมเป็นแบบลาวเดิมสมัยอาณาจักรลาวล้านช้างยุคต้นคริสต์ศตวรรษที่ 14 มีขนาดยาว 36 เมตร กว้าง 18 เมตร ด้านตรงข้ามของสิมเป็น "พระธาตุหมากโม" ทรงโอคว่ำคล้ายแตงโมผ่าครึ่ง พระนางพันตินะเชียงเบด พระอัครมเหสีของพระเจ้าวิชุนราชโปรดฯ ให้สร้างขึ้นหลังจากสร้างวัดแล้ว 11 ปี ถือเป็นพระธาตุสำคัญองค์หนึ่งเช่นเดียวกับพระธาตุหลวงในเวียงจัน พระธาตุพนมในประเทศไทย พระธาตุชเวดากองในย่างกุ้ง พระธาตุพุทธคยาในอินเดีย ฯลฯ ค.ศ.1888 โจรฮ่อเข้ามารื้อทำลายเพื่อนำเอาของมีค่าที่ประดับอยู่บนยอดช่อฟ้าของสิมและยอดพระธาตุหมากโม ซึ่งเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ในบริเวณวัด หลังจากนั้น พระเจ้าสักรินทร์ ซึ่งเป็นพระราชบิดาของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ โปรดฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ตามแบบเดิมในปี ค.ศ.1894 เมื่อแล้วเสร็จนักปราชญ์ลาวและฝรั่งเศสได้ตกลงกันให้รวบรวมเอาโบราณวัตถุและศิลาจารึกตามบริเวณวัดร้าง วัดเก่าแก่ทั้งหลายที่ไม่ได้รับการเก็บรักษาที่ดีมาเก็บไว้ที่สิมวัดวิชุนเพื่อป้องกันการถูกทำลายหรือสูญหาย ในรัชสมัยของเจ้ามหาชีวิตศรีสว่างวงศ์ยังมีการปฎิสังขรณ์อีกครั้ง ครั้งนี้พบโบราณวัตถุมากมาย เช่น เจดีย์ทองคำ พระพุทธรูปหล่อสำริด พระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปเงิน พระพุทธรูปที่แกะสลักจากแก้ว เช่นเดียวกับพระแก้วมรกต ฯลฯ ปัจจุบันเก็บรักษาไว้ในพระราชวังหลวงพระบาง หรือพิพิธภัณฑ์เจ้ามหาชีวิต ทุกวันนี้วัดวิชุนเป็นอีกวัดหนึ่ง ที่นักท่องเที่ยวจะเข้ามาเยี่ยมชม สักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ภายในวัด นอกเหนือจากวัดเชียงทอง สัญลักษณ์ของเมืองหลวงพระบาง โดยเสียค่าตั๋วคนละ 10,000 กีบ หรือประมาณ 40 บาท ด้านหน้าสิมจึงมีของที่ระลึกไว้จำหน่าย เช่น โปสการ์ด ตุ๊กตาปู่เยอย่าเยอ ฯลฯ ภายในสิมวัดวิชุนมีศิลาจารึกประดิษฐานอยู่ทั้งหมด 6 หลัก เป็นจารึกอักษรลาว 4 หลัก อักษรธรรม 2 หลัก ทั้งหมดตั้งอยู่บนแท่นไม้เรียงกันเป็นแถวทางด้านซ้ายของพระประธาน บุนมี นักประวัติศาสตร์และโบราณคดีลาว เจ้าของบทความชิ้นดังกล่าว เล่าถึงที่มาของการพบศิลาจารึกหลักนี้ว่า เมื่อสงกรานต์ ค.ศ.2001 ได้มาเยี่ยมลูกสาวและลูกเขยซึ่งอยู่ที่บ้านวิชุน เมื่อมีโอกาสจึงเข้าวัดทำบุญ และได้พบศิลาจารึกดังกล่าว "ปีแรกที่มาได้ถ่ายรูปกลับไปศึกษา เพราะอ่านไม่ออก ผมเข้าห้องสมุดไปค้นคว้า ปี 2002 มาใหม่แล้วเขียนรายงานให้กรมพิพิธภัณฑ์และวัตถุโบราณทราบ ตอนหลังผมมาศึกษาอีก แต่ไม่แน่ใจเรื่องตัวเลข เพราะอย่างเลข 2 ของลาว หางจะชี้ขึ้น แต่ในศิลาจารึกหางชี้ลง จนได้มาเห็นจารึกไทยสมัยอยุธยา เลข 2 หางเป็นแบบนี้จึงสรุปได้" บุนมีเล่าต่อไปว่า จารึกหลักนี้พบที่ไหนไม่มีใครทราบ เพราะเมื่อครั้งที่ขอมเข้ามาตีได้เผาทำลายหมด ภายหลังเมื่อมีการปฏิสังขรณ์วัดนี้แล้ว ฝรั่งเศสได้ให้รวบรวมศิลาจารึกจากวัดต่างๆ มาเก็บรักษาไว้ที่วัดนี้ ซึ่งผู้เฒ่าผู้แก่ที่เคยอยู่ที่นี่มา 60 ปี ก็ว่าตั้งแต่มาอยู่ก็เห็นศิลาจารึกนี้แล้ว *ปัจจุบันแม้ว่ากรมพิพิธภัณฑ์และวัตถุโบราณ ซึ่งเทียบเท่ากับกรมศิลปากรของไทยได้มาศึกษาศิลาจารึกหลักนี้ และขึ้นทะเบียนไว้แล้ว เพื่อไม่ให้หาย แต่ไม่เกี่ยวกับการอ่าน เพราะอ่านก็ไม่เข้าใจ จึงไม่ค่อยมีคนสนใจ* นอกเหนือจากความเป็นหลักฐานที่เป็นลายลักษณ์อักษรบอกเล่าเศษเสี้ยวหนึ่งของประวัติศาสตร์ลาวแล้ว ศิลาจารึกหลักดังกล่าวยังช่วยจุดประกายให้นักวิชาการทั้งไทยและลาวได้หันหน้าเข้ามาศึกษา แลกเปลี่ยนความรู้ซึ่งกันและกัน บุนมี ซึ่งสนใจค้นคว้าเอกสารที่ว่าด้วยเรื่องราวของกลุ่มชาติพันธุ์ในดินแดนแถบนี้ ไม่ว่าจะจากใบลาน จากศิลาจารึก หรือหนังสือตามห้องสมุดในต่างประเทศ เช่น ที่ฮานอย ซึ่งมีห้องสมุดใหญ่ถึง 2 แห่ง สำหรับเก็บเอกสารโบราณๆ ไว้มากมาย เล่าว่า "การอ่านประวัติศาสตร์ต้องนึกถึงศูนย์กลางของเรื่องว่าคืออะไร ต้องเล็งจุดนั้น ผมเองบางทีอ่านแล้วก็ปวดหัวเหมือนกัน แต่เฮาก็ต้องดูว่าได้ความรู้อะไรจากมันในแง่ประวัติศาสตร์ หรือศิลปะ โบราณคดี อย่าแต่คิดว่าเรื่องของเทวดาเอาน้ำเต้าปุงมาให้ นี่ไม่มีหรอก เพราะนี่เป็นกุศโลบายเอาเทพนิยายมาเขียนเพื่อให้มีความศักดิ์สิทธิ์" ตำนานเรื่องขุนบรม ซึ่งฝ่ายลาวเชื่อว่าเกิดขึ้นในสมัยพระเจ้าวิชุนราชจึงมีขึ้น เป็นกุศโลบายเพื่อให้เกิดความสามัคคีในสมัยนั้นซึ่งเป็นช่วงปลดปล่อยทาส บุนมีเล่าต่อไปว่า ในลาวมีนักวิชาการที่สนใจศึกษาเรื่องประวัติศาสตร์เหล่านี้มากเหมือนกัน เพียงแต่ยังไม่มีการรวมกลุ่มกันเป็นสมาคม ใครไปศึกษาเอกสารที่ไหนกลับมาจะมีการบันทึกไว้ ทำให้ผู้อื่นได้รับความรู้นั้นไปด้วย และใช้ในการต่อยอด ตีความเพื่อความเข้าใจต่อไป "เอกสารของฝรั่งเศสที่ได้จากหอสมุดในเมืองฮานอย ประเทศเวียดนาม บันทึกไว้ตามคำบอกเล่าของพ่อค้าจีนว่า ได้มาค้าขายที่อาณาจักรฟูเลียว (ฟู คือ เมือง, เลียว คือ ลาว) หรือเมืองวันตัน คือเวียงจัน เมื่อ ค.ศ.705-706 ได้บรรยายว่า อาณาจักรฟูเลียวกว้างใหญ่ ทิศเหนือติดหนองแส ทิศใต้ติดฟูนัน ศิลาจารึกบางหลักว่า ค.ศ.431 เวลานั้นอาณาจักรฟูเลียวมีอักษรใช้แล้ว จนถึงคริสต์ศตวรรษที่ 10 มีศิลาจารึกเป็นอักษรลาว อาณาจักรศรีโคตรบูรครองความเป็นอาณาจักรมายาวนานจนถึงศตวรรษที่ 17 พระเจ้าชัยวรมันที่ 7 บุกรุกเข้ามาจึงเสียเอกราช จึงมั่นใจว่าพวกเฮาเป็นเจ้าของที่นี่ บ่ได้มาจากทางเหนือ" บุนมี กล่าวอย่างหนักแน่น "ผมตั้งข้อสังเกตว่าคนทางเหนือที่มา อย่าง พวกไทดำ ไทแดง ผู้ไท เชียงใหม่ มาจากอาณาจักรไทย-ลาว การออกเสียงแตกต่างกัน อย่าง ตัว พ เพิ่นว่า ป เฮาว่า "พ่อแม่" เพิ่นว่า "ป้อแม่" เฮาว่า "สิบสองพันนา" เพิ่นว่า "สิบสองปันนา" ภาษามันแตกต่างกัน ลาวอีสาน ลาวภาคกลางหรือเวียงจันพูดเหมือนกัน ล้านช้างก็พูดเหมือนกัน เรียกพ่อเรียกแม่เหมือนกัน ประเพณีการฝังศพก็เหมือนกัน" ขณะที่ รศ.ศรีศักร นักวิชาการมูลนิธิเล็ก-ประไพ วิริยะพันธุ์ ให้ความเห็นว่า การเดินทางมาวัดวิชุนครั้งนี้ไม่ได้สนใจว่าศิลาจารึกลาวจะเป็นของเก่าหรือของใหม่ แต่ข้อความข้างในนั้นให้ความหมายมากกว่าเพราะบอกเล่าถึงสิ่งที่เกิดขึ้น ที่สำคัญคือ การศึกษาศิลาจารึกนี้เป็นการศึกษาประวัติศาสตร์ของลาวโดยลาวเอง ไม่ได้เดินตามฝรั่ง ส่วนเรื่องจุลศักราชจริงหรือไม่ ผู้เชี่ยวชาญด้านจารึกต้องมาคุยกัน อีกประการคือ เราไม่ทราบที่มาของศิลาจารึก ต้องสำรวจรอบๆ หลวงพระบางว่ามีแหล่งโบราณสถานใดที่มีอายุราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 คือประมาณ 1,700 ปีก่อน "ไทย-ลาว เป็นตระกูลภาษาเดียวกันในบรรดากลุ่มชาติพันธุ์ ซึ่งเป็นมอญ เขมร หรือตะเลง ปรากฏในภูมิภาคที่เป็นสุวรรณภูมิ ต่างก็สร้างบ้านแปงเมืองมาด้วยกัน ท่านบุนมีมองว่า กลุ่มที่อยู่ตรงกลางแต่เดิมคือ มอญ-เขมร กลุ่มที่เคลื่อนเข้ามาคือ ไทย-ลาว ลาว-ไทย เข้ามาและมาพบหลักฐานอันหนึ่งคือ "อาณาจักรศรีโคตรบูร" ถัดออกไปเป็นกลุ่ม "ฟูนัน" ที่อยู่ริมทะเล และถัดมาเป็นเขมร ความเห็นตรงกันที่ว่ากลุ่มไทย-ลาว ลาว-ไทยเข้ามาทางอีสาน มาตั้งเป็นอาณาจักรที่เรียกว่า "ศรีโคตรบูร ตำนานอุรังคธาตุก็สร้างขึ้นในยุคนี้ "พุทธศาสนาของหลวงพระบางไม่ได้มาจากสุโขทัยหรือล้านนา แต่มาจากศรีโคตรบูรเก่า ซึ่งอาจจะเป็นคนไทย-ลาวที่เข้ามาเมื่อแรกๆ คนเหล่านี้นับถือพุทธศาสนา ซึ่งหลักฐานของพุทธศาสนาที่สำคัญก็ยังอยู่ที่เวียงจันทน์ คือพระพุทธรูปหินสลักที่วังช้าง เป็นปางเทศนา ซึ่งเราไม่พบที่ประเทศไทย และเห็นได้ชัดว่าเป็นฝีมือคนพื้นเมือง เป็นการยืนยันถึงความเป็นพุทธเถรวาท และเก่ากว่าเขมร ส่วนหลวงพระบางเป็นเขตเศรษฐกิจทางชายแดนของเวียงจันทน์ ความเจริญของหลวงพระบางมาจากเวียงจันทน์ สมัยพระเจ้าวิชุนราชสำคัญมาก พบศิลปะคล้ายอู่ทอง และพระพุทธรูปที่พบที่วัดวิชุนก็เป็นแบบศรีโคตรบูรทั้งสิ้น มีหลายสิ่งที่ต้องทำความเข้าใจแล้วจะพบว่าการเคลื่อนเข้ามาของชาวไทย-ลาวในดินแดนเขตนี้มาเมื่อไร" ศิลาจารึกไทย หรือศิลาจารึกลาว ของใครจะเก่ากว่ากันนั้นไม่ใช่ประเด็น เพราะจะประเทศไทยหรือประเทศลาวก็คือกลุ่มชาติพันธุ์เดียวกัน การเดินทางไปเยี่ยมยามวัดวิชุน ที่หลวงพระบางครั้งนี้ จึงนับเป็นนิมิตหมายอันดีของการเปิดประตูพรมแดนทางการศึกษาด้านประวัติศาสตร์โบราณคดีของสองประเทศ